วันพุธที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2555

Stages of Sleep: REM and Non-REM Sleep 1



10/24/12

เมื่อเรานอน...
ร่างกายของเราพัก...  จะมีการซ่อมแซมส่วนที่สึกหลอ 
เพื่อทำให้ร่างกายของเรามีพลังงานเหมือนเดิม
อย่างไรก็ตาม  การนอนหลับเป็นภาวะที่ไม่ได้หยุดนิ่ง 
ซึ่งจะมีผลกระทบต่อทั้งร่างกาย  และด้านจิตใจ

การนอนหลับทีดี  จะเป็นหนทางที่ดีที่สุดที่สามารถรักษาความเครียด,
ช่วยให้เราแก้ปัญหา  และทำให้ฟื้นตัวจากการเจ็บไข้ได้ป่วย


อะไรเกิดขึ้นระหว่างการนอนหลับ ?

การนอนหลับ  เป็นวงจรของปฏิบัติการตามธรรมชาติ
ซึ่งเกิดแล้วเกิดอีกในรูปแบบเดิมทุกครั้งไป
โดยกระบวนการดังกล่าว  อยู่ภายใต้การทำงาน ของสมอง

วงจรของการนอนหลับ  ประกอบด้วย สองระยะด้วยกัน:
Rapid eye movement (REM) sleep และ non-rapid eye
Movement (NREM) sleep 
ซึ่งประกอบด้วย 4 ระยะ  1 ถึง  4

ในระหว่างการนอนหลับ...
วงจรการนอนหลับของร่างกายจะอยู่ระหว่าง non-REM  และ  REM sleep
โดยจะเริ่มต้นเข้าสู่ภาวะของ “วงจรการนอนหลับ” แบบ  non-REM sleep 
แล้วตามติดด้วยการนอนหลับช่วงที่มีการเคลื่อนไหวลูกตาอย่างรวดเร็ว เรียก
REM  (REM stage of sleep)

และการฝันในขณะนอนหลับ  โดยทั่วไปจะเกิดขึ้นในช่วงการนอนช่วงที่
เป็นการเคลื่อนไหวของลูกตา-  REM sleep

What Is Non-REM Sleep?

ช่วงเวลาของนอนหลับแบบ  NREM sleep  จะมีสี่ระยะ  1 – 4
แต่ละช่วงจะกินเวลา 5 – 15 นาที
การนอนหลับที่ดำเนินไปจนครบวงจร  จะประกอบด้วยกระบวนการที่
เปลี่ยนผ่านอย่างช้าๆ  จากช่วงที่ไม่มีการเคลื่อนไหวลูกตา (NREM)
โดยเริ่มจากระยะที่หนึ่งผ่านไปจนถึงระยะที่สี่  และเข้าสู่ช่วงที่มีการ
เคลื่อนไหวลูกตาอย่างรวดเร็ว (REM sleep)

จากนั้น  กระบวนการนอนหลับจะเริ่มต้นวงจรการนอนหลับขึ้นใหม่
จากระยะที่หนึ่ง ถึงระยะที่สี่  และเข้าสู่ช่วง REM sleep
หมุนเวียนไปเช่นนั้นตลอดช่วงการนอนหลับ

ระยะที่ 1:

ระยะที่หนึ่งของการนอนหลับช่วงที่เป็น non REM sleep
ข้อมูลที่ได้จากจาก polysomnography (sleep  reading) 
เราเราจะได้พบเห็นการเปลี่ยนแปลงจากขณะที่ตื่น กับ  ขณะหลับ
จะลดลง...  หนังม่านตาจะเริ่มปิด แต่สามารถปลุกให้ตื่นได้
ไม่ยาก

อย่างไรก็ตาม  หากมีการปลุกเร้าในระยะนี้  อาจทำให้คนๆ นั้นมีความ
รู้สึกเหมือนไม่ได้หลับ  
ระยะที่หนึ่ง  จะใช้เวลาประมาณ 5 – 10 นาที

ในระยะเริ่มแรกนี้  บางคนอาจมีความรู้สึกเหมือนหล่นจากที่สูง 
ซึ่งอาจทำให้เกิดมีการกระตุกของกล้ามเนื้อ
เรียก hypnic myoclonia


ระยะที่ 2: 

การนอนหลับในช่วงที่สองนี้  จะเป็นการหลับแบบตื้น ๆ  และผลที่ได้
จาก polysomnographic reading  จะพบคลื่นสมองขึ้นลง
(peaks &valleys)  ซึ่งคลื่นดังกล่าว  จะบ่งบอกให้ทราบถึงช่วงเวลา
การเกิดความตึงตัวของกล้ามเนื้อ  และการผ่อนคลายของกล้ามเนื้อ

ในระยะนี้  การเต้นของหัวใจจะช้า  และอุณหภูมิของร่างกายจะลดลง 
เป็นการเตรียมพร้อมเข้าสู่การหลับลึก


ระยะที่ 3 & 4:

เป็นระยะที่มีการนอนหลับลึก  การนอนหลับระยะ 4  จะ
หลับลึกกว่าระยะ 3 เป็นระยะที่ถูกเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า slow-wave
หรือ  Delta sleep

หากคนที่นอหลับในระยะนี้ถูกระตุ้น อาจทำให้เกิดอาการงุนงได้ชั่วระยะ
สั้นๆ ประมาณ 2 – 3 นาทีได้

ในระหว่างการนอนหลับลึกของช่วง NREM sleep…
ร่างกายจะมีการซ่อมแซมร่างกายส่วนที่สึกหลอ  รวมถึงมีเนื้อที่เกิดขึ้น
ใหม่  มีการสร้างกล้ามเนื้อ และกระดูก พร้อมๆ กับทำให้ระบบภูมิคุ้มกัน
มีพลังเพิ่มขึ้น

เมื่อคนเราอายุมากขึ้น  การนอนหลับที่เกิดขึ้น  จะเป็นการนอนหลับได้
ไม่ลึกพอ  นอกจากนั้น  ยังพบอีกว่า  ช่วงของการนอนหลบยังสั้นอีกด้วย
แต่ผลจากการศึกษา  พบว่า  ระยะเวลาของการนอนหลับไม่ได้ลดลงตาม
อายุที่แก่ขึ้นเลย

                                                                                       

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น