วันอังคารที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2556

เมื่อถึงคราวต้องผ่าตัดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน ุ6 (coronary artery disease) แพทย์เขาทำอะไร ? : Surgery

Aug. 11, 2013

ในกรณีที่หลอดเลือดหัวใจมีการตีบตันอย่างมาก
แพทย์อาจจำเป็นทำการผ่าตัด เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดกล้ามเนื้อหัวใจถูกทำลาย
การผ่าตัด  ที่เราควรทราบมีดังนี้:

Angioplasty and Stent Placement

เป็นการขยายหลอดเลือดห้วใจที่ตีบตัน  โดยแพทย์จะทำการสอดท่อยางขนาดเล็ก
มีบอลลูนที่ปลายท่อยางดังกล่าว  เมื่อสอดท่อยางถึงหลอดเลือดหัวใจ  ตรงตำแหน่ง
ที่มีการตีบแคบ หรืออุดตุน   เขาจะทำให้ลูกบอลลูนพองตัวขึ้น
จากการที่บอลลูนพองขึ้น  จะทำให้หลอดเลือดที่ตีบแคบขยายตัวออก
จากนั้น เขาจะวางขดลวด (stent) ไว้ในตำแหน่งที่เป็นรอยโรค  เพื่อทำหน้าที่ให้หลอด
เลือดขยายตัวต่อไป  เป็นการป้องกันไม่หลอดเลือดตรงตำแหน่งดังกล่าวตีบแคบได้อีก

Coronary Bypass Surgery

เป็นวิธีการสร้างเส้นเลือดแดงขึ้นใหม่ โดยการทำให้เลือดไหลผ่านทางเบี่ยง
หรือทางลัด  ซึ่งกระทำได้โดยการสร้าง "ทาง" ให้เลือดไหลผ่านขึ้นใหม่
ด้วยการใช้กราฟท์เชื่อมต่อเส้นเลือดแดงของหัวใจตรงตำแหน่งก่อนอุดตัน
กับตำแหน่งที่เลยการอุดตันไป (ดังรูป)

จากการทำเช่นนั้น จะทำให้เลือดไหลข้ามตำแหน่งที่อุดตันในหลอดเลือด
ของหัวใจไปยังกล้างเนื้อหัวใจได้

กราฟท์ที่ใช้ ส่วนใหญ่จะเป็นเส้นเลือดดำ   ซึ่งเอามาจากส่วนอื่นของร่างกาย 
และเนื่องจากวิธีการดังกล่าว เป็นการผ่าตัดหัวใจ (open-heart  surgery) 
ดังนั้น แพทย์จะแนะนำให้ทำการผ่าตัดชนิดนี้ในกรณีที่หลอดเลือดแดงของหัวใจ
ถูกอุดหลายตำแหน่งเท่านั้น


<< PREV.   NEXT >>  complication of coronary artery disease

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น