หากท่านกำลังรับประทาน "ยา" อย่างใดอย่างหนึ่ง ...
มีคำแนะนำจาก Maryland university Medical center ให้พิจารณาว่า
อย่าได้รับประทานอาหารเสริมที่มี “แคลเซียม” ร่วมกับยาที่กำลังจะเสนอ
โดยไม่ได้บอกให้แพทย์ได้รับทราบ เพราะผลเสียอาจเกิดขึ้นแก่ท่านได้มากกว่าผลดี
เช่น :
o Alendronate เป็นยาที่แพทย์เขาสั่งให้คนสูงอายุ เพื่อใช้รักษาโรคกระดูกพรุน
หากท่านรับประทานยา “แคลเซียม” ซึ่งส่วนใหญ่ สตรีผู้สูงวัยชอบรับประทานกันเป็นประจำ
สารแคลเซียมที่ให้พร้อมกันนั้น จะไปรบกวนการดูดซึมยา “alendronate”
แทนที่ท่านจะได้รับยา alendronate ในปริมาณที่พียงพอต่อการรักษากระดูกพรุน
ท่านกลับไม่ได้ยาในปริมาณที่พียงพอ เพราะถูกขัดขวางโดยสาร "แคลเซียม" ไปซะนี่
ดังนั้น การที่ท่านจะใช้อาหารที่มีแคลเซียมเป็นส่วนประกอบด้วยนั้น
ท่านควรรับประทานก่อน หรือหลัง การให้ alendronate อย่างน้อย 2 ชั่วโมง
o ยาลดกรดในกระเพาะ ซึ่งมีสาร aluminum เป็นส่วนประกอบ...
ถ้าท่านรับประทาน calcium citrate ร่วมกับยาลดกรดให้กระเพาะ ซึ่งมีส่วนประสม
ของ aluminum ดังกล่าว สารแคลเซียมจะทำให้มีปริมาณของ aluminum
ถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดในปริมาณสูง ซึ่งทำให้เกิดเป็นพิษแก่ร่างกายของท่านได้
จงละเว้นเสีย
o ยาลดความดันโลหิต (Blood pressure medications)
การรับประทานยาในกลุ่ม beta-blocker เช่น “atenolol” ร่วมกับ “แคลเซียม”
จะมีผลกระทบกับปริมาณของสารทั้งสองในกระแสเลือดได้
ได้มีรายงานว่า การรับประทาน “แคลเซียม” และ verpamil ร่วมกัน
จะมีผลกระทบต่อระดับของยาในกระแสเลือดเช่นเดียวกัน
แม้ว่า จะมีข้อโตแย้ง (controversial)ในเรื่องดังกล่าวก็ตามที...
เพื่อความปลอดภัย และเป็นประโยชน์แก่ตัวท่านเอง
ท่านควรปรึกษาแพทย์ของท่าน
o ยาลดไขมันในเลือด (Cholesterol-lowering medications)...
ยาลดไปไขมันที่เป็นพวก bile acid Sequestrants จะกระทบกับระดับของแคลเซียม
โดยการขับถ่ายออกทางปัสสาวะเพิ่มขึ้น ทำให้มีการสูญเสียแคลเซียมไป
ในกรณีดังกล่าว จึงแนะนำให้ให้มีการเสริมด้วย vitamin D และ แคลเซียมเพิ่มขึ้น
o Corticosteroids....ในกรณีที่ท่านต้องใช้สาร corticosteroids
ในระยะยาว ท่านควรได้รับสารแคลเซียมเสริมด้วยเสมอ
o Digoxin.... เป็นยาที่แพทย์ใช้รักษาโรคหัวใจ (Irregular heart beats)
หากในเลือดมีสารแคลเซียมในปริมาณสูง มันจะเพิ่มอัตราเสี่ยงต่อการเกิดปฏิกิริยาเป็นพิษของยา ได้
ในขณะเดียวกัน หากระดับแคลเซียมในเลือดต่ำ ก็จะทำให้ผลของ digoxin ไม่ดี
ดังนั้น ในกรณีที่ท่านต้องรับประทาน digoxin
แพทย์เขาจะตรวจวัดระดับของแคลเซียมอย่างไกล้ชิด เพื่อหลีกเลี่ยงกรณีดังกล่าว
o Diuretics…ยาขับปัสสาวะชนิดต่าง ๆ ทำปฏิกิริยาในรูปแบบที่แตกต่างกัน
๐ - Thiazide diuretics (hydrochlothiazide) จะเพิ่มระดับแคลเซียมในกระแสเลือด
๐ - Loop diuretics ( furosemide และ bumetanide) สามารถลดระดับแคลเซียมลง
๐ - Potassium-sparing diuretics (Amiloride) จะลดการขับถ่ายแคลเซียมทางปัสสาวะ
โดยเฉพาะในคนไขที่มีนิ้วในไต (kidney stone) เป็นเหตุให้มีแคลเซียมในกระแสเลือดสูง
o Estrogens…estrogen อาจทำให้ระดับของแคลเซียมในกระแสเลือดสูงขึ้น
การให้แคลเซียมร่วมกับ estrogen จะป้นผลดีในแง่ที่ทำให้กระดูกมีความหนาแน่นเพิ่มขึ้น
(เป็นเรื่องดี)
o Gentamycin…การรับประทานแคลเซียมร่วมกับ gentamycin antibiotics
อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดพิษต่อไตได้
o Antibiotics…ปฏิชีวนะชนิดต่างๆ จะมีปฏิกิริยากับแคลเซียมได้:
๐ Quinolone: สารแคลเซียมเอง จะกระทบกับการดูดซึมของ Quinolone antibiotis
(ciprofloxacin , levofloxacin,norfloxacin และ ofloxacin)
ในกรณีที่ท่านต้องใช้ยาดังกล่าว ควรรับประทานให้ห่างออกไปประมาณ 2-4 ชั่วโมง ก่อนหรือหลังก้ได้
๐ Tetracycline: สารแคลเซียม จะกระทบต่อการดูดซึมยาปฏิชีวนะชนิดนี้เช่นเดียวกัน
ควรรับประทานแคลเซียมห่างจากยา tetracycline 2 – 4 ชั่วโมง (ก่อน หรือหลัง)
o Anti-seizers medications…
ยาที่นำมาใช้รักษาอาการชัก เช่น phenytoin (Dilantin) carbamazepine,
Phenobarbital และ primodol อาจลดระดับของแคลเซียมในร่างกายลง
ในกรณีที่ต้องได้รับยาพวก anti-seizers แพทย์มักจะให้สารแคลเซียมร่วมด้วยเสมอ
เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ระดับของแคลเซียมลดลง และควรให้ห่างกันอย่างน้อย 2 ชั่วโมง
เพราะมันกระทบกับการดูดซึมซึ่งกันและกันได้
www.umm.edu/altmed/article/calcium-000945.htm
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น