10/30/12
หากเราสามารถเข้าใจธรรมชาติ...ได้อย่างลึกซึ้ง
และสามารถปฏิบัติตนให้คล้อยตามธรรมชาติได้ ความยุ่งยากคงไม่เกิดขึ้น
การพูดเช่นนั้น รู้สึกวา จะเป็นการพูดที่กว้างเกินไป
ลองมาจำกัดวงให้แคบลง
โอกาสของคนที่จะเกิดติดเชื้อ HIV ได้ เป็นผลมาจากพฤติกรรมของคนเป็นประการสำคัญ
ไม่ปฏิบัติตนให้เป็นไปตามธรรมชาติ...
ยกตัวอย่าง เช่น
ทำการฉีดยาตาง ๆ หรือสาร steroids หรือใช้อุปกรณ์ร่วมกับคนอื่น ๆ
(เช่น เข็มฉีดยา กระบอกฉีดยา หรือทำงานร่วมกับคนที่เป็นโรค)
มีเพศสัมพันธ์กับกับคนอื่น ทั้งเพศเดียวกัน(ชาย กับชาย) ต่างเพศ (ชาย กัยหญิง๗
กับคนที่ไม่รู้จัก โดยไม่มีการปกป้องตนเอง แลกเปลี่ยนคู่นอน (exchange sex)
หรือเที่ยวหญิงให้บริการ
ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น วัณโรค (TB) ตับอักเสบ (hepatitis) หรือโรค STDs
(sexual transmitted diseases) และ syphilis อยู่ก่อนแล้ว
ท่านได้ร่วมสัมพันธ์กับคนที่เป็นโรคตามที่กล่าว จะทำให้ท่านมีโอกาสที่จะเกิดโรค HIV infection ได้
ซึ่ง ท่านควรได้รับการตรวจเลือดเพื่อความปลอดภัยของท่านเอง
นอกจากนั้น ท่านจะต้องศึกษาถึงผลที่เกิด ตลอดรวมไปถึงการเรียนรู้เรื่องเพศสัมพันธ์ให้ดี
สำหรับสตรี ที่วางแผนที่จะตั้งครรภ์ ยิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะท่านที่ติดเชื้อ HIV แล้ว
การให้ยา antiretroviral medicienes สามารถลดโอกาสที่จะแพร่เชื้อโรคสู่ทารกในครรภ์ได้
สตรีทุกคนที่มีครรภ์ ควรตรวจหาเชื้อไวรัส... ทุกราย
ปัญหาที่เราต้องการรู้- หลังการสัมผัสคนที่เป็นโรค HIV
เราควรรอนานเท่าใด จึงตรวจพบเชื้อในกระแสเลือด ?
การตรวจ HIV tests ส่วนใหญ่เป็นการตรวจหา antibodies
ซึ่งร่างกายของคนเป็นโรคได้สร้างขึ้น เพื่อต่อต้านเชื้อ HIV
ในการสร้างสารต้านทาน (antibodies) ดังกล่าว จำเป็นต้องอาศัยเวลาพอสมควร
โดยใช้เวลาแตกต่างกัน จากคนหนึ่ง สู่คนหนึ่ง
และระยะเวลาที่เชื้อเข้าสู่ร่างกาย ถึงเวลาที่ร่างกายสร้าง antibody เรียก window period
คนส่วนใหญ่ที่ได้รับโรคมี window period 2 – 8 อาทิตย์ (เฉลี่ย 25 วัน)
จึงสามารถตรวจพบ antibody ได้
มีบางรายต้องใช้เวลานานกว่านั้น
ในกรณีที่ท่านตรวจได้ผลเป็นลบ หลังจากสัมผัสคนเป็นโรค HIV infection
ท่านควรทำการตรวจซ้ำอีกครั้งภายในเวลา 3 เดือน
ประมาณ 97 % ของคนที่เกิดการอักเสบจากเชื้อไวรัส
จะตรวจพบ antibody ภายในเวลา 3 เดือน ส่วนน้อย จะตรวจพบในเวลา 6 เดือน...
