วันจันทร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2554

Diabetes treatment : Medications DM2

ในการดุแลรักษาคนเป็นเบาหวาน
เราจะพบว่า การดำเนินชีวิตให้มีสุขภาพดี เป็นเป้าหมายสำคัญของการรักษาโรคเบาหวาน
ซึ่งมันครอบคลุมเรื่อง- อาหารการกิน การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
และควบคุมน้ำหนักตัว ให้อยู่ในระดับปกติ

ถ้าหากคุณเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ท่านอาจจำเป็นต้องได้รับยารักษา
บางครั้ง การใช้ยาเพียงตัวเดียว ก็เพียงพอแก่การรักษา
แต่ในกรณีอื่น ๆ อาจจำเป็นต้องใช้ยาหลายตัวร่วมกัน

เนื่องจากมียาอยู่หลายกลุ่ม ที่แพทย์เรานำมาใช้ในการรักษา
จึงมีโอกาสทำให้เกิดความสับสนขึ้นได้

ยาเบาหวาน ที่เรานำมาใช้รักษาโรคเบาหวานชนิดที่ 2
มีหลายกลุมด้วยกัน เช่น

Alpha-glucosidase inhibitor, amylin agonists,
dipeptidyl-peptidase 4 (DPP-4) Inhibitors,meglitinides,
sufonylureas และ thiazolidinedonions

ยาในแต่ละกลุ่ม มีการทำงานต่างกัน บางตัวสำหรับรับประทาน บางตัวสำหรับฉีด

ยาที่ใช้รักษาดังกล่าว ทำงานได้แตกต่างกัน โดยมีเป้าหมายในการลดระดับน้ำตาลในกระแสเลือดลง

ยาอาจทำงานโดย

• กระตุ้นตับอ่อนให้ทำการสร้าง และปล่อยฮอร์โมนอินซูลิน ให้มีจำนวนเพิ่มขึ้น

• ยับยั้งการสร้าง และการปล่อยน้ำตาลจากตับ ซึ่งจะทำให้ร่างกายเรา
ไม่ต้องใช้จำนวนอินซูลิน เพื่อจัดการกับน้ำตาลให้เข้าสู่เซลล์มากนัก

• ขัดขวางการทำงานของเอ็นไซม์ของกระเพาะอาหาร ในกระบวนการย่อยสลาย
(breakdown) พวก คาร์โบไฮเดรต หรือ ช่วยทำให้เนื้อเยื่อของเราไวต่อสารอินซูลิน

ยาที่เรานำมาใช้ในการรักษาเบาหวาน ได้แก่:

Dipeptidyl-peptidase 4 (DPP-4) inhibitors:

ยาในกลุ่มนี้ได้แก่ Saxagliptin (Onglyza) Stagliptin(Januvia)
ใช้รับประทาน ผลดี คือไม่ทำให้มีการเพิ่มน้ำหนักตัว
สวนผลเสีย อาจทำให้เกิดมีการอักเสของทางเดินของลมหายใจ เจ็บคอ ปวดศีรษะ
สำหรบยา Sitagyptin (Januvia) ได้มีรายงานว่า มีส่วนร่วมกับการทำให้เกิด
การอักเสบของตับอ่อนอย่างรุนแรง

Glucagon-like peptide 1 (GLP-1) agonists

ยาทีมีใช้ในกลุ่มนี้มี Exenaide (Byetta)
เป็นยาสำหรับฉีด ส่งเสริมให้เกิดลดน้ำหนักตัวลง ผลเสีย อาจทำให้เกิดอาการคลื่นไส้
ปวดศีรษะ วิงเวียน มีเพียงส่วนน้อยที่ทำให้เกิดโรคไตวายได้
เป็นยาที่ใช้ฉีดวันละสองครั้ง

Meglitinides:

ยาในกลุ่มนี้ได้แก่ Repaglinide(Prandin) Nateglinide(Stalix)
เป็นยาเม็ดรับประทาน ออกฤทธิ์ได้เร็ว ผลเสียอาจทำให้เกิดน้ำตาลลดต่ำกว่าปกติ
และทำให้น้ำหนักตัวเพิ่ม
ใช้รับประทาน 3 เวลาต่อวัน

Sulfonylureas:

