Basal insulin คือปริมาณ (dose) ของอินซูลิน
ที่จำเป็นต่อการควบคุมให้ระดับน้ำตาล
ให้อยู่ในระดับปกติตลอดวัน (ทั้งกลางวัน และกลางคืน)
คนเราแต่ละคนต้องการ basal insulin ในปริมาณที่แตกต่างกัน
โดยมีปัจจัยหลายอย่างเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น ขนาดของกาย ระดับการออกกำลังกาย
ภาวะการณ์เจริญเติบโต ระดับของฮอร์โมน และปริมาณของอินซูลิน ที่ถูกสร้างขึ้นเอง (โดยตับอ่อน)
ในช่วงที่กำลังเจริญเติบโต (จนกระทั้งถึงอายุ 21 ปี ) จะมีระดับอินซูลินสูงตลอดทั้งคืน
ทำไมจึงเป็นเช่นนั้นละ ?
ที่เป็นเช่นนั้น เป็นเพราะในช่วงเวลาดังกล่าว มีฮอร์โมนหลายตัวถูกผลิตออกมา
(growth hormone และ cortisol)
ซึ่งมันจะไปกระตุ้นตับให้ทำหน้าที่ ปลดปล่อยน้ำตาลออกสู่กระแสเลือด
ให้ร่างกายสร้างเป็นพลังงาน เพื่อการเจริญเติบโต
พอผ่านช่วงเจริญวัยไปแล้ว (หลัง 21 ปี) พบว่า ฮอร์โมนทั้งสองจะลดลง
และจะจำกัดอยู่แต่เฉพาะในช่วงเวลาก่อนเวลาฟ้าสาง (predawn) เท่านั้น
ซึ่งจะก่อให้เกิดปรากฏการณ์ฟ้าสาง หรือปรากฏการณ์รุงอรุณแล้วแต่ท่านจะเรียก
เป็นผลจากตับผลิต และปล่อยน้ำตาลสู่กระแสเลือดในช่วงเช้ามืดสูงขึ้น
โดยร่างกายมีปริมาณอินซูลินเพียงพอต่กการจัดการกับระดับน้ำตาลดังกล่าว
นั่นเป็นเรื่องของคนปกติ
สำหรับคนเป็นเบาหวาน
ร่างกายของคนเรา สามารถรับ Basal insulin จากหลายทางด้วยกัน
ทางแรกได้จาก intermediate-acting insulin (NPH) รับวันละครั้ง
ซึ่งมันสามารถครอบคลุมตลอด 24 ชั่วโมง
หลังจากที่คนไข้ได้รับ NPH ยาจะมีความเข็มข้นสูงสุดใน 4- 8 ชั่วโมง
และจะลดลงอย่างมากใน 16- 24 ชั่วโมงหลังจากได้รับยา
สำหรับอินซูลิน Insulin Glargine (Lantus) และ insulin detemir (Levemir)
จะมีความเข้มขันในระดับคงที่ (relatively peakless)ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
มีบางรายที่ความเข็มข้นของยาจะลดลงบ้างในสงสามชั่วโมงแรก
Insulin pumps เป็นการทำให้อินซูลินชนิดออกฤทธิ์เร็ว โดยให้ในปริมาณไม่มากทุกๆ สองสามนาที
ตลอด 24ชั่วโมง การให้อินซูลินแบบนี้ สามารถปรับขนาดให้เข้ากับระดับนำตาลที่ตับสร้างขึ้น
ถ้าระดับน้ำตาลน้อย ก็ลดขนาดลง และเพิ่มตามระดับน้ำตาลที่ตับปล่อยออกมา
Basals Option 1: NPH at bed time
ประโยชน์ที่จะได้รับการเลือกใช้วิธีนี้ เราจะได้ระดับอินซูลินที่มีค่าสูงสุดตอนเวลาก่อนฟ้าสาง (predawn)
ซึ่งเหมาะกับคนที่ต้องการอินซูลินในช่วงดังกล่าว (ระดับน้ำตาลสูงในช่วงเช้า)
แต่ผลเสียของมันเกิดขึ้นได้ โดยมีระดับความเข็มข้นของยาสูงขึ้นในช่วงกลางวัน (Unpredictable)
ส่วนในตอนเย็น ระดับยาจะลด จึงทำให้ระดับน้ำตาลในกระแสเลือดสูงขึ้น
Basals option 2: Glargine or Detemir once daily at bedtime.
ผลดีที่ได้จากการรักษาด้วยวิธีนี้ คือ ระดับของอินซูลินจะคงที่ ไม่แกว่งขึ้น-ลง (relative peakless)
อาจมีความเข็มข้นสูงเล็กน้อยในช่วง 6- 10 ชั่วโมงหลังฉีดยา
การดูดซึมของยาจะคงที่ จะไม่ถูกกระทบด้วยการออกกำลังกาย หรืออุณหภูมิของผิวหนัง
ผลเสียของ การรักษาด้วยวิธีนี้นี้ อาจมีระดับน้ำตาลสูงในตอนกลางคืน (ไม่มี predawn peak)
อาจมีระดับน้ำตาลลดต่ำลงในตอนบ่าย และตอนเย็น (อันเป็นผลจากการรับประทานอาหารช้าไป
หรือระดับของยาที่อยู่ในกระแสเลือด สูงกว่าระดับของน้ำตาล ที่ตับปล่อยออกมา
ในบางราย ระดับของอินซูลิน glargine จะเริ่มลดก่อนถึง 24 ชั่วโมง
เป็นเหตุให้มีระดับน้ำตาลสูงก่อนที่จะได้รับยาฉีดเข็มถัดไป
Baslals option 3: Insulin pump therapy:
Pump therapy เป็นวิธีการรักษา ที่มีความยืดหยุ่นสูง
สามารถปรับ ให้สอดคล้องกับความต้องการ (basal insulin) ของร่างกายได้
เนื่องจากอินซูลินที่คนไข้ได้รับ เป็นชนิด rapid-acting ในขนาดไม่มาก
อัตราการให้ (basal rate) สามารถปรับได้ทุกชั่วโมงตามความการต้องการ
เพื่อให้สอดรับกับระดับน้ำตาลที่ตับปล่อยออกมาตลอด 24 ชั่วโมง
นอกจากนั้น การรักษาด้วยวิธีนี้ ยังสามารถปรับในระยะสั้น ๆ ให้เข้ากับสถานการณ์บางอย่างได้
เช่น ระยะที่คนไข้ไม่สบาย ออกแรงมากหรือน้อย
ระยะที่มีความเครียด หรือระยะที่มีประจำเดือน ซึ่งในระยะดังกล่าว การต้องการของอินซูลินย่อมแตกต่างกัน
Cont. > (3)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น