วันศุกร์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2555

10/26/12

Narcolepsy  3

การรักษา & ยา: (Treatments and drugs)

เป็นที่ทราบกันว่า...
โรค narcolepsy  ไมมีทางรักษาให้หายได้
แต่เรามียารักษาอาหาร  และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม  สามารถช่วยทำ
ให้อาการของคนไข้ดีขึ้นได้
Medications
ยาที่ใช้ในโรค narcolepsy  ประกอบด้วย:

Stimulants:

ยาที่มีฤทธิ์กระตุ้นประสาทส่วนกลาง  ถูกนำมาใช้รักษาคนไข้โรค narcolepsy
ให้ตื่นในตอนกลางวันนั้น  ยาที่ใช้แก่  ยา modafinil (Provigil)
หรือ armodafinil (Nuvigil)  จะถูกใช้เป็นตัวแรกเพราะเป็นยาที่ไม่ก่อให้เกิด
การเสพติด (addictive)
ยา modafinil ไม่ค่อยจะมีผลข้างเคียงนัก  แต่อาจก่อให้เกิดอาการปวดศีรษะ, 
คลื่นไส้  และอาการปากแห้งได้


คนไข้บางรายอาจจำเป็นต้องใช้ยาพวก methylphnidate (Ritalin)
Selective serotonin reuptake inhibitors (SSRIs) หรือ
serotonin and  Norepinephrine reuptake inhibitors (SNREs)


แพทย์นิยมใช้ยาในกลุ่มนี้  รักษาอาการของ REM sleep
เพื่อบรรเทาอาการของ catalepsy, hypnagogic hallucinations
และ sleep paralysis  ได้ผลดี


ยาในกลุ่มนี้ได้แก่ fluoxetine (Prozac, Sarafem), venlafaxine (effexor XR)

ผลข้างเคียงของยาได้แก่  ทำให้สมรรถภาพทางเพศเปลี่ยนไป
และ ทำให้เกิดอาการทางกระเพาะลำไส้ (GI upset)


Tricyclic antidepressants:

ยาที่ถูกนำมาใช้ในการรักษาโรค narcolepsy  ได้แก่ protriptyline (Vivactil),
 imipramine (Tofranil) และ clomipramne (Anafranil)

ผลข้างเคียงที่คนไข้ไม่ชอบ  คือ ทำให้เกิดปากแห้ง  และวิงเวียน


Sodium oxybate (Xyrem):

ยาในกลุ่มนี้  ปรากฏว่าใช้ได้ผลดี   สำหรับคนไข้ที่มีอาการ cataplexy
ถ้าให้ในขนาดสูง ๆ  สามารถรักษาอาการ “ง่วงนอน” ตอนกลางวันได้
ซึ่งควรใช้ยาสองครั้งโดยให้ก่อนนอนครั้งหนึ่ง 
ให้อีกครั้ง  เมื่อเวลาผ่านไปได้  4 ชั่วโมง....


ผลข้างเคียงของ Xyrem   จะมีอาการค่อนข้างรุนแรง เช่น  คลื่นไส้,
ปัสสาวะรดที่นอน  ทำให้เดินละเมอในตอนกลางคืน “sleep walking”


หากให้ยา Xurem ร่วมกับยาแก้ปวด  หรือยานอนหลับ  หรือร่วมกับการ
ดื่มแอลกอฮฮลล์  สามารถทำให้เกิดการหาใจติดขัด  เกิดโคม่า
และตายได้....ต้องระวัง !
  
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม....

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม  จะมีบทบาทสำคัญต่อการรักษาอาการของคน
ไข้โรค narcolepsy  โดยคนไข้จะได้ประโยชน์จากขั้นตอนต่อไปนี้:


ปฏิบัติตามแผนที่วางไว้:
จงปฏิบัติตามแผนการทีวางไว้อย่างเคร่งคัด  เช่น เข้านอน และตื่นจากที่
นอนในเวลาเดิมทุกวัน  รวมถึงวันหยุดสุดสัปดาห์ด้วย


กำหนดเวลาสำหรับการงีบหลับในช่วงกลางวัน:
การงีบหลับ 20 นาทีในช่วงกลางวัน  ในเวลาที่กำหนด  ถือว่าเป็นกลยุทธิ
ทีดี  ที่สามารถทำให้เกิดความสดชื่น  และลดอาการง่วงนอนได้ประมาณ
หนึ่งถึงสามชั่วโมง  บางคนอาจจำเป็นต้องงีบหลับมากกว่านั้นได้


หลีกเลี่ยงสาร nicotine และ alconol :
การใช้สารเหล่านี้  โดยเฉพาะในตอนกลางคืน  สามารถทำให้อาการ
และอาการแสดงของโรคเลวลงได้


การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ:
การออกกำลังกายหนักพอประมาณ  และสม่ำเสมอ  อย่างน้อย 4 – 5 ชั่วโมง
ห่างจากเวลานอน  อาจช่วยให้เรารู้สึกตื่นตัว (ไม่ง่วง) ในช่วงกลางวัน
และทำให้การนอนหลับในช่วงกลางคืนดีขึ้น

 ปลอดภัยไว้ก่อน:
เพื่อความปลอดภัย  ท่านควรหลีกเลี่ยงการขับรถ..บนทางหลวง
แต่หากจำเป็นไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้...ห้ามขับในระหว่างที่ท่านมีความรู้สึกง่วง
ถ้าท่านเกิดมีอาการง่วงขึ้นมา  ท่านต้องหยุดรถทันทีและงีบเสีย
หรือ  ออกกำลังกายอย่างใดอย่างหนึ่ง  อาจช่วยได้




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น