Aug. 12, 2013
มีปัจจัยหลายอย่าง ซึ่งทำให้ท่านเพิ่มความเสี่ยงต่อการทำให้เกิดข้อ
เสื่อมได้ นั้นคือ:
• เมื่ออายุแก่ขึ้น โดยเราจะพบโรคต่อไปนี้ได้บ่อยที่สุด เช่น OA
(osteoarthritis), รูมาตอยด์ (Rheumatoid arthritis) และเก้า
• มีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น (overweight) หรือเป็นโรคอ้วน (obese)
หรือมีการบาดเจ็บของข้อ หรือเกิดการอักเสบมาก่อน
• พันธุกรรม- นักวิทยาศาตร์พบว่า ในคนที่เป็นโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์
มีความผิดปกติทางพันธุกรรม
• เพศ- สตรีมีแนวโน้มที่จะเกิดโรครูมาตอยด์ได้มากกว่าผู้ชาย
และในขณะเดียวกัน ผู้ชายมักจะเป็นโรคเก้าได้มากกว่าผู้หญิง
Symptoms
โรคข้ออักเสบจะมีอาการต่าง ๆ แตกต่างกัน:
Osteoarthritis (โรคข้อเสื่อม)
ตรงบริเวณข้อต่อ...
เราจะพบปลายของสองกระดูกที่มาจรดกัน จะถูกคลุมด้วยกระดูกอ่อน
มีลักษณะอ่อนกว่ากระดูก, มีผิวเรียบ และลื่น ซึ่งทำหน้าที่รองรับการกระแทก
ของปลายกระดูก ทั้งสอง และช่วยให้ข้อเคลื่อนไหว
และหมุนได้อย่างสดวกขึ้น
เมื่อคนเราแก่ตัวขึ้น, ได้รับบาดเจ็บ หรือเกิดการอักเสบติดเชื้อ จะทำให้กระดูกอ่อน
ที่คลุมปลายกระดูกทั้งสองเริ่มเสื่อม และ ผุกร่อนลง ทำให้ปลายกระดูกของข้อ
ไม่มีอะไรปกคลุม เป็นเหตุให้กระดูกข้อเกิดการ "อัด - บด" ซึ่งกันและกัน
ในทุกครั้งที่ข้อมีการเคลื่อนไหว จะทำให้กระดูกแตกเป็นชิ้นเล็ก ๆ ตกอยู่ในข้อ
พร้อมๆกับมีกระดูกงอกเกิดตรงบริเวณขอบของปลายกระดูก
เรียกว่า Osteophyte หรือ bone spurs
ในบางครั้ง เราจะพบว่า เศษกระดูกที่แตกออกมาจากปลายกระดูก (ข้อ)
จะขัดขวางการเคลื่อนไหว ทำให้ข้อเกิดการติดขัดเคลื่อนลำบาก
และอาจทำให้เกิดการระคาย, อักเสบ, บวม, และข้อตึงแข็งได้
เมื่อเวลาผ่านไป...
เนื้อกระดูก, เอ็นพังผืดต่าง ๆ, เส้นเลือด, เส้นประสาท, และ กล้ามเนื้อที่อยู่
ในบริเวณรอบ ๆ ข้อจะลีบ และอ่อนแรงลง สุดท้ายข้อกระดูกอาจถูกทำลายจน
เป็นอุปสรรคต่อการทำงานตามปกติได้
<< PREV NEXT >> P. 4 : Causes & Symptoms (continued)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น