วันพฤหัสบดีที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2556

Anxiety (ความวิตกกังวล) : Post-traumatic stress disorder (6)

Aug. 8, 2013

(Continued)

คนผู้ที่ได้พบเห็น หรือเป็นเหยื่อของภยันตรายรายแรงอย่างใดอย่างหนึ่ง
อาจเกิดโรควิตกกังวลชนิด post traumatic stress disorder ได้

เหตุการณ์จากภยันตรายต่างๆ ซึ่งสามารถทำให้เกิดภาวะ PTSD
ได้แก่เหตุการณ์ที่เกิดมีความรุนแรงถึงระดับเฉียดความตาย  เป็นต้นว่า อุบัติเหตุ
ทางรถยนต์, สงคราม, ภัยพิบัติทางธรรมธาติต่างๆ, ถูกกระทำทารุณเป็นเวลานาน,
และอาชญกรรมสงคราม...และอื่นๆ

บางคนเกิดโรควิตกกังวลชนิด PTSD หลังจากสมาชิคในครอบครัวได้ตกเป็น
เหยื่อของภยันตรายที่ร้ายแรง หรือภายหลังการสูญเสียคนที่เขารักไปอย่างไม่
คาดหมาย

ในระหว่างที่เผชิญกับเหตุการณ์ดังกล่าว...
คนที่ประสบเหตุการณ์  จะตกใจอย่างสุดขีด พร้อมๆ กับมีการตื่นตัวต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น..
.เป็นการเตรียมพร้อมเพื่อสนองตอบต่อเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้น
โดยหัวใจของเขาจะเต้นแรง   ร่วมกับมีอาการอื่นเกิดร่วมด้วย....
 ไม่ช้าไม่นานอาการต่างๆ ก็จะหายไป

ส่วนคนที่เป็นโรค PTSD อาการต่างๆ จะดำเนินอย่างต่อเนื่อง
แม้ว่าเหตุการณ์ได้ผ่านพ้นไปแล้ว  เขายังตื่นตัว และยังมีความกลัว....
ไม่ยอมหายไปใหน

ในคนบางคน ในขณะเผชิญกับเหตุการณ์ที่น่ากลัว เขาจะไม่มีอาการของ
PTSD ตามที่กล่าวเลย  เขาสามารถดำเนินชีวิตได้เป็นปกติเป็นเวลานานหลายอาทิตย์
หรืออาจนานเป็นเดือน ๆ แต่หลังจากน้น อาการของวิตกกังวลแบบ PTSD
 จะค่อย ๆ ปรากฏขึ้น

อาการของคนเป็นโรควิตกกังวลชนิด PTSD...
เมื่อเกิดขึ้นกับใครแล้ว จะทำให้เขาคนนั้นไม่สามารถดำเนินชีวิตได้เป็นปกติ

อาการที่เกิดได้แก่:

o เหตุการณ์ในอดิตตามมาหลอกหลอนซ้ำแล้วซ้ำอีก

o เขาจะหลีกเลี่ยงสิ่งที่เชื่อมโยงกับสถานการณ์ที่เกิดในอดิต เช่น  เคยเห็นคนขับรถชน
คนตาย เป็นเหตุให้เขาไม่กล้าขับรถยนต์ หรือไม่กล้าดูภาพยนต์ที่เกี่ยวกับการขั้บรถยนต์...

o มีอาการตื่นตระหนก, ตื่นตัว, กตใจ, ไม่มีสมาธิ, มีอารมณ์เฉยเมย,  หงุดหงิด, โกรธง่าย 
และมีความเครียดกับเรื่องธรรมดา  โดยอาการดังกล่าวต้องต่อเนื่องนานเกิน 1 เดือน

o มีอาการอื่น ๆ เช่น ซึมเศร้า, มีความรู้สึกผิดต่อเหตุการณ์ที่เกิด เป็นต้นว่า
 เอาตัวรอดแต่เพียงผู้เดียว


<< Prev.           Next >> Anxiety and other health problems in later life

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น