วันอาทิตย์ที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2556

ปัญหาการเสียดุลของคนสูงอายุ P. 8 (balance problemin elderly): Lifestyle & Management

Aug. 25, 2013

เมื่อท่านมีปัญหาการเสียดุล...
มีวิธีการง่ายๆ ซึ่งหากท่านทำแล้ว สามารถลดผลกระทบจากภาวะเสียดุล
ได้ หรือลดอาการวิงเวียนลงได้

เคล็ดลับสำหรับใช้ป้องกันการสูญเสียความสมดุล:

 เมื่อท่านเกิดมีอาการวิงเวียน ให้นั่งลง หรือนอนราบทันที
 ในระหว่างที่มีอาการวิงเวียน บ้านหมุน ให้หลีกเลี่ยงการใช้สิ่งของ
ซึ่งสามารถทำให้ความรู้สึกเลวลง ให้เคลื่อนตัวอย่างช้า ๆ และ
หลีกเลี่ยงการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งศีรษะ   
พยายามพักสายตา   และหลีกเลี่ยงจากการมองแสงจ้า

 อย่าพยายามอ่านหนังสือ
 ให้พยายามพักผ่อนให้มากที่สุดที่จะมากได้   อย่าพยายามกลับไป
ทำงานในช๊วิตประจำวัน จนกว่าอาการจะกลับสู่สภาพปกติ
 ให้งดการสูบบุหรี่
 หลีกเลี่ยงจากปัจจัยที่จะทำให้เกิดอาการคัดจมูก
 พยายามควบคุมความเครียด และความวิตกกังวล ซึ่งท่านสามารถ
ใช้ยา หรือจิตบำบัด

การบริหารร่างกาย (Exercise)

มีนักวิจัยจำนวนไม่น้อยพบว่า การบริหาร และกลวิธี่ต่อไปนี้สามารถ
ทำให้ความสมดุลของท่านดีขึ้น และลดความเสี่ยงจากการหกล้มได้



 บำบัดด้วยวิธี Tai Chi หรือฝึกโยคะ
 ฝึกการเดิน (Gait training)
 บริหารร่างกายเพื่อความแข็งแรงของร่างกาย
 การฟื้นฟูการทรงตัว (vestibular rehabilatation therapy)
เป็นกรรมวิธีเพื่อทำให้ร่างกาย และสมองสามารถทำงานร่วม
กัน เพื่อทำให้การทรงตัวดีขึ้น

ปรับเปลี่ยนเรื่องอาหารการกิน (Dietary Adjustments)

มีการเปลี่ยนแปลงเรื่องอาหารการกิน อาจมีประโยชน์ได้
โดยทั่วไป ท่านควรรับปทานอาหารที่ให้สุขภาพ, ดืมน้ำให้มาก,
หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์

ถ้าท่านเป็นโรค Meniere’s disease... ท่านควร:

o หลีกเลี่ยงสารที่เป็นคาเฟอีน (ซึงมีอยู่ในกาแฟ,ชา,ชอคโคแลท)
เพราะมันสามารถกระตุ้นให้อาการเสียงในหูเลวลง
o รับทานอาหารในปริมาณน้อย แต่หลายครั้งต่อวัน
o ลดปริมาณเกลือในอาหารลง ให้น้อยกว่า 1500 mg เพื่อไม่ให้มีน้ำคั่ง
o หลีกเลี่ยงไม่รับทานผงชูรส (monosodium glutamate)
ซึ่งอาจทำให้มี่น้ำคั่งในร่างกายได้

หลีกเลี่ยงจากภาวะแทรกซ้อน:

เพือป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อน ซึ่งอาจเกิดขึ้นจากการเสียความ
สมดุล โดยเฉพาะในคนสูงอายุ คือการหกล้ม กระดูกแตกหักเป็นอันตราย
ต่อชี่วิตได้ มีวิธีการง่าย ๆ ซึ่งท่านสามารถปรับเปลี่ยนได้ ดังนี้:

 ให้มีแสงสว่างพอ
 กำจัดเอาสิ่งของที่เป็นอุปสรรค และเป็นอันตรายออกทิ้งไป หรือแก้ไขให้ดี
เช่นพรมปูพื้นที่ไม่แน่น, ปลักไฟฟ้า, เฟอรนิเจอร์ชำรุด
 หากจำเป็นต้องติดตั้งราวจับไว้ที่บ้าน เพื่อช่วยในการเดินไม่ให้หกล้ม

การปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตอย่างอื่น ซี่งสามารถลดความเสี่ยงต่อการหกล้มได้
เช่น:

 สรวมรองเท้าที่เหมาะสม

 ใช้ยารักษาได้อย่างถูกต้อง และเหมาะสม
 บริหารร่างกายอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงโปรแกรมช่วยทำให้การเคลื่อน
ไหวดีขึ้น

<< Prev

www.healthinaging.org

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น