Calcium Channel Blockers หรือเรียกอีกชื่อว่า Calcium antagonist
เป็นยาที่ถูกนำมาใช้ในการรักษาโรคหลายอย่าง
เป็นต้นว่า ความดันโลหิตสูง โรคไมเกรน (migraine)
ยาในกลุ่ม calcium channel antagonsists ทำหน้าที่จะปิดกั้น
ไม่ให้ “แคลเซียม” ผ่านเข้าสู่เซลล์ของกล้ามเนื้อหัวใจ และเซลล์ของผนังเส้นเลือดได้
ผลจากการกระทำดังกล่าว จะทำให้ความดันโลหิตลดลง
โดยที่กล้ามเนื้อของผนังเส้นเส้นเลือดจะเกิดการผ่อนคลาย
ทำให้เส้นเลือดขยายตัว รูกว้างขึ้น (dilate) ทำให้เลือดวิ่งผ่านได้โดยง่าย
มียาบางตัวในกลุ่ม calcium antagonists สามารถลดอัตราการเต้นของหัวใจลง
เป็นการเสริมให้มีการลดระดับความดัน ลดอาการเจ็บหน้าอก (chest pain)
และลดการเต้นผิดปกติของหัวใจ (arrhythmia)
มียาหลายตัวที่เราควรรู้ ได้แก่:
Amlodipine(Norvasc):
ยาตัวนี้ มีบทบาทในการทำให้เส้นเลือดขยายตัว และลดความดันโลหิตลงแล้ว
มันยังช่;ยลดอาการเจ็บหน้าอก (angina) ได้ด้วย
ยาตัวนี้ใช้รับประทานวันละครั้ง
มีฤทธืข้างเคียง ได้แก่ ทำให้ปวดศีรษะ (headache) วิงเวียน (dizziness)
คลื่นไส้ (nausea)
และทำให้เกิดมีอาการปวดกล้ามเนื้อ ปวดข้อได้
Felodipine (Plendil):
ยาตัวนี้ทำงานแตกต่างจาก amlodipine เล็กน้อย
แทนที่มันจะไปทำให้เส้นเลือดขยายตัว มันกลับไปทำให้กล้ามเนื้อหัวใจทำงานน้อยลง
โดยการบีบตัว (contraction) ช้าลง
นอกจากนั้น มันยังทำให้การไหลเวียนของเลือดดีขึ้น ซึ่งเป็นการช่วยลดความดันโลหิตอีกทางหนึ่ง
ขนาดของยา ที่รับใช้รักษา คือ 2.5 – 10 mg วันละหนึ่งครั้ง
ผลข้างเคียงของยาตัวนี้ มีกคล้ายๆ กับของ amlodipine
คือ ทำให้ปวดศีรษะ รู้สึกไม่มีแรง วิงเวียน และ ปวดท้อง (stomach upset)
Nicardipine (Cardene):
ยาตัวนี้ ลดระดับของความดันโลหิตลงด้วยการคลาย (relax)กล้ามเนื้อของผนังเส้นเลือด
ทำให้เส้นเลือดขยายตัว ทำให้การไหลเวียนของเลือดดีขึ้น
ซึ่งเป็นยาในรูปเม็ดรับประทาน มีในรูปที่ค่อยๆ ออกฤทธิ์ ใช้รับประทานวันละครั้ง
ผลเสียของยา ทำให้เกิดอาการปวดหัว อ่อนหล้า นอนไม่หลับ และทำให้ปัสสาวะบ่อย
Verapamil (Calan Verelan):
ยาตัวนี้ ไม่เพียงแต่ใช้ลดความดันเท่านั้น
มันยังถุกใช้เพื่อลดอาการเจ็บหน้าอก (angina)
และใช้รักษาการเต้นของหัวใจที่ผิดปรกติบางชนิด (arrhythmia))
เป็นยาที่ออกมาในรูปของแคปซูล ห้ามทำให้แตก หรือบด
ผลเสียจากยาตัวนี้ ทำให้ปวดหัว วิงเวียน คลื่นไส้ และท้องผูก
www.livestrong.com/article/73553-list-calcium-channel-blocker-medicine-for-blood-pressure/
Cont. > (2)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น