วันเสาร์ที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2555

COPD : มันสามารถทำลายชีวิตคนเราได้ ?

ถูกจัดเป็นอันดับสี่  ที่เป็นสาเหตุทำให้คนเสียชีวิต (ในสหรัฐฯ)
และเป็นหนึ่งในสิบที่ทำลายชีวิตคนในแต่ละปี 

และจากสถิติของคนอเมริกัน 
มีคนที่ต้องทุกข์ทรมานจากโรคดังกล่าวถึง 15 ล้านคน
เนื่องจากผู้ชายเป็นเพศที่สูบบุหรี่มากกว่า 
จึงเป็นเหตุให้โรคนี้เกิดในเพศชายได้มากกว่าเพศหญิง


     ใครก็ตามที่เป็นโรคปอดอุดกั้นแล้ว 
โอกาสที่จะหายจากโรคเป็นศูนย์  แต่เราสามารถรักษาโรคดังกล่าวได้
ด้วยวิธีปรับเปลี่ยนพฤติกรรม  ร่วมกับยารักษา
สามารถควบคุมโรคปอดเรื้อรังดังกล่าว  มีชีวิตที่ยืนยาวได้
และที่สำคัญ  โรค COPD เป็นโรคที่คนเราสามารถป้องกันได้

            What Is COPD?



โรคถุงลมอุดกั้น เป็นโรคปอดเรื้อรัง...
มีการอุดกั้นของอากาศที่หายใจเข้าปอด  เป็นเหตุให้หายใจลำบาก
โรคลมหายใจอุดกั้นมีสองรูปแบบด้วยกัน  หนึ่งเป็นชนิดหลอดลมอักเสบเรื้อรัง
(chronic bronchitis) และสองเป็นโรคถุงลมโป่งพอง(emphysema)
ซึ่งทั้งสองแบบ ต่างมีการตีบแคบของทางเดินหายใจ และหลอดลม  เป็นเหตุให้
การหายใจออกเป็นไปด้วยความลำบาก   (ทางเดินหายใจจะขยายตัวเมื่อหายใจเข้า 
และตีบแคบเมื่อหายใจออก)

         การที่ทางเดินของลมหายใจ (bronchi) เกิดการตีบแคบลง
มันสามารถทำให้เกิดโรคหืดหอบ (asthma) เกิดขึ้นได้  แต่เป็นภาวะที่เกิดชั่วขณะ
และสามารถกลับสู่สภาพปกติได้

         ส่วนในโรคปอดอุดก้น  ความผิดปกติที่เกิดขึ้น
ไม่สามารถรักษาให้กลับคืนเหมือนเดิมได้
ในคนที่หลอดลมอักเสบเรื้อรัง (chronic bronchitis)…
ต่อมขับน้ำเมือก (mucous glands) ที่อยู่ในทางเดินลมหายใจจะมีขนาดโตขึ้น
พร้อมกับสร้างน้ำเมือกออกมาเป็นจำนวนมาก
ซึ่งจะทำให้ทางเดินของลมหายใจ (bronchi) แคบลง

         ในถุงลมโป่งพอง (emphysema)…
พบว่า  การที่ท่อลม (bronchi) ตีบแคบเป็นผลมาจากเนื้อเยื่อของปอดถูกทำลาย
และมีความรุนแรงมากกว่าหลอดลมอักเสบเรื้อรังเสียอีก

         คนส่วนใหญ่ที่เป็นโรคปอดอุดกั้น (COPD)  จะมีความผิดปกติทั้งสองอย่างร่วมกัน
การอักเสบที่เกิดขึ้นจะถูกกระตุ้นโดยสารละคายเคือง
ซึ่งถูกหายใจเข้าปอด  และยังเป็นต้นเหตุทำให้เกิดโรคปอดอุดกั้นขึ้น

         ในขณะที่มีการอักเสบ  เม็ดเลือดขาวพยายามกำจัดเอาตัวละคายเคือง
แต่แทนที่จะควบคุมไม่ให้เกิดการทำลายขึ้น  มันกลับปล่อยสารเคมีออกมา
หลายตัว  และสารเคมีเหล่านั้นจะทำลายเนื้อปอดในที่สุด

         การสูบบุหรี่เป็นสาเหตุของโรคปอดอุดกั้น (COPD)ประมาณ 85 %
คนสูบบุหรี่จัด  จะมีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคปอดอุดกั้น
การสูดควันบุหรี่  หรือสูดควันพิษสามารถก่อให้เกิดโรคปอดอุดกั้นได้เช่นกัน
นอกจากนั้น  การขาดสารโปรตีนซึ่งถ่ายทอดทางพันธุกรรมยังเป็นสาเหตุทำ
ให้เกิดโรคดังกล่าวได้  แต่บางรายเราไม่สามารถบอกได้ว่า  มันเกิดได้อย่างไร ?

