วันเสาร์ที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2555

Men and Headaches

10/13/12

เมื่อกล่าวถึงอาการปวดศีรษะผู้ชาย  อาจเป็นเรื่องแปลกสักหน่อย
เพราะเราจะไม่คอยได้พบเห็นกันมากนัก
แต่หากมันเกิดขึ้น  อาการปวดศีรษะอาจเป็นปัญหาใหญ่ก็ได้


ลองมาดูซิว่า  โรคปวดศีรษะผู้ชายเกิดได้กี่ชนิดกันแน่...ซึ่งส่วนใหญ่แล้ว
เราพบว่า  อาการปวดศีรษะซึ่งเกิดขึ้นภายใต้ภาวะที่มีการเปลี่ยนแปลงในวิถีชีวิตนั้น
เขาสามารถช่วยเหลือตัวเองได้ด้วยการซื้อยาจากร้านขายยาได้ 
โดยไม่จำเป็นต้องพึงพาแพทย์เลย


ชนิดต่างของโรคปวดศีรษะ (Types of Headches)

ปวดศีรษะจากความเครียด (Tension Headache)
เป็นชนิดของการปวดศีรษะที่พบได้บ่อยที่สุด  โดยมีอาการรุนแรงจากน้อยไปหามาก
ผู้ชายบางราย อาจมีอาการปวดศีรษะรุนแรง  บางรายมีอาการ  3 – 4  ครั้ง ต่ออาทิตย์


อาการปวดศีรษะที่เกิดขึ้นนั้น  จะมีลักษณะปวดตื้อ เหมือนถูกบีบรัดที่บริเวณกระหมับ
ทั้งสองข้าง มีลักษณะคล้ายกับกะโหลกศีรษะถูกอัดด้วยก้อนหินสองก้อน
นอกจากนั้น  อาจมอาการปวดเมื่อยที่บริเวณไหล่  และคอ


บางราย  อาการปวดจากความเครียดจะถูกกระตุ้นด้วยอาการเมื่อยล้า,  ความเครียด
ทางอารมณ์  หรือมีปัญหาในกล้ามเนื้อต่างๆ ของกระดูกคอ  และกระดูกกราม
ส่วนมากแล้ว  อาการปวดจะสิ้นสุดลงประมาณ  20  นาที  ถึง 1-2  ชั่วโมง


อาการปวดศีรษะดังกล่าว  สามารถทำให้หายได้ด้วยยา acetaminophen, ibuprofen
การประคบด้วยความร้อน  หรืออาบน้ำอุ่นอาจช่วยให้อาการดีขึ้น
หรือบาที  เพียงนอนงีบสักพักอาการอาจดีขึ้นได้


ถ้าท่านมีอาการปวดศีรษะด้วยชนิดดังกล่าว...
ให้พยายามหาต้นเหตุที่ทำให้เกิด  และหลีกเลี่ยงเสีย
อย่าปล่อยให้ตัวเองต้องเหนื่อยล้าจากการทำงาน
การเรียนรู้วิธีผ่อนคลายด้วยกรรมวิธีต่างๆ  สามารถช่วยได้


หากไม่หายจากการปวดศีรษะด้วยชนิดดังกล่าว...
แพทย์อาจสั่งยาที่อาจฤทธิ์นานให้แก่ท่าน  หรืออาจให้ยากลุ่ม tricyclic antidepressants
ให้แก่ท่าน  ซึ่งสามารถป้องกันไม่ให้มันเกิดขึ้นได้บ่อย
  

Migraines:

ปวดศีรษะชนิด  migraines  ซึ่งเกิดในผู้ชายพบได้ไม่บ่อยนัก
แต่หากมันเกิดขึ้นแล้ว  มักจะมีอาการรุนแรงมากเสียด้วย
ภายในช่วงเวลาหนึ่งปี  มีการรายงานเอาไวว่า  มีผู้ชายเพียง  6 % 
จะมีอาการปวดศีรษะ migraines อย่าน้อยหนึ่งครั้ง


10/13/12

ผู้เชี่ยวชาญทางสมองเชื่อว่า  ปวดศีรษะไม่เกรนเกิดจากการเปลี่ยนในการไหลเวียน
ของเลือดภายในสมอง  และมีการเปลี่ยนแปลงการทำงานของเซลล์สมอง
ความผิดปกติในพันธุกรรมอาจมีส่วนเกี่ยวข้อง  มีประมาณ 70 % ของคนปวดไมเกรน
อย่างน้อยจะมีเครือญาติที่ใกล้ชิดมีปัญหาดังกล่าว


แม้ว่าปวดศีรษะไมเกรนสามารถเกิดขึ้นได้โดยไม่มีอาการเตือนล่วงหน้า
มันเกิดขึ้นโดยถูกกระตุ้นด้วยปัจจัยบางอย่าง  ส่วนใหญ่จะถูกกระตุ้นโดย


