วันเสาร์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2556

เส้นเลือดแดงโป่งพองของสมอง P.3 (Brain Aneursysm) : Diagnosis & Tests

Aug. 17,2013

ถ้าท่านมีอาการปวดศีรษะอย่างฉับพลัน และรุนแรง หรือ
มีอาการอย่างอื่นที่สัมพันธ์กับการฉีกขาด  หรือการแตก(ruptured) 
ของเส้นเลือดแดงโป่งพอง  แพทย์จะทำการตรวจ เพื่อค้นหาความจริงว่า 
มีเลือดออกภายในศีรษะของท่านหรือไม่ ?
หรือมีสาเหตุอย่างอื่น ซึ่งทำให้เกิดอัมพาติขึ้น
               
ถ้าผลการตรวจพบว่า มีเลือดออกภายในศีรษะ...
ทีมแพทย์ฉุกเฉินจะต้องทำการค้นหาต่อไปว่า  เลือดที่ออกมานั้น
เป็นผลมาจากการแตก (ruptured) ของเส้นเลือดโป่งพองหรือไม่ ?

ถ้าอาการที่ท่านมี  เป็นผลมาจากเส้นเลือดโป่งพองที่ยังไม่แตก  
จะมีอาการต่อไปนี้ เช่น มีอาการปวดที่บริเวณหลังลูกตา, การมอง
เห็นเปลี่ยนไป และมีอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อบนใบหน้าด้านหนึ่ง
การตรวจที่ท่านจะได้รับ จะเหมือนกันกับในกรณีแรกทุกประการ

การตรวจเพื่อ การวินิจฉัยประกอบด้วย:
Computerized tomography (CT:
การตรวจด้วย CT scan...เป็นการตรวจด้วยภาพเอกซเรย์ชนิดพิเศษ
ซึ่งมักจะเป็นการตรวจอย่างแรก ที่ถูกนำมาใช้ค้นหาความจริงว่า  
ท่านมีเลือดตกภายในสมองหรือไม่?

จากการตรวจดังกล่าว ท่านอาจได้รับยาฉีดที่เป็นสารทึบแสง 
ซึ่งทำให้เห็นการไหลเวียนของเลือดสู่สมอง และสามารถบอกตำแหน่ง
ที่มีการแตก หรือฉีดขาดของเส้นเลือดโป่งพองหรือไม่ ?
การตรวจชนิดที่เรียกว่า  CT angiography

Cerebrospinal fluid test:

ถ้าท่านมีเลือดออกภายในศีรษะ ชนิด subarachnoid hemorrhage
จะมีเม็ดเลือดแดงในน้ำไขสันหลัง ซึ่งแพทย์มักจะสั่งทำการเจาะเอา
น้ำไขสันหลังไปตรวจ   ในกรณีที่มีอาการของเส้นเลือดโป่งพองแตก...
โดยเฉพาะในรายที่ไม่สามารถมองเห็นภาพของเลือดออกด้วย CT scan

Magnetic resonance imaging (MRI)

การตรวจด้วย MRI เป็นการตรวจโดยการใช้คลื่นพลังแม่เหล็ก และคลื่นวิทยุ
เพื่อสร้างภาพของสมอง ซึ่งสามารถให้รายละเอียดได้มาก  
เป็นการตรวจที่ทำให้เราเห็นภาพของเส้นเลือด และรอยแตกได้ชัดเจน  
ในการตรวจดังกล่าว จะมีการฉีดสารทึบแสง (dye) เข่าสู่ร่างกายด้วย 
เรียกการตรวจชนิดนี้ว่า...MRI angiography

ในการตรวจสมองด้วย MRI angiography เมื่อเปรียบกับการตรวจ CT scan
พบว่า  ภาพที่ได้จาก MRI angiography  จะมีความคมชัดกว่า CT scan

Cerebral angiogram

ในการตรวจด้วยวิธีนี้  แพทย์จะทำการสอดท่อเล็กๆ ที่มีความยืดหยุ่นสูง
โดยทำการสอดท่อเข้าไปในเส้นเลือดแดงใหญ่ตรงบริเวณขาหนีบ...สอดผ่าน
เข้าสู่หัวใจไปยังเส้นเลือดแดงของสมอง

จากนั้น  แพทย์จะฉีดสารทึบแสง  (special dye) เข้าไปในเส้นเลือด
พร้อมกับถ่ายภาพเอกซเรย์เป็นชุด ๆ  ซึ่งสามารถเห็นรายละเอียดของ
ของเส้นเลือดแดงโป่งพอง รวมถึงตำแหน่งฉีกขาดของเส้นเลือด...

การตรวจชนิดนี้ ถือได้ว่าเป็นการตรวจในเชิงรุก (invasive method)
จะถูกใช้ก็ต่อเมื่อการตรวจอย่างอื่น ๆ ไม่ได้ข้อมูลที่เพียงพอต่อการวินิจฉัย




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น