Cont.
คนไข้ที่เป็นโรค รูมาตอยด์ มาพบแพทย์ด้วยอาการเจ็บปวดที่บริเวณข้อ...
สิ่งที่คนไข้ต้องการมากที่สุด ในขณะนั้น คือต้องการให้ความเจ็บปวดหายไป
นั่นคือ หน้าที่ของแพทย์จะต้องทำ
ยาที่แพทย์นำมาใช้ในตอนนี้ คือ Non-steroidal anti-inflamatory drugs
ซึ่งผลของยาดังกล่าว เกิดจากการที่ฤทธิ์ของมัน ลดการอักเสบลง เป็นเหตุทำให้ความ เจ็บปวดลดตาม
นอกเหนือจากฤทธิ์ในการลดการอักเสบโดยตรงแล้ว ยาในกลุ่มนี้ ยังมีฤทธิ์ “ลด” ความเจ็บปวด (analgesic effect) ได้ด้วย โดยมีฤทธิ์ขนาดน้อย ไปถึงขนาดปานกลาง
โดยที่ฤทธิ์ดังกล่าว ไม่เกี่ยวข้อง กับ ฤทธิ์ลดการอักเสบเลย
อย่างไรก็ตาม เราจะต้องรู้ด้วยว่า ฤทธิ์ของยา NSAIDs ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงทิศทางของโรคได้ (clinical course)
ไม่แต่เท่านั้น มันยังไม่สามารถป้องกันข้อ ไม่ให้ถูกทำลายลงได้เลย
ยาในกลุ่มนี้ พบว่า Aspirin เป็นยาเก่าแก่ที่สุด ที่เคยใช้รักษาคนไข้โรค รูมาตอยด์
แต่เนื่องจากพิษของมัน และประโยชน์ที่พึ่งได้จากยา มีช่วงแคบเกินไป และ ไม่สะดวกต่อการให้ คนไข้รับประทาน...
ดังนั้น ยา aspirin ที่เราเคยใช้รักษาโรค รูมาตอยด์ ในตอนเริ่มต้น จึงถูกแทนที่ด้วยยากลุ่ม NSAIDs ในเวลาต่อมา
มียา NSAIDs หลายตัว ที่นำมาใช้ในการรักษาคนไข้โรค รูมาตอยด์ ไม่ว่ายาตัวนั้น จะเป็นตัวไหนที่ ท่านเลือก ด้วยขนาดยา (full dosage) ที่กำหนดให้ จะไม่มีความแตกต่างในด้านประสิทธิภาพเลย
จะใช้ตัวไหนก็ได้...ไม่ว่ากัน
เช่นเดียวกับประโยชน์ที่พึงได้จากยา พิษของมันก็มีเหมือน ๆ กัน
ถึงกระนั้นก็ตาม จากการใช้ NSAIDs พบว่า ความทนทานต่อการใช้ยาของแต่ละคน รวมถึงการ ตอบสนองของยาแต่ละตัว ก็ไม่เหมือนกัน
นั่น คือสิ่งพบเห็นจากการใช้ยาในกลุ่ม NSAIDs
มียาในกลุ่ม NSAIDs มากมายให้แพทย์เลือกใช้ เช่น Ibruprofen, naproxen, meloxecam (Mobic), diclofenac, indomethacin, ketoprofen และ piroxecam.
