10/26/12
อาการ (Symptoms)
อาการเริ่มแรกของคนเป็นโรค narcolepsy...
ส่วนใหญ่จะเป็นอาการง่วงนอนตอนกลางวัน ซึ่งเป็นอาการที่มากผิดธรรมดา
อย่างไรก็ตาม อาจเสียเวลาเป็นปี ถึงรู้ว่าเขาเป็นโรคดังกล่าว
ที่เป็นเช่นนั้น เป็นเพราะมีสาเหตุอย่างอื่น ที่ทำให้เกิดอาการง่วงเกิดขึ้น
ทำให้เราไม่นึกถึงโรคดังกล่าว
โรค narcolepsy มีอาการหลัก 4 รูปแบบด้วยกัน
และในคนไข้แต่ละราย อาจมีอาการมากกว่าหนึ่งอย่าง
แต่มีส่วนน้อยมากที่มีอาการได้ทั้งสี่อย่าง
อาการทั้งสี่รูปแบบ ได้แก่:
1. Excessive daytime sleepiness:
คนไข้ส่วนใหญ่จะมีอาการง่วงนอนในตอนกลางวัน เป็นความรู้สึกง่วง
อย่างมาก...สุดจะทนทานได้ จัดเป็นอาการที่เด่นชัดมากที่สุด
2. Cataplexy :
เป็นอาการที่กล้ามเนื้ออ่อนปวกเปียก, ความตึงตัวของกล้ามเนื้อ (Tone ) ของกล้ามเนื้อหายไป ซึ่งเราจะพบเห็นในบริเวณกล้ามเนื้อของคอ
และของลำตัว เป็นเหตุให้คนไข้ทรุดตัวลงกองอยู่กับพื้น
ทำให้คนที่พบเห็นตกใจ หรือประหลาดใจกับเหตุการณ์ดังกล่าว
อาการดังกล่าว จะเกิดขึ้นได้ในขณะที่คนไข้ยังมีความรู้สึกตัวดีทุกประการ
จะกินเวลาประมาณ 2 – 3 วินาทีก็หายไป
ในรายที่เป็นน้อย ไม่รุนแรง
เมื่อเกิดขึ้นกับกล้ามเนื้อเกี่ยวกับการพูด จะทำให้คนไข้พูดจาไม่ค่อยชัด
หรือพูดจาลำบาก ไม่สามารถออกเสียงคำแรกได้สำเร็จ
นอกจากนั้น อาจพบกล้ามเนื้อมัดอื่นๆ เกิดอ่อนแรงด้วย
เช่น ทำให้หนังตาตก หรือกล้ามเนื้อแขน หรือมืออ่อนแรง
เป็นเหตุให้ของที่ถือหลุดจากมือไป
3. Sleep paralysis
อาการชนิดนี้ จะเกิดขึ้นในระยะสั้น ๆ โดยไม่สามารถเคลื่อนไหว หรือ
ปลุกให้ตื่นได้ โดยที่มันจะกินเวลานานหลายนาที
อาการ sleep paralysis จะคล้ายกับอาการชนิด cataplexy…
โดยอาจมีส่วนสัมพันธ์ระหว่าง “ภาวะหลับ REM” กับภาวะ “ตื่น”
ซึ่งมีการแยกระหว่างสองระยะไม่ชัดเจน
4. Hypnagogic hallucinations.
เป็นการฝันเห็นภาพในขณะตื่น (awake state)
ซึ่งมักจะก่อให้เกิดความตกใจต่อภาพที่เห็นในขณะที่กำลังจะหลับ
หรือเกิดขึ้นขณะตื่น อาการเช่นนี้ สามารถเกิดในขณะที่เกิดอาการ
sleep paralysis
การเกิดอาการง่วงนอนในตอนกลางวัน
สามารถทำให้เกิดการสูญเสียอะไรหลายอย่าง อาจทำให้คุณภาพชีวิตเสียไป
การเกิดการสูญเสียความจำ ก่อให้เกิดความหงุดหงิด เสียความรู้สึกได้
คนเป็นโรค Narcolepsy มากกว่า 50 % จะมีประสบการณ์เกี่ยวกับ
การสูญเสียความจำ หรือหมดสติด้วยการนอนหลับในระยะสั้น ๆ
เรียกว่า micro-sleep แต่ไม่ใช้ลักษณะเฉพาะของโรค Narcolepsy
แต่อาจเกิดขึ้นกับใครก็ได้ที่อดหลับอดนอน...นอนพักผ่อนไม่เพียงพอ
มีการนอนหลับระยะสั้น ๆ (microsleep) ซึ่งเกิดขึ้นเพียงไม่กี่วินาที
โดยตัวคนไข้ไม่สามารถรูสึกได้นั้น อาจเกิดขึ้นในขณะที่ตัวคนไข้กำลังก้าวเดิน
หรือกำลังขับรถ, กำลังเขียนหนังสือ หรือพูดเรื่องไร้สาระ,
ทำให้เขาเดินชนอะไรบางอย่างโดยไม่รู้ตัว ซึ่งในระยะหลังของการเกิดโรคดังกล่าว
คนไข้อาจเกิดภาวะนอนไม่หลับ (insomnia)
การวินิจฉัย (Diagnosis)
โดยทั่วไปแล้ว แพทย์จะเกิดความสงสัยว่า...
