วันนี้ได้ประเด็นจากชาวไทยในต่างแดน...
ซึ่งได้รับคำบอกเล่าว่า โอกาสจะพบหมอในต่างประเทศนั้น สุดแสนจะลำบาก
ได้ตั้งคำถามว่า
“เขาเป็นโรค รูมาตอยด์ หรือว่า เป็นไข้ข้อเสื่อม (osteoarthritis)... ?”
โรค “รูมาตอยด์” เป็นโรคที่เราพบบ่อยโรคหนึ่ง มัน เป็นการอักเสบของข้อ ซึ่งตอนเริ่มแรกจะเกิด ขึ้นกับเนื้อเยื่อที่อยู่รอบข้อทั้งหลาย เมื่อเวลาผ่านไป อวัยวะต่าง ๆ ก็จะมีส่วนเกี่ยวข้องกับการ เป็นโรคนั้นด้วย
โรคนี้จะเกิดในสุภาพสตรีได้มากว่าสุภาพบุรุษ ประมาณ 3 เท่าตัว
พบได้ประมาณ 1% ร้อยคนที่เดิมผ่านเราไป จะพบคนเป็นโรคนี้หนึ่งคน
นั่นเป็นสถิติของสหรัฐเขา
เราจำเป็นต้องรู้ด้วยว่า นอกจากโรค รูมาตอยด์ ที่ว่ามาแล้ว ยังมีโรคอื่น ที่เราควรรู้จักนั้นคือ
โรคข้อเสื่อม (“osteoarthritis” )
เป็นโรคที่พบเห็นในคนสูงอายุ
คนส่วนหนึ่งมักจะสับสนว่า โรคไขข้อที่ ตนเองกำลังได้รับความทรมานนั้น เป็นโรคอะไร กันแน่?
ขอให้เข้าใจไว้เลยว่า โรคข้อเสื่อมนั้น เป็นโรคไขข้อที่เกิดจากการเสื่อมสลายของข้อที่เกิด จากการใช้งานมานาน ซึ่งจะเกิดขึ้นกับคนที่มีอาการแก่ขึ้น จึงไม่น่าที่จะเกิดความสับสนกับ โรค “รูมาตอยด์”
โรคข้อเสื่อม (osteoarthritis) ส่วนใหญ่มันจะเกิดขึ้นกับข้อใหญ่ ๆ ที่รับน้ำหนักตัว เช่น ข้อสะโพก และข้อเข่า
ส่วนโรค รูมาตอยด์ ...ส่วนมากจะเกิดขึ้นกับข้อเล็ก ๆ ของมือ ข้อมือ และเท้า
ความแตกต่างอีกอย่างหนึ่ง ระหว่าโรคทั้งสอง คือระยะเวลาของอาการที่เกิดขึ้น:
อาการของเจ็บปวด และเคลื่อนไหวลำบาก (stiffness) ที่เกิดในโรคข้อเสื่อม มักจะเป็น ระยะสั้นมาก อาการจะหายไปในภายในไม่กี่นาที
ส่วนในโรค รูมาตอยด์ อาการปวดข้อ ข้อแข็ง ขยับเขยื่อนลำบาก (stiffness) ซึ่งเกิดในตอนเช้า จะกินเวลานานอย่างน้อย ๆ 30 นาที อาการมักเลวลงเมื่อได้พักผ่อน
นอกเหนือไปจากนี้ โรค รูมาตอยด์ มักจะเกิดขึ้นกับข้อมือ และข้อนิ้วมือด้านหลังตรงรอย พับ (ทำมะเหงก) ซึ่งเราจะไม่พบเห็นในคนที่เป็นโรคข้อเสื่อมเลย
มีข้อแนะนำ สำหรับแยกโรค รูมาตอยด์ ออกจากโรคข้อเสื่อม ดังนี้
• จะพบข้ออักเสบบวม แดง (ซึ่งบ่งบอกให้ทราบว่า มีการอักเสบเกิดขึ้น)
• อาการของข้ออักเสบ มักจะมีอาการอย่างอื่นเกิดรวมด้วยเสมอ เช่น มีไข้ อ่อนแรงทั่วไป หรือปวดทั่วร่างกาย เคลื่อนตัวลำบาก (stiffness) ซึ่งเป็นอย่างน้อย 10 – 15 นาที
• อาการข้ออักเสบมักจะเป็นสองข้าง ซึ่งต่างจากพวกข้อเสื่อม มักจะเป็นข้างเดียว ข้อเดียว
• การตรวจพิเศษ หา anti-body จะพบในคนไข้ที่เป็นโรค “รูมาตอยด์”
ถ้าคนไข้รายใดมีอาการ และอาการแสดงเหล่านี้ปรากฏ ให้สงสัยได้ว่า เขาอาจเป็นโรค รูมา ตอยด์ มากกว่า....
การวินิจฉัยขั้นสุดท้าย ไม่จำเป็นต้องเป็นแพทย์ ตัวคุณนั่นแหละ....เมื่อมีอาการดังกล่าว เกิดขึ้น ให้ท่านเตรียมพร้อม ไปปรึกษาแพทย์ของท่านได้ทันที
ในขณะที่เราไม่มีทางรักษาโรค รูมาตอยด์ให้หายขาดได้
ท่านสามารถควบคุมโรคของท่านได้ด้วย
• ยา
• ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของท่านเอง และ
• ออกกำลังกายให้สม่ำเสมอ
มันก็มีแค่นี้เอง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น