          อาการของโรคปอดอุดกั้น (COPD)



โรค COPD จะเกิดขึ้นอย่างช้า ๆ เมื่อเวลาผ่านไป  มันจะเลวลงอย่างช้าๆ
นั้นคือเหตุผลที่มีคนไข้เป็นโรคดังกล่าว  ได้ปรากฏให้เห็นภายหลังจากคน
เลิกสูบบุหรี่เป็นเวลาหลายปี

         เริ่มต้น  จะไม่มีอาการใดๆ ปรากฏ  เมื่อเวลาผ่านไปอย่างช้าๆ  อากาจจึงเริ่ม
ปรากฏ  ซึ่งมักจะเกิดในช่วงอายุได้ย่างสู่วัยกลางคน
พอตื่นนอนตอนเช้า  จะเป็นอาการแรก (smoker’s cough)  จากนั้นอาการจะ
ค่อยๆ เลวลง  และมีการไอตลอดทั้งวัน  และตามด้วยอาการหายใจหอบ

         ในตอนเริ่มต้นของการเป็นโรคปอดอุดกั้น
อาการมักจะปรากฏในขณะออกกำลังกาย 
จากนั้นการหายใจจะเริ่มลำบากขึ้น  แม้แต่ในขณะที่มีการพักผ่อน

         การหายใจมีเสียงหวีด  ก็เป็นอาการอีกอย่างหนึ่งที่พบเห็น
คนไข้ส่วนใหญ่มักจะเหนื่อยอ่อน  และรู้สึกเพลีย

         คนไข้ที่เป็นโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัก (chronic bronchitis)
จะมีอาการไอเกิดขึ้น...เป็นๆ หายๆ  แต่ละครั้งจะมีเสมหะเหนียวและสีน่าเกลียด
ซึ่งมักจะเกิดขึ้นทุกวันเป็นเวลาสามเดือน หรือนานกว่านั้น

         เมื่อเวลาผ่านไป  โรคปอดเรื้อรังจะเพิ่มงานหนัก (load)ให้แก่หัวใจ
และทำให้คนไข้เกิดภาวะที่เราเรียกว่า  cor pulmonale
ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของหัวใจล้มเหลว (หัวใจไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ) เป็นเหตุให้มีน้ำถูกกักเอาไว้ในร่างกาย
 
ทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น
ทำให้ริมฝีปาก และผิวหนังของคนไข้เปลี่ยนสีม่วง
เนื่องจากระดับของออกซิเจนในกระแสเลือดลดต่ำลง

         คนที่เป็นโรคถุงลมโป่งพอง...
คนไข้กลุ่มนี้จะไอไม่มาก  ส่วนมากจะเป็นไอแห้งๆ 
หายใจลำบาก (shortness of breath)  และเป็นการหายใจเร็วกว่าปกติ
ผิวหนังของเขายังเป็นสีชมพูตามปกติ  แต่มีการเปลี่ยนแปลงบางอย่าง
เช่น:  น้ำหนักตัวลด,  กล้ามเนื้อลีบ  และทรวงอกมีรูปร่างเหมือนถังเหล้า-ใหญ่

         คนไข้ที่เป็นโรคปอดอุดกั้น (COPD)...
          จะมีอาการของทั้งหลอดลมอักเสบเรื้อรัง  และอาการของถุงลมโป่งพอง
นอกจากจะมีอาการทุกวันแล้ว    คนไข้ส่วนใหญ่จะมีอาการมากขึ้นปีละสองสามครั้ง
ซึ่งส่วนใหญ่มักเกิดจากการอักเสบของปอด  เป็นตัวกระตุ้นให้มีอาการอย่างฉับพลัน

          การวินิจฉัย (Diagnosis)



วิธีการที่ดีที่สุด  และง่ายสุดสำหรับนำมาใช้ในการวินิจโรค COPD
คือการตรวจสอบการทำงานของปอด 
เรียก forced expiratory volume at one second (FEV1)
เป็นการวัดปริมาณของอากาศที่คนไข้สามารถหายใจออกอย่างแรงสุดภายในหนึ่ง
วินาที  นอกจากนั้น  แพทย์สามรใช้วีดังกล่าวเพื่อตรวจสอบผลของการรักษา

 นอกจากนั้น  แพทย์ใช้เอกซเรย์, ตรวจระดับออกซิเจน  และการตรวจอื่นๆ

สามารถนำมาช่วยในการวินิจฉัยได้


           1     2  >>  Next


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น