การตรวจอีกอย่างหนึ่ง คือ RNA test เป็นการตรวจหาตัว HIV virus โดยตรง
ระยะเวลาที่มี HIV infection กับเวลาที่ตรวจพบ RNA 9 – 11 วัน
เป็นการตรวจที่มีราคาแพงมาก และใช้เฉพาะบางส่วนของสหรัฐฯ เท่านั้น
www.hivtest.org
วันอังคารที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2555
Asthma: Treatment
10/30/12
Drug Treatment: Controllers And Relievers
Drug Treatment: Controllers And Relievers
เมื่อนานมาแล้วนี้ เราพบว่า...
คนไข้ที่ทรมานจากโรคหืด จะใช้ยารักษาอาการของเขาเพียงกลุ่มเดียวเท่านั้น
นั้นคือ ยาขยายหลอดลม- bronchodilators
ซึ่งมันจะออกฤทธิ์ด้วยการทำให้ทางเดินของลมหายใจขยายตัว
แต่มาวันนี้ เมื่อเราได้เข้าใจว่า ต้นเหตุของอาการโรคหืดมาจากการอักเสบ
(inflammation) จึงมีการเพิ่มยาอีกตัวให้แก่คนไข้
เพื่อทำหน้าที่ควบคุมการอักเสบ ซึ่งเป็นตัวนำไปสู่การเกิดอาการของโรคหืด
โดยท่านอาจจำเป็นต้องใช้ยาถึงสองกลุ่มด้วยกัน กลุ่มแรก ทำหน้าที่ควบคุม
หรือป้องกันไม่ให้โรคหืดของท่านสำแดงฤทธิ์ออกมา
และยากลุ่มที่สอง จะทำหน้าที่ช่วยทำให้ท่านหายใจดีขึ้น
เมื่ออาการของโรคหืดปรากฏขึ้น
ที่ถูกต้อง...เราน่าจะกล่าวว่า ยาที่ใช้ในการรักษาโรคหืดน่าจะใช้คำว่า
ยาสำหรับควบคุมโรค (controllers) และยารักษาอาการ(relievers)
Controllers คือยาใช้จัดการกับอาการอักเสบ (inflammation)
ซึ่งเป็นต้นตอของโรคหืด ส่วน relievers
คือยาที่ใช้รักษาอาการของโรคหืดที่เกิดขึ้น
เมื่อการอักเสบถูกควบคุมได้ การหดเกร็งของทางหลอดลม (bronchospasm)
ไม่น่าจะเกิดขึ้น ส่วนใหญ่แล้ว ยาในกลุ่ม controllers สามารถจัดการ
และป้องกันไม่ให้เกิดการอักเสบ เกิดในทางเดินของลมหายใจในคนเป็นโรคหืด
ส่วนยาตัวอื่นๆ ซึ่งไม่มีผลกระทบต่อการอักเสบเลย
แต่ถูกใช้ให้ทำงานตลอดเวลา ด้วยการทำให้กล้ามเนื้อของทางเดินลมหายใจ
เกิดการคลายตัว (relax) ซึ่งเป็นอีกวิธีหนึ่ง ที่ยาดังกล่าวสามารถป้องกันไม่ให้
ทางเดินของลมหายใจเกิดการหดเกร็ง เมื่อมีอาการแพ้เกิดขึ้น
ตามปกติแล้ว ยาในกลุ่ม controllers จะต้องใช้ทุกวัน
โดยไม่ต้องไปคำนึงว่าจะเกิดมีอาการหรือไม่
มีคนเป็นโรคหืดบางคนเข้าใจผิดว่า...
