Aug. 28, 2013
Care & Treatment
เมื่อท่านได้รับการวินิจฉัยว่า เป็นโรคเส้นเลือดแดงส่วนปลาย...
สิ่งแรกที่ท่านจะต้องกระทำ:
เลิกสูบบุหรี่ทันที
ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับทานอาหาร ด้วยการลดปริมาณไขมันในอาหาร
และลดระดับคลอเลสเตอรองในเลือดลง
เริ่มบริหารร่างกายด้วยการเดิน หรือออกกำลังกายตามที่ได้กำหนดไว้
เพราะการออกกำลังกายเป็นกรรมวิธีทำให้การไหลเวียนของเลือดได้ดีที่สุด
โดยเฉพาะในบริเวณขา
และท่านจะต้องจัดการกับโรคทุกชนิดที่มีส่วนสัมพันธ์กับโรคเส้นเลือดแดงส่วน
ปลายของท่าน เป็นต้นว่า โรคความดันโลหิตสูล, โรคเบาหวาน, และโรคอื่น ๆ...
โดยแพทย์ของท่านจะเป็นผู้รักษา และตรวจสอบโรคดังกล่าวอย่างใกล้ชิด
การรักษาด้วยยา (Drug Treatment/Medications):
ในคนไข้โรคเส้นเลือดแดงส่วนปลาย...
เราจะพบว่า มียาที่ถูกนำมาใช้รักษาในคนไข้ดังกล่าว ซึ่งแพทย์จะสั่งให้แก่ื่ท่าน
ซึ่งท่านจำเป็นต้องทราบเอาไว้ :
Aspirin เป็นยาสำหรับทำให้เลือดไหลสะดวกขึ้น (blood thinner)
โดยทำหน้าที่ต่อต้านการจับตัวของเม็ดเลือด ทำให้เลือดไหลผ่าน
เส้นเลือดที่ตีบแคบได้ง่ายขึ้น
Aspirin ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะสมอง แลหัวใจขาดเลือด
รวมไปถึงโรคอื่น ๆ ที่เกิดจากการเกิดลิ่มเลือด
ยาอย่างอื่นๆ อาจถูกนำมาใช้ในการบรรเทาอาการปวดที่เกิดเส้นเลือด
ตีบตัน โดยออกฤทธิ์ทำให้เส้นเลือดแดงของขาเกิดการขยายตัว
ยาลดระดับไขมันแคลอเลสเตอรอง (statins) สามารถป้องกันไม่ให้มี
คราบไขมันไปเกาะที่ผนังของเส้นเลือดจากระดับไขมัน cholesterol สูง
ใช้ยาลดความดันโลหิตสูงในกรณี ที่มีโรคดังกล่าว
การรักษาด้วยการผ่าตัด (Surgery)
ถ้าโรคเส้นเลือดแดงของท่านมีความรุนแรง หรือการรักษาด้วยการใช้ยา
และบริหารร่างกาย ไม่สามารถช่วยเหลือท่านได้ แพทย์อาจแนะนำให้ท่าน
ได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัด
Angioplasty
Credit : http://ccvsa.com/
เป็นการผ่าตัดเส้นเลือดด้วยการสอดใส่ท่อยาง (catheter tube) เข้า
ไปในเส้นเลือดแดงที่ตีบตัน โดยการทำให้เส้นเลือดเกิดการขยายตัว
เพื่อให้เลือดไหลผ่านได้ดีขึ้น ซึ่งกระทำได้ด้วยการใช้บอลลูนที่พอง
ตัวขึ้น ทำให้เส้นเลือดตีบแคบเปิด หรือสอดใส่ และวางขดลวด (stent) เพื่อ
ป้องกันไม่ให้เส้นเลือดตีบแคบได้อีก
การผ่าตัดบายพาส (Bypass Surgery )
Credit : www.mayoclinic.com
เป็นการผ่าตัดทำทางเบี่ยงให้แก่การไหลเวียของเลือดผ่านบริเวณอุดตัน
ในเส้นเลือดแดง ซึ่งกระทำได้ด้วยการใช้เส้นเลือดจากที่อื่นของร่างกาย
หรือใช้ท่อสังเคราะห์ขึ้น เพื่อให้เลือดไปเลียงอวัยวะที่อยู่ปลายต่อบริเวณ
อุดตันได้
<< PREV. NEXT >> Peripheral artery disease: Surgery
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น