วันศุกร์ที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2554

Patient information: PMR vs LORA (2)

Q. คนเป็นโรค Polymyalgia rheumatic กับ Rheumatoid arthritis ซึ่งพบในคนสูงอายุ
ทั้งสองมีปัญหาเหมือนกัน คือ ทรมานจากความเจ็บปวด และมีการเคลื่อนไหวข้อติดขัดในตอนเช้า (morning stiffness) ทำให้พลิกตัวลำบาก ยากแก่การลุกจากเตียงนอน....

ท่านจะแยกโรคทั้งสองออกจากกันได้อย่างไร ?

แนวทางในการแยกโรคทั้งสอง:

Rheumatoid Arthritis
Target > (joints) Targets

• สามารถเกิดขึ้นกับคนไข้ทุกอายุ ส่วนใหญ่มักจะเกิดในช่วงก่อนอายุ 40 และจะเป็นในผู้หญิงมากกว่าชาย

• มีความเจ็บปวดที่ข้อ ข้อแข็งในตอนเช้า เคลื่อนไหวลำบาก (morning stiffness)

• คนไข้อาจมีความรู้สึกอ่อนเพลีย หรือมีอาการซึมเศร้า

• อาการอาจปรากฏอย่างช้า ๆ

• การวินิจฉัยอาจลำบาก เพราะ ไม่มีวิธีการตรวจโดยเฉพาะ

• เป็นโรคเรื้อรัง และไม่ค่อยตอบสนองต่อยา

• จะเกิดกับคนประมาณ 1 ใน 100 คน

Polymyalgia Rheumatica(PMR)
Targets> Muscles

• เกิดขึ้นกับคนอายุตั้งแต่ 50 ขึ้นไป ส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง เฉลี่ยอายุ 70

• อาการเจ็บปวดที่บริเวณต้นขา สะโพก ต้นแขน และลำคอ โดยเฉพาะตอนเช้าจะเคลื่อนด้วยความลำบาก (morning stiffness)

• อาการจะปรากฏอย่างรวดเร็ว มักจะเกิดขึ้นตอนกลางคืน

• จะตอบสนองต่อ corticosteroids และมันสามารถหายเองได้ภายในเวลา 1 ถึง 2 ปี

• มันจะเกิดขึ้น 1 ใน 2000 คน

ในการวินิจฉัยโรค PMR เราต้องทำการตรวจหลายอย่าง ในจำนวนนี้ มีการตรวจ Erythrocyte Sedimentation Rate คนไข้พวกนี้ จะพบว่า เม็ดตกเลว และจะพบในการอักเสบทั่วไป

การตรวจต่อไป คือ Rheumatoid factor เมื่อคนอายุมากขึ้น โอกาสที่จะตรวจพบได้โดยที่เขาไม่ เป็นโรคอะไรเลย ฉะนั้นนำมาแยกโรคไม่ได้

การตรวจดูระดับของเกล็ดเลือด (platelete) คนเป็นโรค PMR จะพบว่า Platelet count จะสูง กว่าปรกติ

แพทย์อาจตรวจหาโรคร่วม เช่น giant cell arteritis ซึ่งจะพบในคนไข้ที่เปนโรค PMR

สุดท้าย คนไข้โรค PMR จะตอบสนองต่อ steroid

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น