เมื่อไม่มีอาการแล้ว และรู้สึกสบาย เขาจะต้องหยุดยากลุ่มควบคุม (controllers)
ทันที นั่นเป็นความเข้าใจผิดถนัด เพราะการหยุดยากลุ่มดังกล่าว
จะทำให้การอักเสบกลับเป็นขึ้นมาอีก พร้อมกับมีอาการของโรคหืดหอบเกิดขึ้น
ยาในกลุ่มทำหน้าที่ควบคุมโรค (controllers) ได้แก่:
Corticosteroids:
จัดเป็นยาสำหรับลดการอักเสบได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด ที่เรานำมาใช้ควบคุม
โรคหืดในระยะยาว จะเป็นยาพ่น (inhaled corticosteroids)
สำหรับยาเม็ดรับประทาน สามารถใช้ในขนาดสูง ๆ
เพื่อหวังควบคุมโรคเป็นเวลาหลายวัน
และถูกนำมาใช้ในขณะที่มีอาการกลับเป็นขึ้นมาอีก (flare up)
นอกจากนั้น ยาเม็ดรับประทานในกลุ่มนี้ จะถูกใช้ในระยะยาว
เพื่อควบคุมโรหืดที่มีความรุนแรง
Cromolyn sodium & nedocromil:
เป็นยาลดการอักเสบ (anti-inflammatory drugs)
อาจถูกนำมาใช้รักษาโรคในเด็กที่เป็นโรคหืดในระยะยาง และถูกนำมาใช้ใน
กรณีก่อนออกกำลังกาย หรือก่อนที่จะสัมผัสถูกตัวกระตุ้นให้เกิดอาการ
ยาตัวนี้มีฤทธิ์ไม่เทียบเท่ายากลุ่ม corticosteroid inhalers
แต่จะเป็นยาที่เหมาะกับคนไข้ ที่มีอาการไม่รุนแรง (mild symptoms)
Long-acting beta-2 agonists:
ยาในกลุ่มนี้ จะทำหน้าที่ขยายทางเดินของลมหายใจ (bronchodilatators)
จะถูกใช้ร่วมกับยาลดการอักเสบในระยะยาว
โดยเฉพาะในรายที่มีอาการในตอนกลางคืน
ยาในกลุ่มนี้ได้แก่ salmeterol (Serevent), fromotero (Foradil) และ
ยาร่วมระหว่าง salmeterol กับ corticosteroid (Advair)
ในการใช้ยาในกลุ่มนี้ ได้รับคำเตือนจาก FDA ในปี 2005 ว่า...-
ยาดังกล่าว สามารถทำให้คนไข้เกิดมีอาการรุนแรง อาจถึงเสียชีวิตได้
แต่เนื่องจากมันเกิดได้น้อยมาก และมีผลทางการรักษาได้ผลดีมาก
ดังนั้น ผู้เชี่ยวชาญจึงแนะนำให้ใช้ยาในกลุ่มนี้นี้ต่อไป
Methyxanthines:
เป็นยา theophylline ที่ออกฤทธิ์ได้นาน มีฤทธิ์ทำให้ทางเดินหายใจขยาย
ตัว (bronchodilatator) อาจถูกนำมาใช้ร่วมกับยา inhaled corticosteroid
เพื่อป้องกันไม่เกิดมีอาการในตอนกลางคืน
ยาในกลุ่ม Methylxanthines เช่น theophylline จะไม่ค่อยใช้ในผู้ใหญ่
เพราะเป็นยาที่ผลข้างเคียง ซึ่งทำให้หัวใจทำงานหนักขึ้น
และเนื่องจาก มันสามารถทำปฏิกิริยากับยาตัวอื่นๆ ที่ใช้เป็นประจำ
และนำไปสู่ผลข้างเคียงต่างๆ ได้
Leukotriene modifiers:
ยาในกลุ่มนี้ได้แก่ Zafirlukast, zileuton หรือ montelukast
อาจถูกนำมาใช้ เพื่อลดขนาดของยา inhaled corticosteroids ในคนไข้เด็ก
เล็กที่มีอายุต่ำถึง 1 ปี แต่ไม่ควรใช้ในเด็กทั่วไป
ทั้งนี้เป็นเพราะ ยา corticosteroid inhalers เป็นยาที่มีประสิทธิภาพสำหรับ
ใช้ในการควบคุมโรคได้เป็นอย่างดี (controllers)
Immunotherapy
การฉีดสารที่ก่อให้เกิดภิแพ้ (allergy shots)…
สามารถมีประโยชน์ในคนไข้บางราย ที่โรคหืดหอบชนิดที่เกิดจากการแพ้
(allergic asthma) โดยเฉพาะโรคหืดถูกกระตุ้นด้วยสารก่อให้เกิดอาการ
แพ้ (ไรฝุ่น, ขนสัตว์, เกษรดอกไม้, รังแคสัตว์)
การฉีดสารที่ก่อให้เกิดอาการภูมิแพ้เข้าใต้ผิวหนังทีละน้อย(allergy shots)
จะเปลี่ยนวิธีของระบบภูมคุ้มกันให้มีต่อตัวที่ก่อให้เกิดอากาแพ้
ซึ่งจำทำให้มีอาการน้อยลง
ยา Omalizumab (Xolair) ถูกนำมาใช้ในการบล็อกผลของ IgE antibodies
ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของปฏิกิริยาที่เกิดจากการแพ้...
