Aug. 8, 2013
(Continued)
โรควิตกกัวลต่างๆ...ไม่ว่าจะเป็นชนิดใดก็ตาม
ส่วนใหญ่สามารถรักษาได้ด้วยยา (medications), และ จิตบำบัด (psychotherapy)
ซึ่งบางที่เราเรียกว่า การบำบัดด้วยการพูดคุย (talk therapy)
หรือได้รับการรักษาทั้งสองอย่างร่วมกัน
Drug treatment (medications)
มียาสองตัว หรือสองขนานถูกนำมาใช้ในการรักษาคนสูงอายุที่เป็นโรควิตกกังวล
ซึ่งได้แก่:
Benzodiazepines
Anti-Depressants
ยาในแต่ละกลุ่มต่างมีด้วยกันหลายตัวด้วยกัน ซึ่งแพทย์ สามารถเลือกใช้ได้ตาม
ความเหมาะสม โดยยาแต่ละตัวต่างมีผลข้างเคียงที่แตกต่างกัน
ซึ่ง.เป็นหน้าที่ของท่านเองต้องสังเกตุดูความผิดปกติที่เกิดจากการรับทานยา
ในคนสูงอายุต่างมีแนวโน้มที่แพ้ยากลุ่ม anti-anxiety drugsได้สูงกว่าคนหนุ่ม
ทั้งนี้เป็นเพราะเมื่อคนเรามีอายุสูงขึ้น มีการเปลี่ยนแปลงภายในร่างกาย
ซึ่งมีผลกระทบต่อยา หรือสารเคมีที่เข้าสู่ร่างกาย ประกอบกับการมีหลายโรค
และรับทานยาหลายขนาน เมื่อเขารับยารักษาโรควิตกกัวลเข้าไปอีก....
ย่อมมีโอกาสเกิดปฏิกิริยาระหว่างยา หรือแพ้ยาได้สูงขึ้น
เมื่อท่านรับทานยา (anti-anxiety drug) ตามที่แพทย์สั่ง...
หากเกิดผลข้างเคียงรุนแรง (serious side effects), หรือยาไม่ได้ผลตามที่คาด...,
หรือได้ผลในช่วงต้นๆ เท่านั้น แต่ต่อมาปรากฏว่า ไม่ได้ผล
ในกรณีเช่นนี้ ท่านต้องบอกให้แพทย์ได้ทราบทันทีเพื่อปรับเปลี่ยนยาตัวใหม่
เพื่อหลีกเลี่ยงผลอันไม่พึงปราถนาจากการใช้ยา...
ท่านควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งคัด ถ้าแพทย์เขาแนะนำว่า
ให้ท่านค่อย ๆหยุดยา (tapering off) ไม่ได้หมายความว่า ท่านจะหยุดยาทันที
สิ่งทีท่านควรทราบ:
เมื่อยารักษาโรคกังวล (anti-anxiety drug) ตัวหนึ่งใช้ไม่ได้ผล
ไมได้หมายความว่า ยารักษาโรควิตกกังวล (anti-anxiety drugs) ตัวอื่นจะใช้ไม่ได้ผล...
เมื่อท่านพบว่า ยาที่ท่านรับทานได้ผลดี ให้ท่านสรับทานต่อไป
ตราบเท่าที่แพทย์ต้องการ อย่าได้หยุดยาเพราะอาการของท่านได้หายไปแล้ว
เพราะการทำเช่นน้น อาจทำให้อาการของท่านเลวมากกว่าเดิมได้
Psychotherapy
จิตบำบัดเป็นการรักษาด้วยการพูดคุยกับคนไข้ โดยผู้เชี่ยวชาญ
ด้านจิตประสาท เช่น จิตแพทย์ (psychiatrist), นักจิตวิทยา (psychologist),
นักสังคมสงเคราะห์ (social worker) ซึ่งคนเหล่านี้ มีเข้าใจในสมุติฐานที่ทำให้เกิด
ภาวะวิตกกังวลของท่าน และสามารถจัดการกับโรคดังกล่าวได้
มีผลของการศึกษาพบว่า วิธีการรักษาด้วยจิตบำบัดชนิดหนึ่ง เรียกว่า
Cognitive-behavioral therapy (CBT) ...เป็นการรักษาด้วยการใช้เทคนิคการปรับ
ความคิดให้ผสมผสานกับพฤติกรรม โดยผู้ให้การรักษาจะเป็นผู้ชี้แนะให้คนไข้ได้
เข้าใจในรูปแบบความคิดที่เบี่ยงเบน และพฤติกรรมที่ผิดปกติ...
Cognitive behavioral therapy เป็นวิธีที่สามารถรักษาโรควิตกกังวลชนิดต่าง ๆ ได้
เป็นต้นว่า generalized anxiety disorder, obsessive compulsive disorder, panic disorder,
และโรคกลัว (phobia) บางชนิด
การรักษาด้วยวิธีดังกล่าว สามารถช่วยให้คนไข้จัดการกับความวิตกกังวลได้ดีขึ้น,
ช่วยให้คนเรียนรู้วิธีผ่อนคลาย (elaxation techniques), มีความเข้าใจในต้นเหตุ
ที่ทำให้เกิดความวิตกกังวลได้ดีขึ้น, และช่วยให้คนไข้เรียนรู้วิธีปรับเปลี่ยนตนเอง
หรือสนองตอบต่อสิ่งที่ทำให้เขาวิตกกังวลได้ดีขึ้น
<< Prev. Next >> Lifestyle & Management
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น