หากเราจะตั้งชื่อโรคเบาหวานว่า เป็นโรคแห่งความซับซ้อน
หรือโรคที่เต็มไปด้วยความแทรกซ้อน
คงจะไม่ผิดจากความเป็นจริง เท่าใดนัก
มันเป็นโรคที่ซับซ้อนต่อความเข้าใจ... และมีความสลับซับซ้อนต่อการรักษา
ที่พูดเช่นนั้น เป็นเพราะว่า มีคนไข้บางรายไม่สนใจต่อการรักษาตนเอง
ทั้งๆ ที่ถ้าปฏิบัติตามคำแนะนำเท่าแหละ....ปํญหาก็จะไม่เกิดขึ้น
นั่นคือหนึ่งในปัญหาหลายๆ อย่าง ซึ่งมันไม่น่าจะ เป็นเช่นนั้นเลย
นอกจากนั้น ตัวโรคเบาหวานเอง ยังก่อให้ภาวะภาวะแทรกซ้อน ได้อย่างมากมาย
ซึ่งนับเป็นปัญหาที่สำคัญ ซึ่งวงของการแพทย์ำลังเผชิญอยู่ในขณะนี้
โรคเบาหวาน สามารถทำให้เกิดผลกระทบต่ออวัยวะต่าง ๆ ได้มากที่สุด
ในโรคดังกล่าว ระดับน้ำตาลในเลือดของคนไข้บางราย ในบางครั้งอาจสูงขึ้นอย่างมาก
และในเมื่อเลือดของคนเรา สามารถกระจายไปทั่วทุกส่วนของร่างกาย
ดังนั้น เมื่อระดับน้ำตาลในกระแสเลือดสูง มีความเข็มข้นสูง
มันย่อมก่อให้เกิดอันตรายแก่อวัยวะต่าง ๆ ได้
มีคนไข้บางราย สามารอยู่ร่วมกับโรคเบาหวาน ได้นาน โดยมีภาวะแทรกซ้อนไม่มาก
บางรายมแค่อาการคันตามตัว...
ส่วนใหญ่เป็นแค่ก่อความรำคาญใจเท่านั้น
ถ้าหากเราสามารถควบคุมระดับน้ำตาล ให้ใกล้เคียงระดับปกติ
เราก็สามารถป้องกัน และรักษาภาวะแทรกซ้อน ไม่ให้เกิดขึ้นได้
มันก็ง่าย ๆ แค่นั้นเอง
และคนที่จะทำเช่นนั้นได้ดี คือตัวคนไข้นั่นเอง จะต้องเป็นรับผิดชอบโดยตรง
ภาวะแทรกซ้อนบางอย่างของคนเป็นเบาหวาน จะ ทำให้คนไข้อายุสั้น
เช่น ระดับน้ำตาลลดต่ำมาก ๆ (hypoglycemia)
เป็นภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นในช่วงสั้น ๆ (short term complication)
ภาวะแทรกซ้อนบางอย่าง เป็นผลในระยะยาว (long term complications)
เช่น โรคไต (kidney disease)
ที่จะนำเสนอต่อไปนี้ เป็นรายชื่อของภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากโรคเบาหวาน
อาจทำให้ท่านที่เป็นโรคดังกล่าว...ตกใจ
ขอเรียนว่า ตราบใดที่ท่านสามารถควบคุมระดับน้ำตาล ให้ใกล้เคียงกับระดับปกติ
ภาวะแทรกซ้อนทั้งหลาย ก็ไม่สามารถเข้าใกล้ตัวท่านได้
แน่นอน มันจะทำให้ท่านมีความสุขภาพดี มีชีวิตเหมือนคนปกติเขาได้
Hypoglycemia (ภาวะน้ำตาลลดต่ำอย่างมาก หรือจะเรียกว่า เป็นปฏิกิริยาจาก อินซูลิน
เมื่อระดับน้ำตาลลดต่ำลงอย่างมาก ทำให้สมองไม่สามารถทำงานได้ดี เหมือนรถยนต์ขาดน้ำมัน
ซึ่งจะนำไปสู่ภาวะอาการโคม่า
ภาวะระดับน้ำตาลลดต่ำ แบ่งเป็นสองระดับ (1) ระดับเล็กน้อย น้ำตาลลดลงถึง 60 – 70 mg/dl
(2) ระดับรุนแรง น้ำตาลลดต่ำกว่า 40 mg/dl
ภาวะน้ำตาลลดต่ำ ต้องได้รับการรักษาทันทีด้วยการให้น้ำตาล เพื่อทำให้ระดับน้ำตาลกลับ
สุ่ระดับปกติ และต้องให้อย่างรีบด่วนด้วย
Hypertglyemia ระดับน้ำตาลในกระแสเลือดสูงมากเกิน จะก่อใหเกิดภาวะอย่างหนึ่งเรียก
Diabetic Ketoacidosis (DKA) เป็นผลมาจากร่างกายขาดอินซูลิน
ทำให้เซลล์ไม่สามารถใช้น้ำตาลให้เป็นพลังได้ จึงหันไปใช้พลังจากที่อื่นแทน
เช่นจากไขมัน ทำให้เกิดผลผลิต Ketone ออกมา (by product)
เป็นสารที่มีอันตราย ทำหเลือดเป็นกรดขึ้น
ภาวะเช่นนี้ มักจะเกิดในเบาหวาน ชนิด 1
ในคนสูงอายุ เมื่อมีระดับน้ำตาลในลือดสูง ๆ มากกว่า 900 mg/dl
จะทำให้เกิดภาวะ Hyperosmolar nonketotic coma
ซึ่งจะมีทำให้ระบบเคมีของร่างกาย ไม่สามารถทำทำงานได้เป็นปกติ ผิดเพี้ยนไปหมด
โชคดีหน่อยตรงที่...มันเป็นภาวะที่ไม่ค่อยเกิดกัน
Diabetic eye disease (retinopathy)
เบาหวานมักจะทำให้เกิดโรคทางตา ที่พบได้บ่อย คือ “ต้อหิน” (glaucoma)
มีการทำลายเส้นประสาทตา (optic nerve) ซึ่งมักจะทำให้ความดันในลูกตาสูงขึ้น)
และทำให้เกิดโรคต้อกระจก ซึ่งเป็นผลจากเลนซ์ลูกตาเกิดมัวขึ้น...