ยาชนิดนี้ ได้รับการยอมรับให้ใช้ในการรักษา คนไข้โรคหืดหอบ (asthma)
ซึ่งไม่ตอบสนองต่อยาในกลุ่ม corticosteroids
อย่างไรก็ตาม ยาตัวนี้ไม่ค่อยจะได้ใช้กันมากนัก
เพราะมันมีราคาแพงมาก และไม่สะดวกต่อการนำมาใช้ในการรักษา
ยารักษาอาการ (Relievers)
ยารักษาอาการของโรคหืด จะมีบทบาทที่แตกต่างจากยาในกลุ่มควบคุมโรค
(controllers) โดยที่ยาในกลุ่ม relievers สามารถเปลี่ยนอาการของคนไข้
ได้ง่ายกว่า ซึ่งยาในกลุ่มนี้ จะทำให้หลอดลมที่หดแคบลงเพราะการอักเสบ
หรือจากการละคายเคือง เกิดการขยายตัวด้วยการทำให้กล้ามเนื้อของหลอด
ลมคลายตัว
ยาในกลุ่ม relievers… มีให้เราใช้ในรูปของยาพ่นเข้าปาก (inhalers)
หรือให้การรักษาด้วยการหายใจเอาละอองน้ำที่มียาขยายหลอดลม
(nebulisers) ยาในกลุ่มนี้ ได้แก่:
Short-acting beta-2 agonists:
ยาในกลุ่มนี้ ได้แก่ albuterol และ pributerol
จัดเป็นยาที่ถูกเลือกให้ใช้ เพื่อลดอาการของโรคหืดชนิดอย่างเฉียบพลัน
และสามารถใช้ป้องกันอาการหืด ซึ่งเกิดจากการออกกำลังกาย
Anticholinergics:
ยาในกลุ่มนี้ได้แก่ Ipratropium bromine ( Atrovent)
อาจเพิ่มประสิทธิผลให้กับยากลุ่ม short-acting beta- 2 antagonist
สำหรับรักษาโรคหืดที่มีความรุนแรง
อาจเป็นตัวเลือก สำหรับรายที่ไม่สามารถทนต่อการใช้ inhaled short-
Acting beta-2 agonist
http://www.intelihealth.com/
Asthma: About diagnosis
10/30/12
ในการวินิจฉัยโรคหืด (asthma)...
ในบางครั้งอาจทำให้เราวินิจฉัยได้ช้า เพราะการมีอาการหืดเพียงครั้ง
หรือสองครั้ง อาจไม่เพียงพอต่อการเป็นรูปแบบของโรคหืดหอบได้
เพราะมีโรคหลายอย่างของระบบหายใจซึ่งสามารถทำให้เกิดอาการเช่นนั้นได้
หรือสองครั้ง อาจไม่เพียงพอต่อการเป็นรูปแบบของโรคหืดหอบได้
เพราะมีโรคหลายอย่างของระบบหายใจซึ่งสามารถทำให้เกิดอาการเช่นนั้นได้
เช่น หลอมลมอักเสบ (bronchitis),
โรคถุงลมโป่งพอง (emphysema) หรือ โรคนิวมอเนีย (Pneumonia) เป็นต้น...
