วันเสาร์ที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2555

COPD and Heart Disease : Atrial fibrillation 2

11/27/12

ต่อจากฉบับที่แล้ว...
คนไข้สูงอายุ  เป็นโรคปอดอุดกั้น (COPD)
มีต้นเหตุจากการสูบบุหรี่จัด  ทำให้แพทย์ไม่สามารถทำการผ่าตัดได้
เพราะการเต้นของหัวใจผิดปกติ (atrial fibrillation)


Atrial fibrillation  เป็นภาวะจังหวะการเต้นของหัวใจที่ผิดปกติไป (arrhythmia)
โดยที่หัวใจมีการเต้นเร็ว  และเต้นได้ไม่สม่ำเสมอ
   
หัวใจสองห้องบน (atria) ซึ่งรับเลือดจากภายนอกหัวใจ
จากนั้นมันจะปั้มเลือดเข้าสู่หัวใจสองห้องล่าง (ventricles)
และจากหัวใจสองห้องล่าง  เลือดจะปั้มออกสู่ด้านนอกหัวใจ 

ในระหว่างเกิดการเต้นของหัวใจที่เต้นได้เร็ว และไม่สม่ำเสมอ atrial fibrillation…
หัวใจสองห้องบน (atria)  ไม่สามารถปั้มเลือดได้ตามปกติ
แต่มันจะเต้นในรูปแบบสั่นระริก (quiver)

โดยปกติ  คลื่นกระแสไฟฟ้าจากจุดเล็กๆ บนกล้ามเนื้อหัวใจห้องบน 
ซึ่งเรียก  sinus node  มันจะทำหน้าที่ให้กล้ามเนื้อหัวใจห้องบนเกิดการบีบตัว 
จากนั้น  คลื่นกระแสไฟฟ้าจะเคลื่อนลงสู่ส่วนที่เรียกว่า  atrio-ventricular node
และคลื่นกระแสไฟฟ้า  จะเคลื่อนลงสู่หัวใจด้านล่าง (ventricles)
และทำให้หัวใจสองห้องล่างเกิดการบีบตัว

การบีบตัวของหัวใจห้องบน (atria) และการบีบตัวของหัวใจห้องล่าง (ventricles)
หากมันอยู่ในสภาพปกติ  จะมีการประสานการทำงานเป็นอย่างดี
ระหว่างการบีบตัวของหัวใจห้องบน  และหัวใจห้องล่าง

ในขณะที่หัวใจห้องบน (atria)  ปั้มเลือดออกไป 
หัวใจห้องล่าง (ventricles)จะอ้ารับเลือดจากหัวใจห้องบนจนเต็มพิกัด 
จากนั้น มันจะบีบตัวปั้มเลือดออกไป

นั้นเป็นการทำงานตามปกติของหัวใจ...
ภายใต้ภาวะหัวใจห้องบน (atria) เกิดเต้นผิดปกติ  แบบ  atrial fibrillation…
ซึ่งเป็นผลเนื่องมาจากคลื่นกระแสไฟฟ้าจากส่วนต่างๆ ของกล้ามเนื้อหัวใจห้องบน
โดยมีจุดเนิดหลายแห่งด้วยกัน  ทำให้การบีบตัวของหัวใจไม่มีคุณภาพ 
มีลักษณะการบีบตัวเป็นแบบสั่นระริก (quiver)

ใน atrial fibrillation  หัวใจจะเต้นเร็ว  เต้นไม่สม่ำเสมอ 
โดยไม่มีการประสานระหว่าง   หัวใจห้องบน และห้องล่างเลย 
ซึ่งในบางครั้ง พบอีกว่า  หัวใจสองห้องล่างมีการบีบตัว (ปั้ม) ทั้งๆ ที่ไม่มีเลือดเลย


โดยปกติ  ในเวลาหนึ่งนาที  การเต้นของหัวใจจะเต้นได้  60 - 100 ครั้ง  
และมีการเต้น (บีบตัว) อย่างสม่ำเสมอ: 
ตุ๊บ...ตุ๊บ...ตุ๊บ

ในขณะที่หัวใจมีการเต้นผิดปกติแบบ atrial fibrillation…
การเต้นของหัวใจจะเต้นประมาณ  80 – 160  ครั้ง ต่อหนึ่งนาที
เป็นการเต้น  ที่ไม่สม่ำเสมอ (irregular):  ตุ๊บ..ตุ๊บ....ตุ๊บ.ตุ๊บ.ตุ๊บ.....ตุ๊บ

เมื่อหัวใจบีบตัวเร็ว  และไม่สม่ำเสมอ
ย่อมทำให้หัวใจไม่สามารถปั้มเลือดออกจากหัวใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ร่างกายไม่ได้รับเลือด และออกซิเจนได้เพียงพอ 
ทำให้เกิดหายใจติดขัด (shortness of breath) 
ในบางคนอาจทำให้เกิดภาวะหมดสติไป

ภาวะ atrial fibrillation  สามารถทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่น่ากลัว
นั่นคือ  มีก้อนเลือด หรือลิ่มเลือด (blood clot)  เกิดขึ้นในหัวใจห้องบน
ซึ่งเป็นภาวะอันตราย  และสามารถก่อให้เกิดปัญหาระยะยาวได้

หากก้อนเลือดหลุดออกจากหัวใจ...เข้าสู่ปอดเกิด pulmonary embolsim 
ถ้าหลุดเข้าสู่เส้นเลือดของสมอง  ย่อมทำให้เกิดภาวะสมองถูกทำลาย (stroke) 
หรือไปอุดตันที่เส้นเลือดแดงในส่วนอื่น ๆ ย่อมทำให้อวัยวะนั้นถูกทำลายไป..

ปัจจัยต่างๆ ที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะ atrial fibrillation ได้แก่:
§  อายุ (Age)
§  โรคหลอดเลือดหัวใจ (Coronary artery disease)
§  โรคหัวใจรูมาติค (Rheumatic heart disease)
§  โรคความดันโลหิตสูง (High blood pressure)
§  โรคเบาหวาน (Diabetes)  และ
§  มีระดับไทรอยด์ฮอรโมนมากเกิน (An excess of thyroid hormones)
อาการ (Symptoms)
ภาวะ  Atrial fibrillation  มักจะไม่แสดงอาการใด ๆ
สำหรับรายที่มีอาการ   มันสามารถทำให้เกิด:

§  อาการใจสั่น (Palpitation)
§  อาการเป็นลมหมดสติ (Fainting…)
§  อาการวิงเวียน (Dizziness)
§  อาการหมดเรี่ยวแรง (Weakness)
§  หายใจติดขัด..เหมือนปลาขาดน้ำ (Shortness of breath) และ
§  เจ็บหน้าอก (Chest pain)

ในคนบางคนที่เกิดมี  atrial fibrillation  เป็นบางครั้งบางคราว
 จะเกิดขึ้นเมื่อไหร่ไม่รู้    แล้วมันก็หายไป 
แต่ในบางคนพบว่า  การเต้นของหัวผิดปกติแบบดังกล่าว จะไม่หายไปไหน...
แต่จะอยู่กับคนไข้ไปตลอดชีวิต  ตรวจเมื่อใดก็เจอ...

 Previous  < <   1     3  >>    Next

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น