วันอาทิตย์ที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2556

Raynaud Phenomenon (2)

Aug. 3, 2013
Continued

ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดกลุ่มอาการเรย์นอยด์

(Raynaud phenomen)

มีการประมาณการณ์เอาไว้ว่า มีคนเป็นโรคเรย์นอยด์  ได้ 3 – 5 % ของ

ประชาชนทั่วไป โดยมีพบได้สองชนิดด้วยกัน:

Primary disease:


คนที่มี “ปรากฏการณ์เรย์นอยด์”  โดยที่เขาไม่มีโรคทางกายอะไรเลย  จะถูดจัด

ไว้ในกลุ่มปฐมภูมิ (primary disease)  ซึ่งเราไม่ทราบสาเหตุที่ทำให้เส้นเลือด
มีความไวต่อความเย็นได้   แต่เราพบบางคเป็นโรคดังกล่าวสืบทอดทางสายพันธุ์ได้
ทำให้เชื่อว่ามีพันธุกรรมหนึ่ง  หรือหลายตัว (genes)  รับผิดชอบต่อความผิดปกติ
ในควบคุมการไหลเวียนของเลือด

”ปรากฏการณ์เรย์นอยด์” ชนิดปฐมภูมินี้ จะพบได้ในสุภาพสตรีเสียเป็นส่วนใหญ่

ซึ่งมักจะมีอายุยังน้อย  และ รวมไปถึงสมาชิคในครอบครัวของเธอด้วย

จะถือว่าโชคดีก็คงไช่....

เพราะคนที่เป็นโรคดังกล่าว  ส่วนใหญ่ไม่มีความรุนแรงถึงขั้นสูญเสียสมรรถภาพ
และอาการของเขามักตอบสนองต่อการรักาษาได้เป็นอย่างดี 
และเมื่อเวลาผ่านไป อาการจะดีขึ้น  คนไข้ส่วนใหญ่ สามารถเรียนรู้อยู่กับโรคด้วย
การหลีกเลี่ยงความเย็น  และทำตนไม่ให้มีความวิตกังวล

Secondary disease:


บางคนที่มี “ปรากฏการณ์เรย์นอยด์” มีโรคภับไข้เจ็บป่วยทางกายอย่างอื่น
เป็นต้นว่า เป็นโรคหนังแข็ง (scleroderma) หรือโรค systemic lupus 
erythematosus  ซึ่งเส้นเลือดของคนที่เป็นโรคเหล่านี้ จะมีรอยแผล หรือมี
ความผิดปกติ  เป็นเหตุให้เกิดความผิดปกติในการตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้น 
เช่น ความเย็น หรือความเครียด

ปรากฏการณ์เรย์นอยด์  ในกลุ่มนี้  เป็นกลุ่มที่ยากต่อการรักษา 

เพราะมันโยงใยถึงโรคที่อยู่เบื้องหลังของปรากฏการณ์เรย์นอยด
ซึ่งเป็นต้นเหตุทำให้เกิดการทำลายเส้นเลือดโดยตรง

<< Prev. Next >>

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น