มีบางคนอาจไม่ได้สนใจว่า...
โรคถุงลมโป่งพอง (emphysema) หรือ โรคนิวมอเนีย (Pneumonia) เป็นต้น...
มีบางคนอาจไม่ได้สนใจว่า...
ตนเองเป็นโรคหืด เป็นเหตุให้เขาไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสม
ในการวินิจฉัยโรคได้ถูกต้อง....
แพทย์จะอาศัยประวัติการเกิดโรค และการตรวจร่างกายโดยละเอียด
มีการตรวจสอบการหายใจ และบางทีตรวจดูภาพเอกซเรย์ปอด
ในปัจจุบัน เราไม่มีการตรวจเฉพาะเพื่อใช้วินิจฉัยโรคหืด
สำหรับรายที่เป็นไม่มาก (mild cases) การตรวจด้วยวิธีการรักษาด้วยพ่นยา
และสูดหายใจเอายาขยายทางเดินลมหายใจ...
อาจเป็นวิธีการวินิจฉัยโรคหืดก็ได้
การตรวจความสมารถในการหายใจ (Breathing tests)
ในห้องปฏิบัติการณ์
ในห้องปฏิบัติการณ์
ซึ่งเราเรียกว่า pulmonary function tests
สามารถบอกให้เราได้รู้ว่า
ท่านสามารถหายใจเข้าปอดได้ง่ายแค่ไหน
และทำให้ปอดแฟบได้ดีแค่ใด?
สามารถบอกให้เราได้รู้ว่า
ท่านสามารถหายใจเข้าปอดได้ง่ายแค่ไหน
และทำให้ปอดแฟบได้ดีแค่ใด?
วิธีการตรวจจำเป็นต้องให้ท่านหายใจอย่างแรง (เท่าที่คุณสามารถทำได้)
จึงจะได้ข้อมูลที่ถูกต้อง การตรวจชนิดนี้เราเรียก Spirometry
Spirometry เป็นชื่อของการตรวจการหายใจ
เป็นการตรวจวัดดูความเร็วของอากาศที่ไหลผ่านหลอดลม ซึ่งกระทำได้โดยให้คนไข้
ทำการเป่าลมออกจากปอดอย่างแรง และเร็วภายในหนึ่งวินาที
ทำการเป่าลมออกจากปอดอย่างแรง และเร็วภายในหนึ่งวินาที
วิธีการตรวจวัดปริมาณของอากาศที่อยู่ในปอด (Lung volume tests)…
เป็นการตรวจดูปริมาณของอากาศ ที่ปอดของท่านสามารถสูดเข้าสู่ปอด
ได้เต็มที่ พร้อมกับการตรวจดูว่า ปอดปล่อยลมหายใจออกได้หมดหรือไม่ ?
เครื่องมือที่มีชื่อเรียก peak-flow monitor…
จัดเป็นเครื่องมือที่เรียบง่าย ซึ่งท่านสามารถใช้ตรวจที่บ้านของท่าน
หรือที่คลินิกได้ และผลที่ได้ จะเหมือนกับการตรวจ spirometry
โรคหืด (ASTHMA)
โรคหืดจัดเป็นเรื้อรังชนิดหนึ่ง
ซึ่งมีความผิดปกติที่ทางเดินของหลอด- เกิดแคบ และบวม
และมีมีการปล่อยน้ำเมือกออกมามากผิดปกติ ทำให้เกิดอาการหายใจลำบาก, ไอ, หายใจมีเสียงหวีดและหายใจติดขัด (หายใจสั้น และถี่)
ในบางคน อาการของโรคที่เกิดขึ้น ไม่รุนแรง เป็นแค่ก่อให้เกิดรำคาญเท่านั้น
แต่ในรายอื่น อาการที่เกิดขึ้น
มักจะมีอาการรุนแงถึงขั้นทำให้
วิถีชีวิตปลี่ยนไป
มักจะมีอาการรุนแงถึงขั้นทำให้
วิถีชีวิตปลี่ยนไป
โรคดังกล่าวเป็นโรคที่ไม่มีทางรักษาให้หายขาดได้
แต่เป็นโรคที่สามารถควบคุมได้ และเนื่องจากโรคมีการเปลี่ยน
