10/27/12
การรักษาอาการต่างๆ
แพทย์สามารถใช้ขั้นตอนต่างๆ เพื่อควบคุมอาการ
และลดภาวะแทรกซ้อน และลดภาวะความพิการ หรือไร้สมรรถภาพลง
โดยมีกฎข้อแรกที่ต้องปฏิบัติ คือไม่สูบบุหรี่ และหลีกเลี่ยงจากการสูดควันบุหรี่
เป็นกฎที่ต้องกระทำ โดยไม่มีข้อยกเว้นอย่างเด็ดขาด
รับประทานที่ดีเหมาะแก่สุขภาพ ก็เป็นสิ่งสำคัญ
การรับประทานอาหารที่สมบูรณ์ด้วยผัก ผลไม้ และพวกปลาอาจเป็นผลดีกับปอด
พวกสาร beta-carotene จะทำให้คนสูบบุหรี่ (ชาย) เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งปอด
ส่วนไวตามินนั้น...ไม่มีหลักฐานยืนยันว่ามีประโยชน์ต่อปอด
คนเป็นโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง ซึ่งมักจะเพิ่มให้หัวทำงานหนักนั้น
ควรละเว้นอาการเค็ม (sodium salt) และคนที่เป็นถุงลมโป่งพอง
จะได้ประโยชน์อาหารเสริมที่ให้คาลอรี่สูง
การดื่มน้ำมากๆ สามารถช่วยให้ทำให้เสมหะถูกขับออกได้ง่าย
การออกกำลังการด้วยความรุนแรงจากเบา ถึงระดับพอประมาณ สามารถช่วย
ให้กล้ามเนื้อได้รับออกซิเจนได้เพียงพอจากปอดที่ถูกทำลายไปแล้ว
และการเดินจะดีที่สุดสำหรับคนที่เป็นโรคปอดอุดกั้น
ซึ่งคนไข้อาจเริ่มต้นด้วยการเดินครั้งละ 5 นาที วันละสาม-สี่ครั้ง
จากนั้นค่อยๆ เพิ่มขึ้นเป็นวันละ 45 นาที
ในรายที่เป็นโรคปอดอุดกั้นชนิดรุนแรง หรือมีโรคใจเกิดร่วมด้วย
เขาอาจต้องได้รับการบริหารปอด (structured pulmonary rehab. Program)
โดยคนไข้จะถูกสอนให้ฝึกการบริหารการหายใจ เช่น การหายใจลึกๆ จากนั้น
ให้หายใจออกด้วยการเป่าลมออกทางปากที่มีการห่อริมฝีปาก...
เป็นการบริหารกล้ามเนื้อทรวงอกอย่างง่ายๆ
การป้องกันไม่ให้เกิดการอักเสบ ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญ
การป้องกันไม่ให้เกิดการอักเสบ ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญ
จงแน่ใจว่า ได้รับการฉีดวัคซีนกันหวัด และ pneumonia เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
อย่าเข้าใกล้คนเป็นหวัด หรือ
คนเป็นหลอดลมอักเสบเป็นอันขาด
ความสะอาดเป็นเรื่องสำคัญ...
ยาที่ใช้ในโรค COPD
ยาที่แพทย์สั่งให้คนไข้ เพื่อรักษาโรคปอดอุดกั้น
ซึ่งแพทย์จะบอกให้ทราบถึงประโยชน์จากยาแต่ละอย่าง
รวมถึงผลที่ไม่พึงประสงค์ ที่จะเกิดจากยาให้คนไข้ได้รับทราบ...
ยาที่เราควรรู้มีดังนี้:
§ Bronchodilators – ยาในกลุ่มนี้ จะทำให้ผนังของหลอดลมขยายตัว
ทำให้อากาศไหลผ่านได้สะดวก ยาที่ใช้บ่อยที่สุดได้แก่
albuterol (Proventil) ใช้พ่นเข้าปากโดยมีขนาดตามกำหนด –
metered dose inhaler (MDI) โดยวันหนึ่งให้พ่นได้ถึงสี่ครั้งต่อวัน
สามารถลดอาการหายใจฝืดมีเสียงหวีด, หรือหายใจลำบาก
คนไข้ที่เป็นโรค COPD ที่ไม่รุนแรง อาจใช้แค่ short-acting bronchodilator
แต่สำหรับคนที่เป็นรายที่รุนแรง (advanced disease) จะได้ประโยชน์จาก
long-acting bronchodilatator
ยาพวกนี้ ช่วยป้องกันไม่ให้เกิดอาการมากกว่าจะลดอาการได้ทันที
ซึ่งได้แก่ ยา Salmeterol (Serevent) หรือ formoterol (Fordil) จัดเป็นพวก long-acting
ใช้พ่นวันละสองครั้ง
ในระหว่างที่คนไข้ใช้ยา long-acting bronchodilatator ควรต้องใช้ยา
ที่เป็น Short-acting (albuterol) เพื่อลดอาการ
§ Anticholinergics – ยาในกลุ่มนี้มีฤทธิ์ในการขยายหลอดลม และลดปริมาณของน้ำเมือกลง
จัดเป็นยาที่ใช้ในระยะยาว ใช้เป็นยารักษาคนไข้โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง
ทำให้อากาศไหลผ่านได้สะดวก ยาที่ใช้บ่อยที่สุดได้แก่
albuterol (Proventil) ใช้พ่นเข้าปากโดยมีขนาดตามกำหนด –
metered dose inhaler (MDI) โดยวันหนึ่งให้พ่นได้ถึงสี่ครั้งต่อวัน
สามารถลดอาการหายใจฝืดมีเสียงหวีด, หรือหายใจลำบาก
