วันอังคารที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2555

Lifestyle Changes: แค่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม สามารถช่วยได้จริงหรือ ?

10/16/12

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม... 
เป็นอีกแนวทางหนึ่งเพื่อทำให้ตัวของเราอยู่เหนือ “โรค”
หรือเอาชนะโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ  ที่พยายามรุมเร้าเข้าทำลายคนเรา 
โดยเฉพาะโรคเบาหวาน  ปรากฏว่า  มีปริมาณเพิ่มมากขึ้นกว่าแต่ก่อนเยอะ
นอกจากนั้น เรายังพบอีกว่า  คนที่เป็นโรคหัวใจ, โรคมะเร็ง,
ภาวะสมองถูกทำลายจากการขาดเลือด (stroke) และโรคอื่นๆ
ยังคงสภาพให้เราต้องต่อสู่มันอยู่ตลอดเวลา


นิสัย และพฤติกรรมของคนเรา  เช่น
 
Ø  เรื่องการกิน
Ø  การออกกำลังกาย
Ø  การสูบบุหรี่  และ
Ø  การดื่มแอลกอฮอลล์...
Ø  น้ำหนักตัวอยู่ในระดับปกติ



มันบอกให้เราทราบความจริงว่า:
เราไม่ได้ใส่ใจในตัวเราเท่าที่ควรจะเป็นเท่านั้นเอง


เราคงได้ยิน หรือได้พบเห็นคำแนะนำให้ลดน้ำหนัก,  ให้ออกกำลังกาย,
ให้รับประทานอาหารประเภทผัก  และผลไม้ให้มากขึ้น,
เลิกสูบบุหรี่ ...เป็นคำแนะนำที่ได้รับฟังกันบ่อยๆ
อาจมีบางท่านไม่เห็นความสำคัญของมัน


นับเป็นเรื่องที่ง่าย  และธรรมดา เมื่อนำไปเปรียบกับกรรมวิธีที่ใช้
เทคนิคสูงเยี่ยงการผ่าตัด  หรือการใช้ยาที่ต้องอาศัยวิธีอันสลับซับซ้อน...
แต่  ขอให้ทราบไว้ด้วยว่า  เพียงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เป็นประโยชน์ 
ย่อมสามารถทำให้สุขภาพของเราดีขึ้นได้
และที่สำคัญ  ทำให้เรารอดพ้นจากโรคหลายอย่างได้




พลังแห่งการเปลี่ยนแปลง
มีผลของการศึกษาจาก Harvard... ซึ่งมีการตีพิมพ์ในปี 2008
โดยมีการรายงานว่า  จากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
ได้ชี้ให้เห็นถึงพลังที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อร่างากยคนเราได้อย่างมากมาย
แม้ว่า  จะมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไม่มากนักก็ตามที


ผลการศึกษาจาก Harvard  ซึ่งได้ติดตามผลจนกระทั้งคนที่ได้รับการศึกษา
มีอายุยืนยาวถึง 90  พบว่า  คนที่สามารถบรรลุเป้าหมายทั้งห้าอย่างได้
สามารถมีอายุยืนยาวได้


มีปัจจัย 3 อย่างที่สามารถแก้ไขได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
นั้นคือ  การสูบบุหรี่,  การไม่ออกกำลังกาย  และอ้วน หรือน้ำหนักเกิน  
ส่วนอีกสองอย่าง เช่น ความดันโลหิตสูง  และโรคเบาหวาน ป้องกันได้
ด้วยวิธีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบางอย่าง  และด้วยการรักษา
หรือได้รับทั้งสองอย่างร่วมกัน
 

ผลจากการศึกษาพบว่า  ชายที่มีอายุ 70  มีชีวิตโดยปราศจากปัจจัยทั้ง
ห้าอย่าง  มีแนวโน้มที่จะมีอายุยืนยาวถึง  90 
หรือแก่กว่านั้นได้ถึง 54 %


หากมีปัจจัยเพียงหนึ่งอย่าง 
โอกาสของการมีอายุยืนยาวถึง 90 จะลดลง   โดยเฉพาะการสูบบุหรี่มีอันตรายมากสุด
ชายที่มีปัจจัยเสี่ยงทั้งห้าโอกาสที่จะมีอายุยืนถึง 90   จะมีเพียง 4 % เท่านั้น


ใครก็ตามที่สามารถมีอายุยืนยาวถึง 90  ถือว่าเป็นรางวัลชีวิตที่ควรได้รับ 
และคนที่มีพฤติกรรมที่ดี  ย่อมสามารถมีสุขภาพกาย  และใจที่ดี


นิสัยทางกายสี่อย่าง  ได้แก่  ไม่สูบบุหรี่,  ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ,
รับประทานอาหารประเพทผัก และผลไม้
และดื่มแอลกอฮอลล์เพียงเล็กน้อย (หนึ่งอาทิตย์ไม่เกิน 14 แก้ว)
หลังจากติดตามผลการศึกษา เป็นเวลาถึง 11 ปี พบว่า 
คนที่ไม่ได้ปฏิบัติตามพฤติกรรมทั้งสี่เลย  มีโอกาสที่จะเสียชีวิตได้สี่เท่าตัว 
ของคนที่ไม่ปฏิบัติตามพฤติกรรมทั้งสี่อย่าง


ดังนั้น คนที่มีอายุ 74 ปี  มีพฤติกรรมที่ดีทั้งสี่อย่าง
มีโอกาสประสบกับการเสียชีวิตได้เท่ากับคนที่มีอายุ  60  ปี
และคนที่ไม่มีพฤติกรรมที่ดีทั้งสี่อย่าง   สามารถมีอายุสั้นไปได้ถึง 14  ปี



ผลจากการวิจัยจาก  Denmark และ U.S ด้วยการติดตามศึกษาในคน
จำนวน 54,783 คน  ซึ่งไม่เคยเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ  หรือโรคมะเร็งมาก่อน
เมื่อมีนำหนักเพิ่มขึ้น  มี body mass index  (BMI) เพิ่มขึ้น
จะทำให้ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบเฉียบพลันถึง 7 %


และในคนที่มีน้ำหนักเกิน และอ้วน...
เมื่อมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านอาหาร,  งดการสูบบุหรี่ 
และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
สามารถลดความเสี่ยงจากการเกิดโรคหัวใจได้

                                                                                  2  > หน้าถัดไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น