แปลงตามเวลาที่ผ่านไป การปรับเปลี่ยนวิธีการรักษาจึงเป็นเรื่อง
ที่สำคัญ
เราจะวินิจฉัยโรค
ในการวินิจฉัยโรคหืดก็เหมือนกับการวินิจฉัยโรคอื่น ๆ
ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยข้อมูลที่ได้จากการซักประวัติความเจ็บป่วย
มีการตรวจร่างกาย มีการตรวจด้วยิธีกาพิเศษเพื่อยืนยันคำวินิฉัย
ในการวินิจฉัยโรคหืดก็เหมือนกับการวินิจฉัยโรคอื่น ๆ
ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยข้อมูลที่ได้จากการซักประวัติความเจ็บป่วย
มีการตรวจร่างกาย มีการตรวจด้วยิธีกาพิเศษเพื่อยืนยันคำวินิฉัย
ในการซักประวัติ และการตรวจร่างกาย:
เรื่องราวต่างๆ ที่ท่าน (คนไข้) บอกกับแพทย์ผู้ทำการรักษา
จัดเป็นเบาะแสที่สำคัญ ที่จะนำไปสู่คำวินิจฉัยว่า ท่านเป็นโรคหืดหรือไม่?
มีคำถามมากมาย ที่แพทย์เขาจะตั้งคำถาม
เกี่ยวกับการหายใจของท่าน
นี่คือตัวอย่าง
ของการสนทนาระหว่างคนไข้ และแพทย์ผู้ทำการรักษา
เกี่ยวกับการหายใจของท่าน
นี่คือตัวอย่าง
ของการสนทนาระหว่างคนไข้ และแพทย์ผู้ทำการรักษา
Ø ให้ท่านอธิบายความรู้สึกที่เกิดในขณะหายใจลำบาก
Ø ให้ท่านลองนึกถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก่อนที่จะมีอาการหายใจลำบาก
Ø ท่านเคยตื่นนอนกลางดึก...เพราะหายใจลำบากหรือไม่ ?
Ø ท่านเคยมีอาการไอในตอนกลางคืน...ส่วนกลางวันไม่มีอาการ...?
Ø ท่านเคยเลี้ยงสัตว์ (หมา หรือ แมว...) มาบ้างหรือไม่ ?
Ø ท่านเคยได้รับงานใหม่ หรือเคยตกงาน ?
Ø ...สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง...อาจเป็นต้นเหตุให้เกิดอาการ ?
Ø และอื่น ๆ
ในระหว่างการพูดคุยกับแพทย์...
ในระหว่างการพูดคุยกับแพทย์...
ท่านอาจสังเกตุพบว่า แพทย์เขาจ้องหน้าท่านอย่างไม่เกรงใจ
เพราะเขาต้องการสังเกตุดูอาการของท่านว่า มีอะไรผิดปกติ
เช่น อาจมัปัญหาในด้านการพูด มีอาการหายใจลำบาก มีการ
ออกแรงมากกว่าปกติในขณะหายมจเข้าหรือออก
เพราะเขาต้องการสังเกตุดูอาการของท่านว่า มีอะไรผิดปกติ
เช่น อาจมัปัญหาในด้านการพูด มีอาการหายใจลำบาก มีการ
ออกแรงมากกว่าปกติในขณะหายมจเข้าหรือออก
จากนั้น...
ท่านจะเห็นแพทย์เขาใช้ เครื่องฟังปอด stethoscope วางบนอก
ของท่าน พร้อม ๆ กับบอกให้ท่านหายใจเข้าออกลึก ๆ
โดยที่แพทย์เขาพยายามฟังเสียลมหายใจที่เป็นสเสียง "หวีด"
ในขณะหายใจออก ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะที่เกิดขึ้นในคนที่เป็น
โรคหืด
ในการหายใจออก ถ้าหากท่านใช้เวลานานกว่าเวลาหายใจเข้า
อาจเป็นร่องรอย หรือเป็นเบาะแสให้สงสัยว่า
ท่านอาจเป็นโรคหืด...
