ได้เห็นแพทย์ใช้ยา ทำการรักษาคนไข้โรคความดันโลหิตสูง
ทำให้มี “ความอยาก” เกิดขึ้น
อยากเปรียบเทียบว่า การใช้ไม้ (เหล็ก) ตีลูกกอล์ฟ มันเหมือนกับการใช้ยาหรือเปล่า ?
จากการสังเกต พบว่า บางทีก็เหมือนกัน
บางทีไม่....
ยกตัวอย่าง ที่ “แตกต่างกัน” คือ การใช้ยา บางทีแพทย์เขาใช้ยาสองตัวหรือมากกว่า
เพื่อหวังผลให้ยาช่วยออกฤทธิ์
ให้การรักษาบรรลุเป้าหมาย ตามที่ต้องการ
ส่วนการตีกอล์ฟนั้น
เขาใช้เพียงไม้เดียว ตีลูกกอล์ฟในแต่ละครั้ง จะใช้ตามสถานการณ์ที่เหมาะสมเท่านั้น
ยังไม่เคยเห็นใครใช้ไม้เกินหนึ่งไม้ เพื่อตีลูกแต่ละครั้งเลย
เห็นเพื่อนแพทย์เราใช้ยา ACEI และ ARB ร่วมกัน
เกิดความสงสัย อยากจะถาม....
มองซ้าย และขวา....ไม่รู้จะถามใคร ?
ก็เห็นมีแต่ทาง Online ที่เป็นแหล่ง...ให้เราสามารถศึกษาหาความรู้ได้
นั่นคือที่มาของบทความที่ท่านกำลังอ่านอยู่ในขณะนี้
ในร่างกายของมนุษย์เรา มีระบบหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญที่จะไม่เอ่ยถึง คงไม่ได้
นั่นคือระบบ Renin – Angiotnesin – system
เพราะระบบนี้มีบทบาทสำคัญ ต่อการทำให้ความดันโลหิตของคนเราสูงขึ้น
Renin เป็นเสารตัวหนึ่งถูกสร้างขึ้นที่ไตด้วยเซลล์ ที่มีชื่อว่า Juxtraglomerular cells
มันทำหน้าทีเปลี่ยน Angiotensionogen ให้เป็น Angiotensin I (A-I)
มันทำแค่นั้น...
จากนั้น เป็นภาระของเอ็นไซม์อีกตัวหนึ่ง ชื่อ Angiotensin Converting enzyme (ACE)
มีหน้าที่สมชื่อของมัน นั่นคือ ทำหน้าที่เปลี่ยนสาร Angiotensin I ให้เป็น Angiotensin II
ซึ่งสารที่ถูกสร้างขึ้นใหม่นี้ มีบทบาทในการทำให้เส้นเส้นหดตัว...
แต่ ก่อนที่มันจะทำเช่นนั้นได้ มัน (Angiotensin II)จะต้องไปจับกับ
Angiotensin II receptor บนเส้นเลือดเสียก่อน ....
จากนั้น มันจึงจะแสดงฤทธิ์ ทำให้เส้นเลือดหดตัว (vasoconstriction)
ยังผลให้ความดันโลหิตเพิ่มสูงขึ้น
มาดูสาร ARBs เมื่อให้แก่คนไข้แล้ว มันทำงานที่ไหน ?
การทำงานของมัน ก็ตรงตามชื่อของมัน นั่นคือ สกัดกั้นไม่ให้ Angiotensin II จับตัวกับ
Angiotensin II receptors บนเส้นเลือดนั่นเอง
จึงทำให้ Angiotensin-II ไม่สามารถทำงานตามที่กล่าวได้
ส่วน ACE inhibitors มันไปออกฤทธิ์ที่เอ็นไซม์ ACE
ไม่ให้มันทำงาน ไม่มีการเปลี่่ยน Angiotensin I ไปเป็น Angiotensin II
คนอื่น เขาคิดเรื่องนี้กันอย่างไร ?
