คนเป็นเบาหวานมาเป็นเวลานาน อาจมาพบแพทย์ด้วยอาการท้องผูก หรือท้องล่วง
อย่างใดอย่างหนึ่ง สลับกัน
ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น ?
คนไขเบาหวานบางราย โดยเฉพาะคนสูงอายุ ซึ่งได้รับการรักษามานาน
ไม่เพียงแต่คนไข้เท่านั้น แม้กระทั้งแพทย์ผู้ทำการดูแลรักษาคนไข้เอง
คงหงุดหงิดกับภาวะดังกล่าวด้วยกัน เดี๋ยวมาด้วยท้องผูก คราวต่อไปท้องล่วง สลับกันไป
สำหรับคนไข้ที่เป็นโรคเบาหวาน นับเป็นที่น่าเห็นใจ และน่าสงสาร
แต่สำหรับแพทย์นี้ซิ จะต้องเข้าใจว่า อะไรทำให้คนไข้เบาหวานเป็นเช่นนั้น
ในคนเป็นเบาหวาน ที่ปล่อยให้น้ำตาลในกระแสเลือดสูงบ่อย ๆ
ปริมาณของน้ำตาลที่สูงนั้นแหละ จะไปเกาะกับเซลล์ต่าง ๆ ทั่วร่างกาย
เมื่อเกาะแล้ว มันจะเกาะติดกับเซลล์ตลอดไป พร้อมกับแปรสภาพเป็นพิษ
และทำลายเซลล์ที่มันไปเกาะ
เส้นประสาทที่ไปหล่อเลี้ยงลำไส้ อาจถูกกระทบกระเทือน ถูกทำลายไป
ทำให้การทำงานของมันเสียไปซึ่งนำไปสู่ความผิดปกติในการทำงานของลำไส้
ทั้งการเคลื่อนไหว (motility) การขับน้ำย่อย (secretion)
รวมไปถึงการดูดซับอาหาร (absorption)
ซึ่งทำให้คนไข้เกิดอาการต่าง ๆ ขึ้นมา
เช่น ปวดบริเวณส่วนกลางของท้อง (central abdominal pain)
ท้องอืดท้องเฟ้อ (bloating) และท้องล่วง (diarrhea)
การที่มีเก็บกักสิ่งของ เช่นน้ำ และอาหาร ไว้ในบริเวณลำไส้ เล็ก ในแริมานมาก ๆ
ไม่สามารถขับเคลื่อน ให้ผ่านไปตามกระบวนการของมัน (delay emptying And stagnation)
เป็นให้มีการขยายพันธุ์ของเชื้อแบกทีเรีย เกิดการแบ่งตัว และเจริญอย่างมากมาย
(bacterial overgrowth Syndrome)
เป็นเหตุ ทำให้คนไข้เบาหวานมีอาการปวดท้อง และท้องล่วง
การยาพวก Metoclopropamide อาจช่วยเร่งให้เศษอาหารในลำไส้เล็ก เคลื่อนผ่านได้สะดวกยิ่งขึ้น
ส่วนยาปฏิชีวนะ broad spectrum antibiotc) สามารถลดระดับของ “แบกทีเรีย” ลงได้
การวินิจฉัยโรคเป็นเรื่องลำบากพอสมควร เช่นการทำ Breath hydrogen testing
และ (14C)-D xylose test อาจช่วยวินิจฉัยภาวะ bacterial overgrowth ได้
แต่จากประสบการณ์ในการใช้ antibitotic สามารถนำมาใช้รักษาคนไข้ที่มีอาการดังกล่าว
ก็เพียงพอต่อการวินิจฉัยภาวะดังกล่าวได้
ยาที่แพทย์นำมาใช่รักษา ซึ่ใช้ได้ผลดี ได้แก่ tetracycline ciprofloxin ...
การให้ short course อาจทำให้อาการดีขึ้น และหายไปเป็นเวลานานได้
บางครั้ง คนเป็นเบาหวาน และมีโรคทางลำไส้จากเส้นประสาทเสื่อม (enteric neuropathy)
อาจมีอาการปวดท้องเรื้อรังได้ เป็นเหมือนกับพวก peripheral neuropathy
ที่เกิดขึ้นทีบริเวณของเท้า
พวกนี้อาจยากแก่การรักษา
แต่งบางครั้ง คนไข้จะตอบสนองต่อ ยารักษาอาการปวด (pain medications)
และตอบสนองต่อยา antidepressant medications เช่น amitryptyine
และอาจติดยาแก้ปวดได้ (narcotic addiction)
www.journal.diabetes.org./clinicaldiabetes/V18N42000pg148.htm
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น