ท่านจะเห็นแพทย์เขาใช้ เครื่องฟังปอด stethoscope วางบนอก
ของท่าน พร้อม ๆ กับบอกให้ท่านหายใจเข้าออกลึก ๆ
โดยที่แพทย์เขาพยายามฟังเสียลมหายใจที่เป็นสเสียง "หวีด"
ในขณะหายใจออก ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะที่เกิดขึ้นในคนที่เป็น
โรคหืด
ในการหายใจออก ถ้าหากท่านใช้เวลานานกว่าเวลาหายใจเข้า
อาจเป็นร่องรอย หรือเป็นเบาะแสให้สงสัยว่า
ท่านอาจเป็นโรคหืด...
นอกจากนั้น แพทย์เขาอาจมองหาเบาะแสอย่างอื่น ๆ
ซึ่งเป็นต้นเหตุของการหายใจลำบาก
เช่น pneumonia หรือ โรคหัวใจล้มเหลว เป็นต้น
จากข้อมูลที่แพทย์ได้รับ...
ถ้าแพทย์เขาสงสัยว่า ท่านเป็นโรคหืดจริงหรือไม่ ?
เขาจำเป็นต้องการตรวจด้วยด้วเครื่องมือที่มีชื่อว่า peak flow meter
นอกจากนั้น ท่านอาจได้รับการตรจดูระดับของออกซิเจนในเลือด
จากข้อมูลที่แพทย์ได้รับ...
ถ้าแพทย์เขาสงสัยว่า ท่านเป็นโรคหืดจริงหรือไม่ ?
เขาจำเป็นต้องการตรวจด้วยด้วเครื่องมือที่มีชื่อว่า peak flow meter
นอกจากนั้น ท่านอาจได้รับการตรจดูระดับของออกซิเจนในเลือด
การวินิจฉัย และการตรวจด้วยวิธีต่าง ๆ
เมื่อแพทย์เขาคิด หรือสงสัยว่า ท่านเป็นโรคหืด
วิธีการทั่วไป ที่แพทย์นำมาใช้ในการตรวจเพื่อยืนยันข้อสงสัย
ว่าท่านเป็นโรคหืดจริงหรือไม่ โดยแพทย์จะให้ยาพ่น (inhaler)
แก่ท่าน หรือให้ท่านหายใจเอายาจากเครื่องพ่น nebulizer
โดยยาที่หายใจเข้าไป จะทำให้หลอดลมขยายตัว
ทำให้หายใจดีขึ้น
ว่าท่านเป็นโรคหืดจริงหรือไม่ โดยแพทย์จะให้ยาพ่น (inhaler)
แก่ท่าน หรือให้ท่านหายใจเอายาจากเครื่องพ่น nebulizer
โดยยาที่หายใจเข้าไป จะทำให้หลอดลมขยายตัว
ทำให้หายใจดีขึ้น
ถ้าหากวิธีการรักษาด้วยวิธีดังกล่าว ปราศจากผล
แพทย์อาจจำเป็นต้องตรวจอย่างอื่นต่อไป ด้วยการใช้วิธีการใดวิธีการหนึ่ง ดังต่อไปนี้
การตรวจการทำงานของปอด (Pulmonary function test)
เป็นวิธีการที่มีความสลับซับซ้อน และกระทำโดยผ่านรูปแบบของ peak flow Meter
ซึ่งท่าน (คนไข้) จะต้องหายใจผ่านเข้าเครื่อง
ซึ่งแพทย์สามารถวัดอะไรได้หลายอย่างเกี่ยวกับการทำงานของปอด
นอกจากการตรวจความแข็งแรง (strength) ของปอดแล้ว เครื่องยังสามารถ
บอกให้เราได้ทราบว่า ปอดของท่านสามารถสดเอาอากาศเข้าไปได้มากน้อยแค่ใด ?
