วันอังคารที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2554

Hypertension: hypertensive crisis

เมื่อไม่ทราบว่า ตนเองเป็นโรคความดันโลหิตสูงมาก่อน...
พอเกิดมีปัญหาขึ้น แล้วนำท่านไปพบแพทย์เพื่อการรักษา...
นั่นเป็นเรื่องที่สมควร...ไม่ว่ากัน

แต่ในกรณี ที่ท่านรู้ทั้งรู้ ว่า ตัวท่านเองมีความดันโลหิตสูง
แล้วท่านไม่รักษา (หรือรักษาก็เหมือนไม่ได้รักษา...)
ไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำ ที่แพทย์เขาให้แก่ท่านนี้ซิ...
เมื่อเกิดปัญหาขึ้นมา คนที่รับกรรมต่อการไม่ปฏิบัติตาม คือตัวทานนั่นเอง
แล้วเราจะโทษใครอื่นได้ละ ?

Hypertensive crisis

หมายถึงความดันโลหิตที่มีระดับสูง ซึ่งจะนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนอันไม่พึงประสงค์ให้เกิดขึ้น
เช่น สมองขาดเลือด (stroke)และอื่น ๆ
เราจะบอกว่า คนไข้รายนั้น ๆ ตกอยู่ภายใต้ภาวะ hypertensive crisis
เมื่อเราวัดความดันตัวบน (systolic) ได้ 180 mmHg หรือมากกว่า
หรือตัวล่าง (diastolic) ได้ 120 mm Hg หรือมากกว่า

ภายใต้ภาวะของการเกิด Hypertensive crisis
จะทำให้เส้นเลือดเกิดการอักเสบ (damage)ขึ้น
ผลที่ตามมา อาจทำให้หัวใจไม่สามารถปั้มเลือด
ให้ไปเลี้ยงอวัยวะที่สำคัญได้อย่างมีประสิทธิภาพได้

สาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะ Hypertensive crisis ได้แก่:

o ลืมรับประทานยา (รักษาความดัน) ตามแพทย์สั่ง

o เกิดภาวะสมองขาดเลือด (Stroke)

o เกิดภาวะหัวใจขาดเลือด (Heart attack)

o หัวใจล้มเหลว (Heart failure)

o ไตวาย (Kidney failure)

o เส้นเลือดใหญ่เกิดการฉีกขาด

o ผลจากปฏิกิริยาของยาหลายตัว

o เกิดอาการชักในระหว่างตั้งครรภ์ (Eclamsia)

Hypertensive crisis แบ่งเป็นสองชนิด
คือ Hypertensive urgency & Emergency
ในรายที่เป็น hypetensive Urgency เป็นภาวะที่มีความดันโลหิตสูงมาก
แต่ยังไม่มีรอยโรค หรือบาดแผล (damage) เกิดในอวัยวะที่สำคัญ

ส่วนในรายที่เป็น hypertensive emergency นั้น
จะมีรอยโรค (damage) เกิดที่อวัยวะที่สำคัญขึ้นแล้ว

คนไข้ที่ปล่อยให้เกิดภาวะ hypertensive crisis
สามารทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนหลาย ๆ อย่าง
ซึ่ง มีอันตรายถึงขั้นชีวิตได้

อาการ และอาการแสดง ของ hypertensive crisis
ที่เป็นอันตรายถึงขั้นชีวิต ได้แก่:

o เจ็บหน้าอกอย่างรุนแรง (severe chest pain)

o ปวดศีรษะอย่างแรง อาจมีอาการทางสมอง เช่น สับสน (confusion)
สายตามัว (blurred vision)

o คลื่นไส้ และอาเจียน (nausea and vomiting)

o เครียดจัด (severe anxiety)

o หายใจไม่พอ-สั้น และถี่ (shortness of breath)

o ชัก-กระตุก (seizers)

o ไม่ตอบสนองต่อสิ่งเร้า (unresponsiveness)

หากท่านเกิดมีความดันโลหิตสูงมาก ๆ จะมีอาการตามที่กล่าวมา ท่านต้องพบแพทย์ทันที
เพื่อการรักษา ซึ่งท่านอาจได้รับยาการฉีดยาเข้าเส้น หรืออาจเป็นยารับประทาน..
ขึ้นกับความรุ้นแรงของความดันโลหิตสูง (emergency หรือ urgercy)

www.mayoclinic.com/health/blood-pressure-medications/AN01805

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น