วันอาทิตย์ที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2556

Raynaud Phenomenon (4)

Aug. 3, 2013
Continued

RAYNAUD PHENOMENON SYMPTOMS

บ่อยครั้ง...

ในขณะที่มีปรากฏการณ์เรนอยด์  จะพบว่า
เส้นเลือดในบริเวณนิ้วมือ  จะถูกกระทบกับเหตุการณ์ดังกล่าว
ในรายที่พบเห็นกันบ่อยๆ (typical case)  เมื่อปรากฏการณ์ที่เกิดชึ้น เราจะพบ
เห็นเส้นเลือดหดตัว ทำให้สีของผิวหนังเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากมาย
และอาจเปลี่ยนสีซีดเผือด เรียก “white attack”  หรืออาจเปลี่ยนเป็นสีม่วงคล้ำ
(purple blue color)  เรียก “Blue attack.”

โดยทั่วไป   การเกิดปรากฏการณ์เรย์นอยด์ มักจะเริ่มต้นที่นิ้วๆ เดียวก่อน
จากนั้นจะกระจายไปยังนิ้วอื่น ๆ  ของมือทั้งสองข้าง
ซึ่งมีนิ้วชี้ นิ้วกลาง และนิ้วนาง  เป็นตำแหน่งที่เกิดขึ้นได้บ่อยที่สุด
ส่วนหัวแม่มือจะไม่เกิดอาการเลย

คนไข้อาจมีความรู้สึกไม่สบายที่บริเวณมือ โดยมีอาการเหมือนถูกเข็มทิ่มแทง,
รู้สึกเจ็บ,  มึนชา,  หรือรู้สึกงุ่มง่ามในการใช้มือที่มีอาการ

ความรู้สึกปวดจริงๆ จะเกิดขึ้นในรายที่เป็น secondar RP ซึ่งเกิดจากเนื้อเยื่อขาด
เลือดหล่อเลี้ยงเป็นเวลานาน

เส้นเลือดของผิวหนังของใบหู,  จมูก,  ใบหน้า,  หัวเข่า,  และหัวนม,
อาจถูกกระทบได้ โดยอาการที่เกิดจะทำให้ผิวหนังบริเวณดังกล่าวมีสีซีดเผือด
 หรือมีสีช้ำเป็นสี่ม่วง เมื่อสัมผัสกับความเย็นเข้า

สีผิวที่ผิดปกติ (bluish discoloration) อาจเกิดขึ้นที่บริเวณต้นแขน  หรือขา 
และอาการที่เกิดอาจปรากฏขึ้นที่นิ้วเท้าได้บ่อยเช่นกัน
แม้ว่า มีคนไขจำนวนหนึ่งไม่ค่อยจะบ่นเกี่ยวกับอาการของเท้าทั้งๆ มีอาการ

เมื่อปัจจัยตัวต้นเหตุ  เช่น ความเย็น หรือความวิตกกังวล  ถูกกำจัดออกไป
อาการของปรากฏการณ์เรนอยด์ก็จะหายไปเอง  เช่น เมื่อออกห่างจากบริเวณ
ที่มีความเย็น และให้ความอบอุ่นตนเอง  สีผิวที่คล้ำผิดปกติก็จะหายไป
ภายใน 15 – 20 นาที และเมื่อการไหลเวียนเลือดสู่สภาพปกติ
สีของผิวหนังจะฟื้นคืนสู่สภาพเดิม...

ในคนไข้ที่เป็นปรากฏการณ์ ชนิดปฐมภูมิ (secondary RP)...
บางครั้งเมื่อเกิดเมื่อเกิดภาวะขาดเลือดอย่างรุนแรง  แม้ว่าปัจจัยที่เป็นต้นเหตุ
ได้ถูกกำจัดทิ้งไปแล้วก็ตาม    แต่อาการยังคงมีอยู่   คนไข้พวกนี้ จะมีอาการปวด
และมีแผลที่ผิวหนัง โดยเฉพาะปลายนิ้วมือ  และปลายนิ้วเท้า

ในบางราย ที่เนื้อเยื่อชั้นลึกถูกทำลาย อาจถึงขั้นสูญเสียนิ้วไปได้
โดยเฉพาะในคนไข้ (RP) ที่มีสาเหตุจากโรคอย่างอื่น  เช่น scleroderma และ
systemic upus erythematosus

RAYNAUD PHENOMENON DIAGNOSIS

การวินิจฉัยภาวะ “เรย์นอยด์ ฟีนอมมีนอน” กระทำได้โดยอาศัยประวัติของคนไข้

ซึ่งมีอาการของโรคดังกล่าว  โดยจะเกิดมีอาการเมื่อเขาเผชิญกับความเย็น
หรือเกิดขึ้นในขณะที่มีความเครียด


<< Prev       Next >>

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น