10/26/12
ในวงจรการนอนหลับ หนึ่งวงจร จะมี 5 ระยะด้วยกัน
ในวงจรการนอนหลับ หนึ่งวงจร จะมี 5 ระยะด้วยกัน
ประกอบด้วยการหลับที่ไม่มีการเคลื่อนไหวของลูกตา NREM sleep
ซึ่งมี 4 ระยะ (stage 1,2,3 และ 4) ด้วยกัน
และการนอนหลับที่มีการเคลื่อนไหวลูกตาอย่างเร็ว REM sleep
รวมกันเป็น 5 ระยะ โดยจะกินเวลา 90 – 100 นาที ต่อหนึ่งวงจร
ซึ่งจะมีการหมุนเวียนตลอดช่วงเวลาที่นอนหลับในแต่ละคืน
ช่วงเวลาของการนอนหลับใน REM sleep ในแต่ละคืน จะกินเวลา
ประมาณ 2 ชั่วโมง ส่วนเวลานอนในช่วง Non-REM
จะกินเวลาประมาณ 4 – 6ชั่วโมง
แม้ว่าการนอนหลับในช่วงที่ลูกตามีการเคลื่อนไหว REM sleep
จะหลับได้ลึกกว่าการนอนในช่วง Non-REM sleep ก็ตาม
แต่ร่างกายของคนเรา มีความจำเป็นต้องหลับพักผ่อนได้ทั้งสอง
แบบ (Non-REM และ REM sleep) เราจึงจะได้รับการพักผ่อนได้เต็มที่
ถ้าการนอนหลับของคนเราขาดการหลับอย่างใดอย่างหนึ่ง
จะทำให้การนอนหลับขาดประสิทธิภาพไป
จำเป็นจะต้องมีการหลับทั้งสองแบบ Non-REM และ REM sleep
มีรายงานว่า เราจะใช้เวลามากกว่าสองชั่วโมงในแต่ละคืน
เพื่อการฝัน (dreaming) ซึ่งพวกนักวิทยาศาสตร์ ไม่สามารถบอก
ได้ว่า เราฝันได้อย่างไร ? และทำไมเราจึงต้องฝันกัน ?
นาย Sigmund Freud ผู้มีอิทธิพลต่อวงการแพทย์สาขาจิต
เชื่อว่า ความฝัน เป็น “safty valve” สำหรับความปรารถนาในขณะ
ไม่มีความรู้สึกตัว (unconscious desires) ?
สมองส่วนที่เราเรียกว่า pons นอกจากจะทำหน้าที่ส่งคลื่นให้เกิดการ
นอนหลับช่วง REM sleep แล้ว มันยังทำหน้าที่ตัดสัญญาณ
นอนหลับช่วง REM sleep แล้ว มันยังทำหน้าที่ตัดสัญญาณ
ไม่ให้คลื่นประสาทผ่านไปยังไขประสาทไขสันหลังไดอีกด้วย
ซึ่งจะทำให้กล้ามเนื้อหยุดการเคลื่อนไหว (immobile)
หากสมองส่วน pons ไม่สามารถตัดสัญญาณประสาท
ไม่ให้ผ่านไปยังไขประสาทสันหลังได้
อะไรจะเกิดขึ้น ?
ปรากฏว่า มันจะทำให้เราเกิดมีการฝัน หรือมีความฝันเกิดขึ้น
ซึ่งอาจเป็นอันตรายได้ เพราะความฝันที่เกิดไม่มีต้นสายปลายเหตุจากสัมผัสทั้งห้า
จึงเป็นต้นเหตุทำให้คนนอนหลับ เกิดการฝันขึ้น ?
ยกตัวอย่าง คนมีความฝันถึงเกมฟุตบอล...
จะทำให้คนฝัน อาจมีปรากฏการณ์ละเมอวิ่งเข้าชนเฟอร์นิเจอร์
หรือกระแทกคนที่นอนอยู่ข้างๆ ในขณะพยายามจะจับลูกบอลในความฝัน
นักวิทยาศาสตร์บางคนยังเชื่อว่า...
ความฝันที่เกิดขึ้น เป็นความพยายามของสมองส่วน cortex
พยายามที่จะแปลความหมายจากคลื่นต่าง ๆ ที่ได้รับในขณะนอนหลับช่วงที่
เป็นการหลับมีการเคลื่อนไหวของลูกตา (REM sleep)
อย่างไรก็ตาม ความฝันยังเกิดในช่วงการนอนหลับ Non- REM sleep ได้
แต่ความฝันที่เกิด มีแนวโน้มที่จะเป็นความฝันที่สั้น ๆ
เนื้อเรื่องไม่ติดต่อกัน ปราศจากอารมณ์ ไม่มีรูปภาพ
และคนฝันไม่สามารถจำความฝันได้ รู้แต่ว่าฝัน แต่ไม่รู้ว่าฝันเรื่องอะไร
ซึ่งแตกต่างจากความฝันทีเกิดในช่วงนอนหลับแบบ REM sleep
โดยที่ความฝันนั้น เป็นเรื่องราวที่ชัดเจน คนฝันสามารถจำได้...
http://academic.pgcc.edu/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น