คนไข้ที่เป็นโรค COPD ที่ไม่รุนแรง อาจใช้แค่ short-acting bronchodilator
แต่สำหรับคนที่เป็นรายที่รุนแรง (advanced disease) จะได้ประโยชน์จาก
long-acting bronchodilatator
ยาพวกนี้ ช่วยป้องกันไม่ให้เกิดอาการมากกว่าจะลดอาการได้ทันที
ซึ่งได้แก่ ยา Salmeterol (Serevent) หรือ formoterol (Fordil) จัดเป็นพวก long-acting
ใช้พ่นวันละสองครั้ง
ในระหว่างที่คนไข้ใช้ยา long-acting bronchodilatator ควรต้องใช้ยา
ที่เป็น Short-acting (albuterol) เพื่อลดอาการ
§ Anticholinergics – ยาในกลุ่มนี้มีฤทธิ์ในการขยายหลอดลม และลดปริมาณของน้ำเมือกลง
จัดเป็นยาที่ใช้ในระยะยาว ใช้เป็นยารักษาคนไข้โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง
ยาที่เราใช้กันมานานได้แ ipratroium (Atrovent)
ซึ่งมีฤทธิ์ทั้ง anticholinergics และ bronchodilatators
คนไข้สามารถได้รับประโยชน์จากยาดังกล่าว
§ Corticosteroids ("steroids") – ยาในกลุ่มนี้จะทำหน้าที่ลดการอักเสบของหลอดลมอักเสบ
การพ่นและหายใจเอาสาร steroids สามารถช่วยคนไข้ได้
แต่ไม่ใช่ทั้งหมด มันเหมาะสำหรับรายที่เป็นโรคพอประมาร-รุนแรง (moderate-to-severe)
ยาในกลุ่มนี้ส่วนใหญ่จะใช้ร่วมกับรายที่ใช้ยา long-acting bronchodilatator
มียาผสมระหว่างสาร steroids (fluticasone) และ long-acting bronchodilatators (salbutamol)ซึ่งสามารถใช้วันละสองครั้ง เช้า-เย็น
§ Antibiotics – ยาปฏิชีวนะจะมีความสำคัญสำหรับรายที่มีอาการรุนแรง แต่ไม่ใช่ยาสำหรับใช้ในระยะยาว (maintenance)
นกรณีที่คนไข้มีอาการรุนแรง เช่น มีไข้, มีเสมหะเพิ่มขึ้น เสมหะมีสี และเหนียว
ท่านต้องรายงานแพทย์ให้ทราบทันที เพราะท่านอาจจำเป็นต้องได้ใช้ยาปฏิชีวนะได้
§ Corticosteroids ("steroids") – ยาในกลุ่มนี้จะทำหน้าที่ลดการอักเสบของหลอดลมอักเสบ
การพ่นและหายใจเอาสาร steroids สามารถช่วยคนไข้ได้
แต่ไม่ใช่ทั้งหมด มันเหมาะสำหรับรายที่เป็นโรคพอประมาร-รุนแรง (moderate-to-severe)
ยาในกลุ่มนี้ส่วนใหญ่จะใช้ร่วมกับรายที่ใช้ยา long-acting bronchodilatator
มียาผสมระหว่างสาร steroids (fluticasone) และ long-acting bronchodilatators (salbutamol)ซึ่งสามารถใช้วันละสองครั้ง เช้า-เย็น
§ Antibiotics – ยาปฏิชีวนะจะมีความสำคัญสำหรับรายที่มีอาการรุนแรง แต่ไม่ใช่ยาสำหรับใช้ในระยะยาว (maintenance)
นกรณีที่คนไข้มีอาการรุนแรง เช่น มีไข้, มีเสมหะเพิ่มขึ้น เสมหะมีสี และเหนียว
ท่านต้องรายงานแพทย์ให้ทราบทันที เพราะท่านอาจจำเป็นต้องได้ใช้ยาปฏิชีวนะได้
คนไข้จำเป็นต้องรับออกซิเจนหรือไม่ ?
คนไข้ที่เป็นโรคปอดอุดกั้น (COPD)
ซึ่งมีระดับออกซิเจนในเลือดต่ำ สามารถได้รับประโยชน์จากออกซิเจนจาก
การได้รับออกซิเจนตลอด 24 ชั่วโมง
สำหรับคนไข้ที่อยู่ที่บ้านสามารถมีแทงค์ออกซิเจน หรือเครื่องกำเนิดออกซิเจน
เรียก “oxygen concentrators” หรือถังออกซิเจนขนาดเล็กมีออกซิเจนไว้ใช้
สามสี่ชั่วโมง เหมาะสำหรับเดินทาง
อย่างไรก็ตาม การใช้ออกซิเจนควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์
และต้องระมัดระวังอันตรายอันพึงเกิดจากถังออกซิเจนได้
สรุป:
ในคนปกติจะหายใจ 600 ล้านครั้งในระหว่างมีชีวิต
และคนส่วนใหญ่ สามารถรักษาปอดให้มีสุขภาพที่ได้ด้วยการไม่สูบบุหรี่
และอันตรายจากควันพิษต่าง ๆ และในการวินิจฉัยโรคได้เร็ว
สามารถชะลอการทำลายปอดลงได้ และสามารถป้องกันไม่ให้เกิดภาวะ
แทรกซ้อนไม่ให้เกิดขึ้น ทำให้คุณภาพชีวิตของคนเราให้ดีขึ้น
และเหนืออื่นใด อะไรละจะสำคัญเท่ากับรักษาลมหายใจของท่านเอาไว้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น