มีหลักฐานรายงานเอาไว้ว่า ACE inhibitors ถูกนำมาใช้รักษาคนไข้ที่เป็นโรคหัวใจล้มเหลว
(congestive heart failure) แลโรคความดันโลหิตสูง
และเพื่อชะลอไม่ให้มีการสูญเสียโปรตีนทางปัสสาวะ (proteinuria)
หน้าที่หลักของ ACE inhibitors คือ ยับยั้งการสร้าง Angiotensin II
โดยการสกัดกั้นการทำงานตรงตำแหน่งของ Renin และ Angiotensin I
เป็นเหตุให้มีการสร้าง Angiotensin II น้อยลงไป หรือไม่ให้มีการสร้าง
แต่คนที่ให้ยา ARBs ควบกับ ACE inhibitors
เขามีความเชื่อว่า ACE inhibitors I ไม่สามารถยับยั้งไม่ให้มี Angiotension II
ได้ร้อยเปร์เซนต์แน่ จะต้องมีสารดังกล่าว หลุดออกมาสู่กระโลหิตอย่างแน่นอน
ดังนั้น การให้ ARBs เสริมเข้าไปอีก น่าจะได้ประโยชน์ตรงประเด็นนี้
จากหลักฐานทางคลินิก ที่มีการใช้ ARBs และ ACE inhibitors:
พูดตามทฤษฎีแล้ว...เข้าท่าดีนะ
แต่จากหลักฐานที่มีปรากฏ ยังอ่อนเกินที่จะให้เชื้อเช่นนั้น
เพราะมีหลักฐานที่ดี ทีบ่งบอกว่า การใช้ ACE inhibitorอย่างเดียวรักษาโรคหลายโรค
(multiple diseses) ปรากฏว่าได้ผลเป็นที่พอใจ
จึงเกิดมีคำถามขึ้นว่า จำเป็นด้วยหรือที่ต้องเพิ่มยา ARBs ให้แก่คนไข้อีก ?
ในขณะนี้ เป็นที่ยอมรับทางทฤษฎีว่า การให้ยา ARBs ร่วมกับ ACE inhibitors นั้น
นับเป็นเรื่องที่น่าฟังมาก แต่ยังจำเป็น ต้องรอให้มีข้อมูลมากกว่านี้
เพื่อพิสูจน์ให้ได้ว่า มันมีประโยชน์ และปลอดภัยจริง
หลักฐานทางคลินิก เกี่ยวกับการใช้ยาสองกลุ่มรวมกันดังกล่าว
ในคนไข้ที่เป็นโรคหัวใจล้มเหลว ยังอ่อนมาก
ไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับ mortality ของคนไข้ หรือมีน้อยมาก
The American Heart Association, Joint National Committee VII
เขาไม่แนะนำให้ใช้ยาทั้งสองร่วมกัน เพื่อรักษาคนไข้ โดยเขากล่าวว่า
แม้ว่าผลของการรักษาในราย ที่มีการสูญเสียโปรตีนทางปัสสาวะ (proteinuria)
จะเป็นเรื่องที่น่าประทับใจก็ตาม แต่ข้อมูลเกี่ยวกับการลดอัตราการตายจากโรคยังน้อยเกินไป
สมควรรอผลการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้ต่อไปก่อน
นอกเหนือไปจากนั้น เขากล่าวถึงค่าใช้จ่ายที่ต้องเสียในการใช้ยาร่วมกัน กับประโยชน์ที่พึงได้รับ
ปรากฏว่า ผลที่ได้ยังไม่ชัดเจนพอที่จะให้ทำเช่นนั้น
ดังนั้น จึงควรใช้ยาเพียงกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง (ARBs หรือ ACE inhibitors)
จนกว่าจะมีการศึกษาที่สมบูรณ์กว่านี้
www.findarticles.com/p/articles/mi_m0689/is_2_53/ai_113299034/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น