วันเสาร์ที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2555

COPD and Heart Disease

10/27/12

เมื่อพูดถึงโรคภัยไข้เจ็บ...
มีบางโรคไม่เข้าใครออกใคร  และไมมีทางป้องกันมันได้เสียด้วย
แต่มีหลายโรคที่คนเราสามารถป้องกันได้ 
ที่พบเห็นบ่อย ๆ  ได้แก่โรคปอดเรื้อรังชนิดการทำงานของปอดถูกอุดกั้น (COPD)
เมื่อเกิดขึ้นกับท่านผู้ใดแล้ว  มันจะอยู่กับเขาผู้นั้นไปตลอดชีวิต

เมื่ออาทิตย์ที่แล้ว  ได้เห็นคนไข้รายหนึ่งเป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง
โดยมีต้นเหตุมาจากการสูบบุหรี่จัดในวัยหนุ่ม  สูบติดต่อกันจนกระทั้งถึงวัยชรา (70) 
เขาถูกรับไว้รักษาในโรงพยาบาลด้วยสาเหตุมีบาดแผลที่แขน
แต่แพทย์ไม่สามารถทำอะไรได้มากนัก  เพราะทุกครั้งทีวิสัญญีแพทย์
จะทำการดมยาสลบ.. ก็มีอันเป็นไปทุกครั้ง 
นั้นคือ  เกิดอาการหายหอบ  หัวใจเต้นผิดปกต 


นอกจากปอดจะทำงานได้ไม่ดีแล้ว  ยังทำให้หัวใจมีการเต้นผิดปกติ
เป็นเหตุให้งดการผ่าตัดไป   แล้วแพทย์เขาทำอย่างไร ?
แพทย์คงต้องจัดการตามสถานการณ์  
ทำอะไรได้ไม่มากนัก...ให้ธรรมชาติค่อยรักษามันเอง ?

โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD)...
เมื่อเกิดขึ้นแล้ว  บางรายจะลงเอยด้วยการเกิดภัยอันตรายแก่หัวใจ 
ทั้งนี้เพราะทั้งปอด  และหัวใจต่างทำงานร่วมกันนั้นเอง
เมื่ออวัยวะตัวหนึ่งเสีย...อวัยวะอีกตัวก็พลอยแย่ไปด้วย

เมื่อปอดทำงานได้ไม่ดี  มันจะเพิ่มภาระให้หัวใจทำงานมากขึ้น
ทำให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลวได้ในที่สุด 

โดยปกติเลือดจากปอดเมื่อได้รับออกซิเจนแล้ว (oxygenated)
มันจะถูกส่งไปยังหัวใจห้องล่างซ้าย   จากนั้นมันจะปั้มเลือดไปตาม
เส้นเลือดแดง  สู่ส่วนต่างๆ ของร่างกาย

หัวใจห้องล่างด้านขวา  จะทำหน้าที่ปั้มเลือดดำ (deoxygenated) ไปยังปอดเพื่อ
เพื่อขับคาร์บอนไดออกไซด์ออกทิ้ง และรับเอาออกซิเจน
แล้วถูกส่งกลับไปยังหัวใจช่องซ้ายต่อไป

ในโรคปอดอุดกั้นเรื่อรัง  COPD…จะพบว่า 
ทางเดินของลมหายใจ (air way) เกิดการอุดตัน  และถุงลม (air sac) ถูกทำลายไป 
ทำให้ระดับของออกซิเจนในกระแสเลือดลดลง
ซึ่งจะทำให้เส้นเลือดของปอดมีปฏิกิริยาตอบสนอง  
ด้วยการทำให้เส้นเลือดภายใน  ปอดหดแคบลง


จากการที่เส้นเลือดภายในปอดเล็ก-แคบลงนั้น 
เป็นเหตุให้หัวใจซีกขวา  ต้องปั้มเลือดสู่ปอดด้วยความลำบาก 
ด้วยการออกแรงเพิ่ม  เป็นการออกกแรงของกล้ามเนื้อหัวใจที่มากเกินปกติ
เมื่อเวลาผ่านไป  จะทำให้กล้ามเนื้อหัวใจหนาขึ้น

เมื่อกล้ามเนื้อของหัวใจซีกขวาหนาขึ้น
แทนที่จะทำงานได้ดีขึ้น...ตรงกันข้าม    
มันไม่สามารถทำงานได้ดี   ไม่เหมือนกล้ามเนื้อของแขน-ขาที่โตขึ้น

กล้ามเนื้อหัวใจที่หนาขึ้น  ไม่สามารถปั้มเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพ 
เป็นเหตุให้เลือดไหลย้อนกลับสู่เส้นเลือดดำใหญ่
เกิดภาวะหัวใจซีกขวา  เกิดภาวะล้มเหลว  (rt. heart failure) 
ซึ่งไม่เหมือนกับหัวใจล้มเหลวที่เกิดจากกล้ามเนื้อหัวใจถูกทำลาย (heart attack)
หรือจากความดันโลหิตสูง  แต่มันทำให้คนไข้มีอาการเหมือนกัน  
รวมถึงการมีขาบวม  และท้องบวม

ถ้าบังเอิญท่านมีโรคหลอดเลือดหัวใจ (coronary heart disease)
และท่านเป็นโรคปอดอุดกั้นร่วมด้วย
ในกรณีดังกล่าว  กล้ามเนื้อหัวใจจะไวต่อระดับออกซิเจนในเลือด  ซึ่งมีระดับต่ำ 
เป็นเหตุให้เกิดการเต้นของหัวใจผิดปกติไป  เช่น atrial fibrillation


 1  2    >> Next     

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น