วันอังคารที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2555

Lifestyle Changes: Lifestyle over genes

10/16/12

พันธุกรรมเพียงอย่างเดียวจะไม่ทำให้สุขภาพขอคนเราดีขึ้น
แต่สุขภาพจะดีหรือไม่  มันอยู่ที่ว่า  ท่านจะปฏิบัติตนอยางไรต่างหากเล่า
ความจริงมีว่า  การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของท่าน
สามารถทำให้คุณภาพของพันธุกรรมดีขึ้นได้


คนเราเกิดมาได้รับพันธุกรรม (ยีน) จากพ่อ-แม่จำนวนประมาณ 25,000 ตัว
ซึ่งพันธุกรรมเหล่านี้  จะเป็นตัวควบคุมบุคลิกภาพ
และรูปร่างหน้าตาของคนๆ นั้น  นอกจากนั้น  หน่วยของพันธุกรรมบางตัวยังเพิ่ม
หรือลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคได้อีกด้วย
  

ในขณะนี้เซลล์ของเรามีการแบ่งตัว  และมีการเจริญเติบโตขึ้นนั้น
ความผิดปกติทางพันธุกรรม (mutation) สามารถเกิดขึ้นได้ 
โดยมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นใน  DNA    แต่โชคยังดีที่พันธุกรรมของเราส่วนใหญ่ 
สามารถป้องกัน  และแก้ไขความผิดปกติที่เกิดได้  ส่วนความผิดปกติที่เล็ดรอด 
ซึ่งเป็นส่วนน้อย  จะแปรสภาพเป็นโรคไปในที่สุด  


การเปลี่ยนแปลง (mutation) ในพันธุกรรม  ส่วนใหญ่มันเกิดขึ้นเอง
และส่วนที่เหลือจะถูกกระตุ้นโดยสิ่งแวดล้อม  เช่น  การสูบบุหรี่
หรือกัมมันตภาพรังสี ซึ่งสามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งได้


ในขณะที่นักวิจัยส่วนใหญ่ศึกษาเรื่องสิ่งไม่ดีเกิดขึ้นกับ “ยีน”  นั้น
ได้มีนักวิจัยส่วนน้อยบางคน  เริ่มมองไปที่พฤติกรรมที่ดีบางอย่าง
ซึ่งสามารถก่อให้เกิดสิ่งดีๆ ให้เกิดกับ “ยีน” ของคนเรา


เช่น  มีการวิจัยให้คนจำนวน 22 คน ซึ่งกำลังรอทำการตัดเอาชิ้นเนื้อจาก
ต่อมลูกหมาก  เพื่อตรวจหาเซลล์มะเร็ง
ถูกกำหนดรับประทานผัก “บลอคโคลี” หรือ “ถั่ว” สี่ครั้งต่อหนึ่งอาทิตย์ 
เป็นเวลา 12 เดือน ปรากฏว่า  ยีนในร่างกายของเขาเหล่านั้น 
เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น  ซึ่งอาจลดความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งของต่อมลูกหมากได้


นอกจากนั้น  ยังมีการศึกษาถึงความเปลี่ยนแปลงใน telomeres
ซึ่งเกิดจากการออกกำลังกาย  โดยเราพบวา  ที่บริเวณปลายสุดของ chromosomes
จะมี DNA ส่วนหนึ่ง  ที่มีขนาดเล็ก  ทำหน้าที่ปกป้อง chromosome

 
ในขณะที่เซลล์มีการแบ่งตัวอยู่นั้น  ขนาดของ telomeres  จะสั้นลง และสั้นลง...
เช่นเดียวกัน  เราจะพบขนาดของ telomeres สั้นลงในคนที่มีอายุแก่ขึ้น, ปล่อยให้ตัว
เองอ้วน  น้ำหนักมากเกินไป  และร่างกายอยู่ภายใต้ oxidative stress
(ภาวะที่ออนุมูลอิสระกำลังทำลาย DNA …)


นอกจากนั้น  ยังพบอีกว่า คนที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดของหัวใจ,
หัวใจวาย, โรคเบาหวาน, ความดันโลหิตสูง และโรคกระดูกพรุน
จะพบว่า  ขนาดของ Telomeres จะสั้นลง


ผลของการศึกษาในแฝดจำนวน 2,401 คน  พบว่า:
คนที่ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ  จะมี telomeres  ยาวขึ้น 
ส่วนคนที่ไม่ออกกำลังเลยจะได้ผลเป็นตรงข้าม  และ
จากการดู DNA ของคนที่ออกกำลังเป็นประจำ(active) จะดูหนุ่มกว่าคนที่ไม่ออก
กำลังกาย (inactive) ถึง  10  ปี


โดยสรุป  การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อสุขภาพ 
สามารถทำให้สุขภาพโดยรวมดีขึ้น  ลดความเสี่ยงจากการเป็นโรคหลายอย่าง
เช่น  โรคของหัวใจ, เบาหวาน, ความดันโลหิตสูง  และโรคกระดูกพรุน 
และสุดท้าย  สามารถทำให้คนเรามีอายุยืนยาว  และดูหนุ่มขึ้น
ถ้าท่านไม่เชื่อ...ก็ลองพิสูจน์ดู ?


                                                                                        1   < 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น