นอกจากนั้น ยังมียาที่ออกฤทธิ์ได้นาน (long acting) รับประทานวันละครั้ง หรือสองครั้ง
เป็นยาที่เอื้อความสะดวกแก่คนไข้
ยาในกลุ่ม NSAIDs ยังรวมถึงพวก COX-2 inhibitors ด้วย ซึ่งมีฤทธิ์ลดการอักเสบเช่นกัน
ที่มีใช้ในสหรัฐฯ มีเพียงตัวเดียว คือ Celebrex ส่วนยาตัวอื่นมีใช้ในประเทศอื่น เช่น Acroxia
สำหรับเรา...มีใช้ทุกตัว
ยาพวกนี้ถูกผลิตขึ้นมาใช้ เพื่อลดผลข้างเคียงของ NSAIDs ที่มีต่อกระเพาะอาหาร แต่มีสิ่งที่น่าเป็น ห่วงจากการใช้ยาตัวนี้ คือ มันเพิ่มความเสี่ยงอันตราย หรือผลข้างเคียงต่อ “หัวใจ และเส้นเลือด” (cardiovascular) จนถึงกับมีการถอนยาในกลุ่มนี้ออกจากตลาดไปถึงสองตัวด้วยกัน คือ rofecoxib (Vioxx) และ valdecoxib (Bextra)
กลไกการทำงานของ NSAIDs มันทำหน้าที่ยับยั้งการสร้าง prostaglandin โดย ไปสกัดกั้นการ ทำงานของเอ็นไซม์ cyclooxygenase – COX-1 และ COX-2
Prostaglandin จะทำหน้าที่เป็นตัวกลาง (mediators) ที่ทำให้เกิดการอักเสบ (inflammation) และความเจ็บปวด (pain) นอกจากนั้น มันยังมีบทบาทสำคัญต่อการทำงานภายในร่างกาย เช่น ป้องกันกระเพาะจากกรด, คงสภาพการไหลเวียนของเลือดในไต, คงสภาพเป็นปกติของเกล็ดเลือด (stickiness) และ รักษาสภาพของเส้นเลือดให้เป็นปกติ
COX-2 selective inhibitor จะทำหน้าที่ สกัดไม่ให้มีการสร้าง prostaglandin โดยการบล็อก COX-2 ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการเกิดอักเสบ
ขนาดของยา (dasage): ในขณะที่คนไข้บางรายใช้ยาเพียงขนาดน้อย (lower dosage) ก็ได้ผล แต่สำหรับบางคนที่เป็นโรค รูมาตอยด์ และข้ออักเสบชนิดอื่น ส่วนมากต้องใช้ขนาดยาสูง (high dose) จึงจะได้ผลในการลดการอักเสบ
ถ้ายาตัวหนึ่งไม่ได้ผลภายใน 4 อาทิตย์ หรือคนไข้ไม่สามารถทนต่อการใช้ยาได้ ก็สมควรใช้ยาตัวใหม่ แทน
จากการศึกษา ปรากฏว่า ยา NSAIDs ที่นำมาใช้ในการรักษาโรค รูมาตอยด์นั้น ไม่มียาใดเหนือกว่า ตัวใด รวมทั้ง COX-2 agents ด้วย
แม้ว่า ผลของการใช้ยา มันจะออกฤทธิ์ภายในชั่วโมงก็ตาม แต่ผลของการรักษาจำเป็นต้องใช้เวลาเป็น อาทิตย์ ถึงเดือน
ผลข้างเคียงที่พบบ่อยที่สุด คือพิษของมันที่มีต่อกระเพาะ ซึ่งทำให้เกิดความรู้สึกออกแสบออกร้อนใน กระเพาะอาหาร มีการละคายเคืองกระเพาะ และมีอาการเรอ (belching)
การใช้ยาร่วมกับ proton pump inhibitors เช่น Omeprazole และตัวอื่น ๆ สามารถลดอาการ ทางกระเพาะไม่ให้มีเลือดออกได้
การใช้ยา Selective COX-2 Inhibitors จะปลอดภัยกว่าการใช้ NSAIDs อื่น ๆ(ซึ่งไม่ใช่ non-selective NSAIDs)
เนื่องจาก prostaglandin มีบทบาทต่อการควบคุม และกำกับการไหลเวียนของเลือดในไต
รวมถึงการขจัดของเสียของไต...
ดังนั้น เมื่อมีการใช้ NSAIDs จึงเป็นเหตุให้เกิดไตเสื่อมได้ ซึ่งจะนำไปสู่การเก็บกักเกลือไว้ใน ร่างกาย ทำให้เกิดบวม และ ทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น
เมื่อมีการใช้ Selective COX-2 Inhibitors อาจไปเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดขึ้นกับหัวใจ และเส้น เลือด ซึ่งเป็นผลมาจากการเพิ่มความดันโลหิตให้สูงขึ้น ดังนั้น ก่อนใช้ยาตัวนี้ จึงต้องพิจารณาให้ดีว่า ควรใช้ยาตัว นี้หรือไม่
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น