วันอังคารที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2556

ปัญหาพบบ่อยในการเสียศูนย์ P 4 : How does the vestibular system work?

 Aug. 20,2013
ระบบการทรงตัว (vestibular system)...
จะทำงานร่วมกับระบบประสาทที่รับความรู้สึก และการเคลื่อนไหว 
(sensorimotor system) อันได้แก่  ระบบสายตา(visual system) ,กระดูก และข้อ 
(skeletal and joints)  โดยทำหน้าที่ตรวจสอบ และทำให้ร่างกายอยู่ในสภาพ
ที่สมดุลทั้งขณะพักผ่อน  และในขณะมีการเคลื่อนไหว


ระบบการทรงตัวทำงานได้อย่างไร ?

หน้าที่ของระบบดังกล่าว ต้องอาศัยองค์ประอบสองส่วน คือ  
semicircular canals)   และ  otolith organs ซึ่งอยู่ภายในหูชั้นใน  (inner ear) 
โดยทำหน้าที่ตรวจจับแรงเชิงกล (mechanical force) และแรงอันเกิดจากความ
โน้มถ่วงของโลก   ซึ่งกระทำต่อระบบการทรงตัว (vestibular system) โดยตรง

ใน semicircular canals จะเป็นท่อครึ่งวงกลม  มีน้ำ (endolymh) บรรจุอยู่ภายใน
จำนวน 3 อัน   ซึ่งตั้งฉากซึ่งกัน และกัน...โดยมีหน้าที่บอกสมองให้ทราบว่า
ศีรษะมีการเคลื่อนตัวในแนวหมุน (rotating) อย่างไร 
เช่น ศีรษะเคลื่อนขึ้นลงในขณะพยักหน้า หรือหันไปมองซ้าย และด้านขวา

ตรงบริเวณฐานของท่อครึ่งวงกลม...มีลักษณะอ้วนกว่าส่วนอื่น  
ภายในมีองค์ประกอบที่สำคัญ  มีรูปร่างเหมือนหยดน้ำ (raindrop) มีเยื้อหุ้มบาง ๆ  
มีชื่อเรียกว่า cupula  ภายในมีเป็นของเหลวสาร gelatin (gel-like substance)  

ตัว cupula จะอยู่บนกลุ่มเซลล์รับความรู้สึก มีชื่อว่า hair cells และจากเซลล์ดังกล่าว
มีส่วนลักษณะเหมือนเส้นขน  ยื่นเข้าไปในสาร gelatin ที่อยู่ใน cupula
เส้นขนที่ยื่นออกไป มีชื่อเรียก stereocilia  ซึ่งมีความแตกต่างจากขนทั่วไป  
ตรงที่  stereocilia มันสามารก่อให้เกิดคลื่นคำสั่ง (signals) ส่งไปยังสมองได้...

เมื่อศีรษะเคลื่อนไหว....น้ำ (endolymph) ภายในท่อครึ่งวงกลมจะเคลื่อนไหวตาม
และจากการเคลื่อนไหวของน้ำ  (endolymph) ภายในท่อครึ่งวงกลมดังกล่าว  
จะทำให้ส่วนที่เรียก cupula   เกิดเอนเอียงไป  และทำให้ขน หรือ stereocilia 
เฉ (tilt)ไปอีกทาง

จากการที่ stereocilia เฉไปจากตำแหน่งเดิมนี้เอง ...
เป็นการกระตุ้นให้มันส่งคลื่น (signals) ไปยังสมอง...บอกให้สมองได้ทราบว่า 
ศีรษะมีการเคลื่อนไหว  พร้อมกับบอกตำแหน่งให้สมองรู้ด้วยว่า 
ศีรษะอยู่ในตำแหน่งใด

ในหูชั้นใน (labyrinth) นอกจากมีท่อครึ่งวงกลมแล้ว ยังมีส่วน คือ otolith organs 
ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญ ที่มีลักษณะคล้ายถุงเล็กๆ  จำนวนสองถุง
มีชื่อเรียกวา utricle  และ  saccule.... ภายในบรรจุด้วยน้ำ endolymph 