และในขณะเดียวกัน มันยังสามารถบอกให้ทราบถึงอาการแสดงว่า
เนื้อปอดของท่านถูกทำลายมากน้อยแค่ใด
และในขณะเดียวกัน มันยังสามารถบอกให้ทราบถึงอาการแสดงว่า
เนื้อปอดของท่านถูกทำลายมากน้อยแค่ใด
ถ้าแพทย์ให้ท่านได้รับยา (สูดเอายาเข้าปอด) ขยายทางเดินของลมหายใจ
และปรากฎว่า อาการของท่านดีขึ้น...
ท่านนาจะเป็นโรคหืด..
และปรากฎว่า อาการของท่านดีขึ้น...
ท่านนาจะเป็นโรคหืด..
ในคนที่เป็นโรคหืดหอบ (asthma)...
โรคหืดจะไม่มีการทำลายของเนื้อปอด (air sacs) เลย
แม้ว่าคนไข้รายนั้นจะมีอาการหอบหืดอย่างรุนแรงก็ตามที
นั้นย่อมแสดงให้เราได้รทราบว่า โรคหืดเป็นปัญหาของทางเดินของลมหายใจ (air tubes)
ไม่ใช่ปัญหาของเนื้อปอด (air sacs)
ซึ่งเป็นที่ ๆ มีการแลกเปลี่ยนอากาศ (ออกซิเจน & คาร์บอนไดออกไซด์)
ไม่ใช่ปัญหาของเนื้อปอด (air sacs)
ซึ่งเป็นที่ ๆ มีการแลกเปลี่ยนอากาศ (ออกซิเจน & คาร์บอนไดออกไซด์)
สำหรับโรคชนิดอื่นๆ เช่น โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (หลอดอักเสบเรื้อรัง +ถุงลมโป่งพอง)
ในคนไข้พวกนี้จะพบการทำลายของเนื้อปอด (ดังรูป)
เป็นอีกวิธีหนึ่ง ซึ่งถุูนำมาใช้เพื่อยืนยันคำวินิจฉัยโรคหืด...
ซึ่งจะกระทำพร้อม ๆ กับการตรวจการทำงานของปอด (pulmonaryfunction test)
โดยแพทย์ผู้ตรวจจะให้ทานสูดเอายา methacholine
ซึ่งยาจะทำให้ทางเดินของลมหายใจแคบลง (constricts)
จากนั้น แพทย์จะให้ยาขยายหลอดลมตาม
ซึ่งยาจะทำให้ทางเดินของลมหายใจแคบลง (constricts)
จากนั้น แพทย์จะให้ยาขยายหลอดลมตาม
ในคนไข้ที่มีความไว (sensitive) ต่อยา methacholine
และตอบสนองต่อยาขยายหลอดลม...
เขาน่าจะเป็นโรคหืดหอบ
เขาน่าจะเป็นโรคหืดหอบ
อย่างไรก็ตาม การตรวจดังกล่าวใช่ว่าจะให้ผล 100 % เสียเมื่อไหร่ละ...
คนไข้อาจได้ผลการตรวจเป็นบวก แต่เขาไม่ได้เป็นโรคหืด...
หรือผลการตรวจเป็นลบ เขาดันเป็นโรคหืดก็ได้
หรือผลการตรวจเป็นลบ เขาดันเป็นโรคหืดก็ได้
ถึงกระนั้นก็ตาม การตรวจ methacholine เพียงแต่บอกว่า
มันน่าจะใช้โรคหืด!
.
สุดท้ายท่านอาจได้รับการตรวจเอกซเรย์ปอด
และถึงแม้ว่า การตรวจดูภาพเอกซเรย์ปอด ไม่ได้ช่วยในการวินิจฉัยโรคหืด
แต่มันสามารถนำไปใช้ในการแยกโรคอย่างอื่น
แต่มันสามารถนำไปใช้ในการแยกโรคอย่างอื่น
ซึ่งเป็นต้นเหตุทำให้เกิดปัญหาด้านการหายใจลำบากคล้ายหืดได้
เช่น pneumonia และโรคหัวใจล้มเหลว...
เช่น pneumonia และโรคหัวใจล้มเหลว...
Adapted from:
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)