§  เกิดขึ้นในช่วงสับเปลี่ยนฤดูกาล  เช่นจากในช่วงมีความชื้นสูง 
หรือช่วงฤดูร้อน
§  อดหลับอดนอน  หรือนอนหลับมากเกิน
§  เหมื่อยล้า
§  มีอารมณ์เครียด
§  สัมผัสกับแสงจ้า  หรือไกระพริบ, หรือเสียงดัง หรือรสจัด
§  มันอาจถูกกระตุ้นโดยอาหาร  เช่น  อดอาหาร,  ดื่มอแลกอฮอลล์,
หรือดื่มกาแฟ


ลักษณะของอาการปวดหัวไมเกรน  ในรายที่มีอาการรุนแรง  จะมีลักษณะเต้นตุบๆ
เหมือนการเต้นของชีพจร  ซึ่งมักปรากฏที่บริเวณกระหมับ
หรือบางทีปวดตรงบริเวณใจกลางลูกตา
  

ปวดหัวไมเกรน  ส่วนมากจะเริ่มเกิดในตอนเย็น  หรือในระหว่างนอนหลับพักผ่อน
แต่ในบางคน  จะเกิดตามหลังอาการเมื่อยล้า,  ซึมเศร้า  หรือมอาการหงุดหงิด...
มีประมาณ 20 %  จะเริ่มปรากฏอาการนำ (Aura) เช่น  เห็นแสงวูบวาบ,  สายตา
เกิดมืดมัวชั่วขณะ  หรือเห็นแสงสีรุ้งอะไรทำนองนั้น
อาการดังกล่าว  มักทำให้คนไข้เกิดความรู้สึกมีนชา  หรือรู้สึกเสียวซ่าน
ที่ด้านใดด้านหนึ่งของรางกาย (เช่น บริเวณใบหน้า  และมือ)


นอกจากนั้น  คนที่เกิดอาการปวดหัวไมเกรน  มักจะมีอาการคลื่นไส้  หลายคนมี
น้ำตาไหล  ขี้มูกไหล  ซึ่งอาจทำให้เข้าใจผิดคิดว่า  เป็นการปวดหัวจากโรคไซนัส

ถ้าไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสม  อาการปวดหัวอาจกินเวลายาวนาน
อาจกินเวลา 4 ถึง 24 ชั่วโมงได้...
แค่ 4 ชั่วโมง  ก็นับว่าสาหัสสากรรจ์แล้ว  หากปล่อยทิ้งไว้นาน 
คงทุกข์ทรมานน่าดู  ดังนั้น การรักษาได้เร็วย่อมเป็นสิ่งที่ควรกระทำให้ได้


ถ้าเราสามารถรู้ได้ว่า  มันเป็นโรคไมเกรนได้ตั้งแต่ระยะแรกๆ..ซ.
แค่ยา พาราเซท..หรือ ibuprofen.ก็สามารถควบคุมปวดหัวไมเกรนได้
หรืออาจใช้ยาที่มีส่วนระหว่างยาแกปวดกับพวก caffeine ก็สามารถช่วยได้


ในกรณีที่มีอาการรุนแรง  แพทย์จะเปลี่ยนเป็นยา Triptans
ซึ่งมีในรูปยาเม็ด  ยาพ่น  หรือฉีด  โดยที่คนไข้สามารถฉีดให้ตนเองได้
Triptans  จัดเป็นยาที่ดี  สามารถลดอาการปวดหัวไมเกรนในคนไข้จำนวน 70 %
ได้ภายในสองชั่วโมง


ผลเสียของยา triptans  ก็มีได้เช่นกัน  โดยที่ยาตัวนี้มีผลกระทบต่อการไหลเวียน
ของเลือดสู่หัวใจ  และสู่สมอง  ดังนั้น  ในคนที่เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ
หรือมีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ  ไม่ควรใช้ยาตัวดังกล่าว
นอกเหนือจากนั้น  ยาตัวนี้ไม่ควรใช้ร่วมกับยา SSRI (antidepressants)


ในกรณีที่เกิดมีอาการปวดหัวไมเกรนบ่อย  เช่น  2 – 3 ครั้งต่ออาทิตย์...
ในกรณีเช่นนี้  ควรพิจารณาให้ยาป้องกันเอาไว้
ยาที่ผลดี  คือยาในกลุ่ม  beta blockers, ยาในกลุ่ม antidepressanats บางตัว และ
ยาในกลุ่มรักษาโรคชัก (anti-seizures medication)


การที่ท่านจะใช้ยาตัวใด ย่อมขึ้นกับปัจจัยหลายอย่าง  เช่น  สุขภาพโดยรวมของท่าน
และท่านอาจจำเป็นต้องลองใช้ยาหลายขนานดู  หรือใช้ยาหลายตัวร่วมกัน
และคนไข้บางคนอาจได้รับประโยชน์จากการพบผู้เชี่ยวชาญ
ซึ่งมีประสบการณ์ในการรักษาอาการปวดศีรษะเป็นการเฉพาะ


                                                                                             อ่านต่อ  >>

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น