วันพุธที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2556

ไวรัสตับอักเสบ B ชนิดเรื้อรัง (3) : มีการตรวจเลือดชนิดใดที่ท่านควรรู้... ? (Cheonic Hepatitis : Laboratory Tests You need to know

Aug. 2, 2013
(Continued)

นอกจากการตรวจเลือดดูว่า  ท่านเป็นโรคไวรัสตับอักเสบหรือไม่่แล้ว

ยังมีการตรวจอย่างอื่น  ซึ่งมีประโยชน์ต่อการนำมาพิจารณาตัดสินใจด้านการรักษา
และตรวจสอบดูการเปลี่ยนแปลงของตับอักเสบเรื้อรังว่า
มีมะเร็งเกิดขึ้นหรือไม่ ?

การตรวจเพิ่ม  ที่ท่านควรทราบมดังต่อไปนี้:


 HBV Genotype:

ไวรัสตับอักเสบมี 8 ชนิดด้วยกัน (หรือ genotypes) โดยใช้
โครงสร้างทางพันธุกรรมเป็นตัวแบ่งชนิด:

o ชนิด B และ C จะพบมากที่สุดใน Asia

o ชนิด A และ D พบได้ใน Europe
o ส่วน F และ H พบใน Central และ South America
o ใน America จะพบชนิด A, B, C และ D

ผลจากการศึกษา พบว่า เชื้อไวรัสชนิด A และ B จะตอบสนอง

ต่อการรักษได้ดีกว่าชนิด C หรือ D
จากการทราบว่า เชื้อไวรัสตับอักเสบ B เป็นชนิดใหน จะมีประ
โยชน์ในด้านการเลือกวิธีการรักษา

 Imaging:

ในยุคปัจจุบันเราจะพบว่า magnetic resonance (MRI)
และการตรวจด้วย triple-phase computed tomography
(CT หรือ CAT) มีการสั่งใช้กันบ่อยมาก เป็นวิธีการที่ไม่เจ็บ
ปวด สามารถตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงในตับ โดยเฉพาะ
มะเร็งของตับ

ผู้เชียวชาญบางนายแนะนำให้ใช้ MRI และ triple-phase

Computed tomography scans ตรวจคนที่เป็นตับแข็ง
(cirrhosis) ว่า มีมะเร็งเกิดขึ้นหรือไม่

 Ultrasound:

เป็นเครื่องมือที่เหมือนกับ MRI และ CT โดยอัลตราซาวด์
สามารถตรวจหามะเร็งของตับ ซึ่งผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้ใช้
ตรวจคนไข้ ซึ่งไม่มีโรคตับแข็ง (cirrhosis)

 Alpha-fetoprotein (AFP):

เป็นการตรวจดูระดับอของสาร AFP ว่าสูงหรือไม่?
AFP เป็นโปรตีนที่ถูกสร้างโดยเซลล์มะเร็งของตับ เป็น
การตรวจที่ไม่ค่อยแม่นยำนัก... ultrasound จะมีค่าสูงกว่า
ในด้านการตรวจหามะเร็ง

 Liver Biopsy:

ในบางกรณี การตรวจเลือดไม่สามารถบอกได้ว่า คนไข้เกิด
เป็นมะเร็งของตับหรือไม่ ในกรณีเช่นนี้ การเจาะเอาชิ้นเนื้อ
จากตับไปตรวจ เพื่อตรวจดูว่ามีภาวะ “ตับแข็ง” หรือ “มะเร็ง”
ของตับหรือไม่

อย่างไรก็ตาม ยังปรากฏว่ามีการถกเถียงด้านคุณค่าของการ

ตัดเอาชิ้นเนื้อจากตับไปตรวจ

ผู้เชี่ยวชาญบางนายกล่าวว่า...ผลการตรวจจะมีประโยชน์ต่อการบอกให้รู้ว่า 

 การรักษาที่คนไข้ไวรัสตับอักเสบ ฺ  ได้รับนั้นดีหรือไม่ ?
ส่วนคนอื่นๆ ให้ความเห็นว่า...แค่ผลที่ได้จากการตรวจเลือดก็เพียงพอต่อการ
นำมาตัดสินว่า  ควรเริ่มต้นรักษาเมื่อใด และควรใช้ยาตัวใด...

<<  Prev.


http://www.hepmag.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น