Otolith organs จะทำหน้าที่บอกให้ สมองได้ทราบว่า ร่างกายมีการเคลื่อนไหว
ตามแนวเส้นตรง เช่น การยืนตรง หรือการนั่งรถ หรือปั่นจักรยาน 
นอกจากนั้น มันยังบอกให้สมอง ว่า  เมื่อสัมพันธ์กับแรงโน้มถ่วงของโลกแล้ว 
ศีรษะของคนเราอยู่ในตำแหน่งใด  เช่น นั่งตรง, เอนไปข้างหลัง หรือนอนราย เป็นต้น

การทำงานของ utricle และ saccule จะคล้ายกับการทำงานของท่อครึ่งวงกลม  
โดยโครงสร้างทั้งสอง มีเซลล์รับความรู้สึก (sensory hair cells)
อยู่ที่ส่วนก้น (bootom) ของถุง  และเซลล์ขนดังกล่าว จะมีลักษณะ และการทำงาน
เหมือนกับเซลล์รับความรู้สึกใน cupula ทุกประการ  

โดย "เซลล์ขน" จะมีส่วนที่เป็นเส้นขนยื่นออกไปยังสารที่เป็นของเหลวคล้าย gelatin 
ซึ่งวางทับอยู่ด้านบนของเซลล์รับความรู้สึก(sensory hair cells) อีกทีหนึ่ง
และมีสาร calcium carbonate  เป็นเม็ด ๆ รวมเป็นกลุ่มวางทับบนสาร gelatin  
มีชื่อเรียกว่า  otoconia...

ส่วนที่เป็นขนของเซลล์รับความรู้สึกดังกล่าว  จะยื่นเข้าไปในของเหลว
ซึ่งวางตัวอยู่บนผิวของมัน  เรียกว่า stereocilia เช่นกัน
และของเหลว (gel -like substance) ที่วางอยู่บนผิวด้านบน sensory hair cells
ดังกล่าว จะมี สาร calcium carbonate   เป็นเม็ดรวมตัวกันเป็นกลุ่ม
มีชื่อเรียกว่า otoconia

ในขณะที่คนเรากำลังเอียงศีรษะ...
แรงโน้มถ่วงของโลก จะดึงเม็ด (grains) ของ calcium carbonate ลงสู่เบื้องล่าง  
พร้อมกับมีผลกระทบต่อขน (stereocilia) ยื่นออกมาจาก  Hair cells ด้วย  
ซึ่งเป็นการกระตุ้นให้ stereocilia ส่งสัญญาณไปบอกให้สมอง
บอกให้สมองได้ทราบถึงตำแหน่งของศีรษะ





สำหรับระบบสายตา (visual system)...
มันจะทำงานร่วมกับระบบการทรงตัว (vestibular system) เพื่อทำให้
เราสามารถมองเห็นภาพได้ชัดเจนขณะที่ศีรษะมีการเคลื่อนไหว  และ
บอกให้เรา
ได้ตระหนักรู้ถึงตำแหน่งของร่างกายขณะเดิน หรือขณะนั่งนั่งรถยนต์

โดยสรุป...ตัวรับความรู้สึก (sensory receptors) ในบริเวณข้อ และกล้ามเนื้อ
ของเรา  ช่วยเราให้รักษาความสมดุลของร่างกายในขณะที่มีการเดิน หรือการยืน

สมองมีบทบาทสำคัญในการรับข้อมูล, ประเมินผล, และผ่านกระบวนบูรณาการ
ข้อมูลทั้งหลายจากระบบต่างๆ ที่ได้รับจากระบบทั้งสาม (หูชั้นใน. ตา และข้อ-กระดูก)
เพื่อนำไปสู่การควบคุมการทรงตัวของคนเราให้เป็นไปตามปกติ  


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น