วันจันทร์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2556

Raynaud Phenomenon (5)

Aug. 3, 2013
Continued

RAYNAUD PHENOMENON TREATMENT

ด้วยการปฏิบัติตนตามขั้นตอนอย่างง่ายๆ   ท่านสามารถลดความถี่ (fequency)
ของการเกิดอาการของปรากฏการณ์เรนอยด์ลงได้   และยาอาจช่วยลดอาการของ
ภาวะดังกล่าวได้   สิ่งที่ท่านควรพิจารณานำไปปฏิบัติมีดังต่อไปนี้:

• หลีกเลี่ยงสัมผัสกับความเย็น:
การทำให้ร่างกายของท่านมีความอบอุ่นทุกส่วน  ไม่สัมผัสกับความเย็น
หรือหลีกเลี่ยงจากการเข้าไปในที่มีอุณหภูมิที่มีความแตกต่างอย่างรวดเร็ว
เช่น เข้าไปในแอร์.... ซึ่งหมายความว่า  ท่านจะต้องนุ่งห่มให้ร่างกาย
ให้มีความอบอุ่น  และใส่ถุงมือ

• ทำให้อาการหายไป:
มีวิธีการมากมายที่สามารถทำให้อาการหายไป เช่น เอามือแช่น้ำอุ่น
 หรือเอามือไว้ในที่มีความอบอุ่น  เช่น วางไว้ในบริเวณรักแร้ของท่านเอง

หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่:
สารนิโครตีน และสารเคมีอย่างอื่นๆ ในบุหรี่สามารถทำให้เส้นเลือดเกิดการหดตัว 
และทำให้เกิดปรากฏการณ์เรย์นอยด์เลวลงได้

หลีกเลี่ยงการใช้ยา ซึ่งทำให้เส้นเลือดหดตัว:
เป็นต้นว่า ยาลดน้ำมูก (decongestants)   ซึ่งมีสาร phenylephrine หรือย pseudoephedrine,
amphetamines,  diet pills,  และยารักษาอาการไมเกรน  เช่น  พวก  ergotamine

นอกจากนั้น ยังมีสมุนไพรบางชนิดที่มีสาร ephedra  และ มียาอีกหลายตัว 
ซึ่งใช้รักษาโรคทางจิตประสาท (attention  deficit disorder)
เช่น methylphenidate, dextroamphetamine-  amphetamine และ  atomoxetine

• ลดความเครียดลง:
การลดความเครียดด้วยวิธีผ่อนคลาย แบบใหนก็ก็ได้  เช่น การหายใจ ฝึกสติปัฏฐาน 4
ก็สามารถลดความเครียดลงได้

Medicine :

หากปฏิบัติตามขั้นตอนต่างๆ ที่กล่าวมา ไม่สามารถแก้ปัญหาได้ แพทย์  หรือพยาบาล
อาจแนะนำให้ท่านใช้ยารักษา    และยาที่ใช้กันบ่อยที่สุดได้แก่ ยากลุ่ม calcium channel
 blockers  สามารถลดทั้งความรุนแรง  และความถี่ของปรากฏการณ์เรนอยด์ลงได้ 
โดยท่านอาจรับทานยาเมื่อท่านต้องสัมผัสกับความเย็น   เช่น ในช่วงฤดูหนาว

Secondary Raynaud phenomenon

ในคนที่เป็น secondary Raynaud phenomenon  ในบางครั้งจำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่าง

จริงจัง เพราะคนไข้ส่วนใหญ่จำเป็นต้องลดความถี่ (frequency) ของการเกิดปรากฏการณ์
เรย์นอยด์  และป้องกันไม่ให้เกิดบาดเจ็บขึ้นกับผิวหนังของนิ้วมือ และนิ้วเท้า

มียาหลายตัว  ซึ่งได้รับการศึกษา เพื่อใช้รักษาคนที่ไม่ตอบสนองต่อ
ยา calcium channel blockers ยาดังกล่าวได้แก่

• Nitrates (tropical nitroglycerin)
• Antihypertensive drugs เช่น prazosin หรือ angiotensin
receptor inhibitorss (losartan)
• Phosphodiesterase inhibitors (sidenafil, pentoxifylline,
Orcilostazol)
• Antidepressant medication ( fluoxetine)
• Prostaglandins (prostacyclin)

คนไข้ในกลุ่มนี้  หากไม่ตอบสนองต่อการรักษา  และการไหลเวียนของเลือดสู่นิ้วมือ
และนิ้วเท้าถูกตัดขาดอย่างรุนแรง  อาจจำเป็นต้องรับไว้รักษาในโรงพยาบาล   และเพิ่มยา
รักษาเพื่อขยายเส้นเลือด  และป้องกันไม่ให้มีลิ่มเลือดเกิดขึ้น

ในคนไข้บางราย    อาจจำเป็นต้องใข้ยา  หรือทำการผ่าตัดเพื่อบล๊อกคลื่นประสาท 
ซึ่งกระตุ้นให้เส้นเลือดเกิดการหดตัว โดยการฉีดยา  Botox ตรงตำแหน่งฐานของนิ้วมือ...
อาจช่วยเหลือได้

แม้ว่าคนไข้จะได้รับการรักษาดีแค่ใด...มีบางราย (แต่น้อยมาก) ไม่สามารถทำให้เส้นเลือด
หายจากการหดตัว  ในรายเช่นนั้นอาจลงเอยด้วยการเป็นแผล (ulceration) 
และหากการรักษาต่างๆ ตามที่กล่าวมา ไม่สามารถทำให้เนื้อเยื่อที่ขาดเลือดหายได้
 อาจลงเอยด้วยการตัดนิ้วทิ้งได้

<< Prev.
www.uptodate.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น