วันอาทิตย์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2554

เบาหวาน : The Somogyi phenomenon: (5)


จะมีเจ้าหน้าที่ สักกี่คน ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการรักษาคนไข้เบาหวาน
ที่ให้ความสนใจต่อความรู้สึกของคนไข้ในขณะที่ถูก
ปลุกให้ตื้นขึ้น เพื่อเจาะเลือดดูระดับน้ำตาล ในขณะหลับพักผ่อน
ขอให้รู้ไว้เถอะว่า...คนไข้เขาหงุดหงิดอย่างแน่นอน.....

มีคนจำนวนมาก ที่เป็นเบาหวาน ในตอนกลางคืน ระดับน้ำตาลในเลือดลดลงต่ำกว่า 70 mg/dl
โดยที่เจ้าตัว ไม่มีความรู้สึกตัวเลย...
นั่นคือเหตุผลที่ว่า เรามีความจำเป็นต้องปลุกคนไข้ให้คนไข้ต้องตื่นขึ้น
เพื่อเจาะเลือดตรวจระดับเลือดในตอนกลางคืน
เพื่อนำผลจากการตรวจ ไปพิจารณาการรักษาที่เหมาะสมต่อไป

การที่น้ำตาลลดต่ำลงในตอนกลางคืน จะทำให้ร่างกายปล่อยสารฮอร์โมนออกมาหลายตัว
เพื่อเพิ่มระดับน้ำตาลให้สูงขึ้น ซึ่งเมื่อเราตรวจในตอนเช้ามืด จะพบว่า ระดับน้ำตาลในกระแสเลือดมันสูงขึ้น

ปรากฏการณ์อย่างนี้ แพทย์เขาเรียกมันว่า Somogyi phenomenon (เรียกตามชื่อของผู้พบเป็นคนแรก)
ซึ่งมีผลกระทบต่อระดับยา basal dosing อย่างแน่นอน

Giving basal a little respect:

การกำหนดขนาดของอินซูลิน ให้ทำหน้าที่เป็น Basal insulin ได้เหมาะสม
ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญต่อการใช้อินซูลิน
หากให้ basal insulin มากเกินไป หรือ ให้ผิดเวลา นอกจากจะทำให้เกิดมีน้ำหนักตัวเพิ่มแล้ว
ที่สำคัญ ถ้าให้มากไป มันจะทำให้เกิดภาวะน้ำตาลลดต่ำกว่าปกติได้
เป็นอันตรายต่อคนไข้

ในทางตรงข้าม หากให้ basal insulin น้อยไป ก็จะก่อให้เกิดมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น
นอกจากจะเป็นผลเสียต่อคนไข้แล้ว ยังก่อให้เกิดความยุ่งยากต่อการกำหนดให้ bolus insulin
ที่เหมาะสมต่ออาหารมื้อนั้น ๆ อีกด้วย

อย่างไรก็ตาม การจัดให้ basal insulin ได้ถูกต้อง จะทำให้คนไข้สามารถดำเนินชีวิตไปด้วยดี
นอนหลับด้วยความสบายใจ และปฏิบัติภารกิจได้
โดยไม่ต้องกลัวว่า ระดับน้ำตาลจะลดต่ำจนเป็นลมฟุบลง (hypoglycemia)
หรือระดับน้ำตาลสูงขึ้น

การปรับแต่ง (fine-tune) ค่าของbasal insulin เป็นเรื่องที่ซับซ้อน
ฉะนั้น เมื่อสงสัย อย่าได้รีรอที่จะปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับเรื่องนี้
(endocrinologist, nurse practitioner….)


www.diabetesselfmanagemnet.com/articles/insulin/getting-down-t0-basals/all/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น