คนไข้รายใดเป็นโรค narcolepsy ก็ต่อเมื่อคนๆ นั้นมีอาการง่วงนอน
ในตอกลางวันมากผิดปกติ และเกิดมีอาการทรุดลงอย่างฉับพลัน
เพราะกล้ามเนื้อสูญเสียการตึงตัวไป (cataplexy)
จากนั้นคนไข้ได้ถูกแนะนำไปพบกับผู้เชี่ยวชาญสำหรับโรคดังกล่าว
ซึ่งเขาจะได้ทำการตรวจที่ละเอียดเพิ่มขึ้นต่อไป
ในการตรวจตามมาตรฐาน คนไข้อาจต้องนอนในโรงพยาบาล
เพื่อให้กลุ่มผู้เชี่ยวชาญทำการตรวจโดยละเอียด
ในการตรวจเพื่อวินิจฉัยโรคประกอบด้วย:
Sleep History:
ท่าน(คนไข้) จะได้รับคำถามจากแพทย์เกี่ยวกับประวัติการนอนโดยละเอียด
....
Sleep records:
ท่านบอกให้ทำการบันทึกรูปแบบการนอนของท่านสักหนึ่ง หรือสองอาทิตย์
เพื่อนำไปเปรียบเทียบกับความตื่นตัว (alertness) ในตอนกลางวัน
Polysomnogram:
เป็นการตรวจดูคลื่นต่างๆ (signals)ในขณะที่ท่านกำลังหลับ
โดยจะมีการวาง electrodes ไว้ที่หนังศีรษะ
ซึ่งวิธีการตรวจดังกล่าว จำเป็นต้องกินเวลาตลอดคืน เป็นการตรวจดูคลื่น
ของกระแสไฟฟ้าจากสมอง (electroencephalogram) และตรวจคลื่นกระ
แสไฟฟ้าของหัวใจ (electrocardiogram) และตรวจคลื่นกระแสไฟฟ้าของ
ลูกตา (elctrooculogram)
นอกจากนั้น ยังมีการตรวจการทำงานของปอดอีกด้วย
Multiple sleep latency test:
เป็นวิธีการตรวจดูว่า ท่านจะใช้เวลานานเท่าใดจึงหลับ (ระหว่างกลางวัน)
วิธีการตรวจ...ท่านจะถูกบอกให้งีบหลับสี่ หรือห้าครั้ง โดยให้มีระยะห่างกัน
สองชั่วโมง จากนั้น จะมีการสังเกตรูปแบบของการนอนหลับของท่าน
ในคนที่เป็นโรค narcolepsy จะหลับได้เร็วมาก และผ่านเข้าสู่ช่วงของการ
หลับที่มีการเคลื่อนไหวของลูกตา....rapid eye movement (REM) อย่าง
รวดเร็ว
Hypocretin test:
คนไข้ที่เป็นโรค narcolepsy จะมีระดับของ hypcretin ต่ำ
ซึ่งเป็นสารเคมีจากสมอง...ทำหน้าที่ในการควบคุมการหลับในช่วง REM sleep
การตรวจหาระดับของสาร hypocretin
จะต้องเจาะเอาน้ำจากไขสันมาทำการตรวจ
การตรวจชนิดนี้ ยังช่วยให้แพทย์แยกโรคอย่างอื่น ซึ่งอาจเป็นสาเหนุที่ทำให้
เกิดอาการง่วงนอนในตอนกลางวันได้ เช่นโรค sleep apnea เป็นต้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น