ยาที่ใช้ในกลุ่มนี้ ได้แก่ Glipizide (Glucotrol) Glimepiride(Amaryl)
Gltburide (Glynase,Diabeta)
เป็นยาเม็ดรับประทาน สามารถใช้รักษาเพียงชนิดเดียว หรือใช้ร่วมกับยาตัวอื่น ออกฤทธิ์ได้ไว
ผลเสียของมันได้แก่ ทำให้น้ำตาลลดต่ำ โดยเฉพาะจเกิดในรายไม่รับประทานอาหารตามปกติ
มีอาการข้างเคียง ทำให้คลื่นไส้ และน้ำหนักเพิ่มขึ้น

Medications ซึ่งทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของอินซูลินดีขึ้น ได้แก่:

o Metformin (Glucophage) เป็นยาเม็ดรับประทาน เป็นยาที่ดี
ทีไม่ทำให้มีการเพิ่มน้ำหนักตัว อาจลดระดับไขมันเลว LDL cholesterol
และ triglyceride ในกระแสเลือดได้ ผลเสียที่เกิดขึ้น
คือ อาจทำเกิดอาการคลื่นไส้ ท้องล่วง และอาจทำให้มีสะสมระดับกรด lactic
ทำให้เกิด Lactic acidosis ได้...โชคดีตรงที่มันไม่ค่อยจะเกิด

o Thiazolidinediones:

ยาที่มัใช้ในกลุ่มนี้ ได้แก่ Pioglitazone (actos) และ Rosiglitazone (Avandia)
ทั้งสองเป็นยาเม็ดรับประทาน จะเพิ่มระดับ HDL cholesterol ได้เล็กน้อย
ส่วนผลเสีย ทำให้เกิดอาการบวม เพิ่มน้ำหนักตัว ซึ่งสามารถนำไปสู่การเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวได้
มันอาจเพิ่มระดับ LDL cholesterol และเพิ่มอัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจล้มเหลว

ซึ่งมีรายงานจากการใชยา Avandia ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนขึ้นกับหัวใจ
ส่วนยา Actos ยังไม่มีปัญหาในเรื่องดังกล่าว
นอกจากนั้น ยาในกลุ่มนี้ อาจก่อให้เกิดปัญหากับตับได้ (น้อยมาก)

Medications that affects food absorption:

ยาในกลุ่มนี้ได้แก่
Alpha-glucosidase inhibitors. มียาสองตัวที่ถูกนำมาใช้
ได้แก่ Acarbose(Precose) และ Maglitol (Glyset)
เป็นยาเม็ดรับประทาน ไม่ทำให้มีหนักตัวเพิ่ม
ผลเสียจากยาในกลุ่มนี้ได้แก่ เกิดอาการคลื่นไส้ และท้องล่วง และต้องรับประทานสามเวลาต่อวัน

เราจะใช้ยารักษาตัวใหนดี ?

ความจริงมีว่า ไม่มียาตัวใดเป็นยาที่ดีที่สุดสำหรับท่านหรอก
ยาบางตัวใช้ได้ผลดีสำหรับคนหนึ่ง แต่พอใช้กับอีกคนกลับปรากฏว่า ไม่ได้ผลเลย
ด้วยเหตุผลนี้เอง แพทย์ผู้ทำการรักษา จึงมีบทบาทต่อการให้คำแนะนำ และประเมินผล...

แพทย์เขาสามารถให้คำแนะนำ ให้ความช่วยเหลือท่าน เปรียบเทียบผลดี และผลเสียของยา
ตลอดรวมถึงพิจารณาตัดสินว่า ยาตัวใดเหมาะสมกับโรคของท่าน
บางครั้ง การใช้สาร "อินซูลิน" อาจจำเป็นต่อการรักษาโรคเบาหวานของท่านก็ได้

นอกเหนือไปจากยารักษาแล้ว ยังมีอะไรอีกหลายอย่าง ที่ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ายารักษาเลย
นั่นคือ การรับประทานอาหารสุขภาพ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
รวมไปถึงการควบคุมน้ำหนักตัว ไม่ให้น้ำหนักตัวเกิน
ซึ่งนั่นเป็นวิธีการช่วยควบคุมรักษาโรคเบาหวานได้เป็นอย่างดี

ตามความเป็นจริงแล้ว การปรับพฤติกรรมในการดำเนินชีวิตของท่าน อาจลด
หรือกำจัดยารักษา ออกจากการรักษาเบาหวานได้
ซึ่งหมายความว่า รักษาเบาหวานโดยไม่ต้องใช้ยานั่นเอง


www.mayoclinic.comhealth/diabetes-treatment/DA00089

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น