Diabetic kidney disease(nephropathy)
ในโรคชนิดนี้ (nephropathy) ไตจะสูญเสียการทำงานด้านกรองเอาของเสีย
และพิษออกจากกระแสเลือด ซึ่งมันจะเกิดขึ้นอย่างช้า ๆ และกินเวลานาน
เมื่อไตถูกทำลายจนหมดสิ้นเขาจะมีชีวิตรอดได้โดย การฟอกเลือด (dialysis)
หรือการผ่าตัดเปลี่ยนไตในที่สุด
Diabetic nerve disease (Neuropathy)
โรคเบาหวาน สามารถทำลายประสาทได้หลายทาง และหลายชนิด
เช่น
• Sensorimotor neuropathy เบาหวาน สามารถทำลายประสาท
ทีทำหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนไหว (moement)
และประสาทที่ทำหน้าส่งคลื่นความรู้สึกจากมือ แขน ขา และเท้า
• Autonomic neuropathy เป็นการทำลายประสาท ซึ่งเราไม่สามารถรับรู้ได้
(not under conscious) เช่น การขับเหงื่อ (sweating) ระบบการย่อยอาหาร
Focal neuropathy เป็นการทำลายประสาทเพียงเส้นเดียว หรือเป็นกลุ่ม
เช่น carpal tunnel syndrome เป็นต้น
Heart and blood vessels disease
โรคหัวใจ และเส้นเลือด ซึ่งเกิดจากโรคเบาหวาน ถือว่าเป็นภาวะที่น่ากลัว
เพราะมันมีอันตรายถึงตายได้
การมีระดับ cholesterol ในเลือดสูง รวมกับความดันโลหิตสูง จะเพิ่มความเสี่ยง
ต่อการเกิดโรคหัวใจและเส้นเลือด
โรคในกลุ่มนี้ได้แก่:
• Coronary Heart Disease ซึ่งเส้นเลือดทั้งหลายที่วิ่งเข้าสู่หัวใจถูกทำลาย
แล้วก่อให้เกิดการอุดตัน เป้นเหตุให้หัวใจขาดเลือด (heart attack) หรือ
ทำให้คนไข้มีอาการเจ็บหน้าอก (chest pain) เนื่องจากหัวใจขาดเลือด
• Congestive heart failure หัวใจเกิดล้มเหลว
ไม่สามารถปั้มเลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆของร่างกายได้
• Peripheral vascular disease ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นกับเส้นเลือดของขา
ซึ่ง เส้นเลือดเกิดการอุดตัน เลือดไม่สามารถผ่านไปได้
ภาะแทรกซ้อนอื่น ๆ โรคเบาหวานสามารถทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ได้ เช่น
ไขข้อ ผิวหนัง ทำให้เกิดการอักเสบติดเชื้อได้ง่าย
นอกจากนั้นมีผลกระทบต่อเพศสัมพันธุ์ ทำให้หมดความรุ้สึกทางเพศไป
และมีผลกระทบต่อกระเพาะลำไส้ (gastroparesis) มีอาหารตกค้างในกระเพาะ
สุดท้ายก่อให้เกิดปัญหาตาง ๆ เกิดขึ้นกับเท้า
นั่นคือภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่สามารถเกิดขึ้นกับท่าน หรือคนที่เป็นเบาหวาน
ซึ่งไม่ค่อยสนใจดูแลตนเองเท่าที่ควร
นอกเหนือจากยาที่แพทย์สั่ง ให้ท่านรับประทานตามความเหมาะสมแล้ว
ส่วนที่เหลือ เป็นความรับผิดชอบของท่านเอง เช่น
รับประทานอาหารสุขภาพ....รวมไปถึงการ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ..
cont. (2)
www.diabetessymptoms.net/news/news-item-cfmNewsID=259.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น