Continued
การเสียการทรงตัว หรือการเสียศูนย์ที่พบได้บ่อยอีกชนิดหนึ่ง มี่ชื่อเรียก
“Meniere’s disease” เป็นโรคทีสามารถเกิดขึ้นกับคนได้ทุกอายุขัย
แต่ส่วนใหญ่จะเกิดในผู้ใหญ่วัยรหว่าง 40 – 60 ปี
คนที่เป็นโรค Meniere’s disease จะมีความรู้สึกหมุน (ตัวเอง หรือสิ่งรอบตัว)
อย่างรุนแรง, สูญเสียการได้ยิน, คลื่นไส้, มีเสียงในหู
และโรคดังกล่าว มักจะเกิดขึ้นกับหูด้านเดียวเท่านั้น โดยที่บางคนอาจมีอาการ
เพียงครั้งเดียว และว่างเว้นเป็นเวลานาน ส่วนคนอื่น ๆ อาจมีอาการต่อเนื่อง
กันหลายครั้ง ตอดต่อกันเป็นเวลาหลายวัน
คนเป็นโรคดังกล่าว...
บางรายอาจมีอาการอย่างรุนแรงถึงขั้นเสียการทรงตัว และทำให้เกิดการหกล้ม
การเกิดอาการเช่นนี้ เขาเรียกว่า "drop attacks"
แต่ สามารถทำให้คนทรมานจากภาวะดังกล่าว จนไม่สามารถปฏิบัติภาระกิจได้.
สาเหตุของโรคดังกล่าว เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของน้ำภายในหูชั้นใน(inner ear)...
โดยเราไม่ทราบว่า อะไรทำให้เกิดเป็นเช่นนั้น
เมื่อท่านมีอาการเสียการทรงตัว หรือเกิดการเสียศูนย์ ...
ขอให้ทราบว่า คนที่เป็นโรคและมีอาการดังกล่าว... 6 ใน 10 ราย สามารถหาย
ได้เอง หรือสามารควบคุมความรู้สึกหมุน ด้วยอาหาร, ยา หรือใช้อุปกรณ์บางอย่าง
และในรายที่อาการรุนแรงอาจต้องรักษาด้วยการผ่าตัด
แต่อาจมีปัญหาเรื่องการได้ยินเสียงได้
มีรายงานจาก Universtity of Washington ได้พบวิธีการรักษาโรค Meniere’s syndrome
ด้วยการฝังเครื่องมือไว้หลังหู โดยเครื่องมือดังกล่าวถูกออกแบบมาเพื่อควบคุม
คลื่นกระแสไฟฟ้าที่ผิดปกติเกี่ยวกับความสมดุลไปยังสมอง...ทำให้ความ
รู้สึกเกี่ยวกับการหมุนหยุดลง... ซึ่งเครื่องมือดังกล่าว...กำลังทดลองเกี่ยวกับ
คน (clinical trial) อีกไม่นาน เราคงได้พบอุปกรณ์ดังกล่าวในท้องตลาด
ถ้าท่านคิดว่า ท่านอาจมีปัญหาการเสียการทรงตัว...
ท่านควรไปพบแพทย์ เพื่อการตรวจค้นให้ทราบว่า อาการดังกล่าวเกิดจากอะไร ?
โดยท่านอาจมีโรคที่ท่านอาจไม่รู้มาก่อนก็ได้ เป็นต้นว่า โรค “หัวใจ” หรือโรค “เลือด”
หรือโรคเกี่ยวกับ “หู” หรือมีความผิดปกติในสมอง ?
การจัดการกับอาการ “วิงเวียน”...
ท่านจะต้องทำงานร่วมกับแพทย์ เพื่อหาทางจัดการกับอาการดังกล่าว
โดยหวังผลในการดำเนินชีวิตแต่ละวัน และลดความความเสี่ยงจากการได้รับบาดเจ็บ
ซึ่งอาจเกิดขึ้นในขณะที่เกิดมีอาการ...
ยกตัวอย่าง เมื่อออกนอกบ้านควรสรวมรองเท้า และควรเป็นรองเท้าซ่นเตี้ย
หรือท่านอาจตัดสินใจใช้ไม่เท้า (crane)
เพื่อความปลอดภัย ทุกครั้งที่ท่านเดินขึ้นบันได ท่านต้องจับราวบันใดขณะเดินขึ้น-ลง
ในการขับรถยนต์ก็เช่นเดียวกัน ถ้าท่านเป็นโรคดังกล่าว
.เพื่อความปลอดภัยท่านควรหลีกเลี่ยง...
<< Prev.
http://newsinhealth.nih.gov/issue/aug2012/feature1
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น