วันจันทร์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2556

Neuropathic Pain: ปวดประสาท (2)

Aug. 23, 2013

อาการ (Symptoms of Neuropathic Pain)



Credit : ascannotdo.wordpress.com/

ลักษณะอาการปวดจากเส้นประสาทถูกทำลาย อาจแสดงในรูปแบบ
ต่อไปนี้:

มีอาการปวดแปลบ(shooting pain) และปวดแสบร้อน
รู้สึกเสียวซ่า และมีอาการชา

การวินิจฉัย (Diagnosing Neuropathic Pain)

ในการวินิจฉัยภาวะ neuropathic pain กระทำได้ไม่ยาก...
แพทย์จะซักประวัติ และตรวจร่างกายของคนป่วย ด้วยการถามประวิติ
เกี่ยวกับลักษณะของอาการปวดที่เกิดขึ้น ว่ามันเกิดได้อย่างไร ?
มีอะไรเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดอาการปวด และเกิดขึ้นเมื่อใด ?

นอกจากนั้น แพทย์อาจทำการตรวจเลือด และการทำงานของเส้น
ประสาทบางอย่าง...ซึ่งสามารถนำไปสู้การวินิจโรคได้โดยไม่ยากนัก

การรักษา (Neuropathic Pain Treatment)

ผลจากการศึกษาเกี่ยวกับภาวะปวดประสาท...
ในบางคนถูกแนะนำให้ใช้ยาลดการอักเสบกลุ่ม  NSAIDs 
เช่น ibuprofen หรือ  naproxen  ซึ่งสามารถลดอาการเจ็บปวดลงได้ 
และในบางรายอาจต้องใช้ยาที่แรงขึ้นหน่อย (stronger painkeller) 
เช่น ยาที่มีส่วนประกอบของ morphine 

นอกจากนั้น ยังพบว่า ยากลุ่ม Anticonvulsant และ antidepressant 
สามารถใช้ได้ผลในคนไข้บางราย

ในกรณีที่คนไข้ปวดประสาทจากโรคเบาหวาน  (diabetic neuropathy)
การรักษาโรคเบาหวานได้อย่างมีประสิทธิภาพ  สามารถลดอาการเจ็บ
ปวดลงได้  ไม่เพียงเท่านั้น  ถ้าระดับน้ำตาลในกระแสเลือดสามารถ
ควบคุมได้ดี... ย่อมเป็นการป้องกันไม่ให้เส้นประสาทถูกทำลายเพิ่มขึ้น
ได้อีก

ในรายที่ยากต่อการรักษา (neuropathic pain)...

ผู้เชี่ยวชาญด้านความความเจ็บปวด (pain specialists) จะทำการรักษา
ที่ซับซ้อนขึ้นไปอีก  หรืออาจใช้อุปกรณ์ฝังไว้ภายในร่างกาย  ซึ่งสามารถ
จัดการกับความเจ็บปวดได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยการใช้กระแสไฟฟ้า
ควบคุมอาการเจ็บปวดนั่นเอง

นอกจากที่กล่าวมา การจัดการกับอาการปวดประสาท สามารถกระทำได้
ด้วยวิธีการต่อไปนี้:

กายภาพบำบัด (Phsical therapy)
ทำงานร่วมกับที่ปรึกษา (working with counselor)
บำบัดด้วยการผ่อนคลาย (Relaxation therapy)
นวด (massage therapy)

 การฝังเข็ม (Acupuncture )

ในการรักษาคนที่ทรมานจากอาการปวดประสาท...
พบว่าโชคจะไม่เข้าข้างคนไข้กลุ่มนี้เท่าใดนัก  เพราะคนไข้ประเภท
ดังกล่าวมักจะไม่ตอบสนองต่อการรักษาตามแบบมาตรฐาตามที่กล่าวมา
โดยมีคนไข้บางคนเมื่อผ่านการรักษาไปได้สักระยะหนึ่ง  อาการของเขา
จะเลวลงกลายเป็นคนไร้สมรรถาภาพ  ไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ 

เพื่อให้คนไข้ประเภทด้งกล่าวได้รับการรักษาอย่างมีประสิทธิภาพ 
พบว่า การรักษาตามมาตรฐานจากแพทย์คนเดียวไม่เพียงพอ 
จำเป็นต้องอาศัยผู้รักษาทำงานกันเป็นทีม  
จึงจะมีโอกาสช่วยเหลือคนไข้ประเภทนี้ได้

>> Prev.

http://www.webmd.com


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น