วันอาทิตย์ที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2555

เมื่อเรานอนไม่หลับ : เราจะทำอย่างไร? 2

10/21/12
10/21/12


มีแนวทางการรักษาอาการนอนไม่หลับ 4 อย่างด้วยกัน

1.    Sleep Hygiene- เป็นการสร้างนิสัยการนอนให้เป็นเวลา
ซึ่งสามารถช่วยรักษาอาการนอนไม่หลับได้  เรียกว่า  sleep hygiene”

คำแนะนำต่อไปนี้  สามารถช่วยให้ท่านสามารถแก้นิสัยการนอนไม่หลับ ของท่าน 
และสามารถทำให้ท่านสามารถนอนหลับได้ดีขึ้น

o   ใช้ที่นอนของท่านเพื่อการนอนหลับ  และเพื่อการปฏิบัติกิจเพื่อ
ชีวิตเท่านั้น (sexual activity) อย่าได้ใช้ที่นอนของท่านเพื่อการ
อื่นโดยเด็ดขาด  เช่น  อ่านหนังสือ  ดูทีวี เป็นต้น

ถ้าท่านนอนไม่หลับภายใน 15 – 20 นาที  จงลุกขึ้นจากเตียง
แล้วเดินไปยังห้องอื่น  อ่านหนังสือภายใต้แสงสลัว  อย่าดูทีวี
เมื่อท่านรู้สึกง่วงเมื่อใด...ให้กลับไปนอนทันที

o   อย่าหลับงีบในตอนกลางวัน  ยกเว้นมีความจำเป็นเท่านั้น  และ
ถ้าจำเป็นก็ไม่ควรงีบหลับนานเกิน 15 – 20  นาที 
โดยเฉพาะในช่วงต้นๆ ของตอนบ่าย

o   ออกกำลังกายให้มาก  ควรออกกำลังกายทุกวัน วันละ 30 -45
นาที  ด้วยการเดินจะเป็นวิธีที่เหมาะที่สุด  ซึ่งถ้าเป็นตอนเช้าจะดีมาก 
หลังการออกกำลังกาย  ควรทำการยืfเส้น-ยืดสาย

ก่อนนอน  อาจทำ “โยคะ”  เพื่อเป็นการผ่อนคลายกล้ามเนื้อ 
และจิตใจของท่าน

o   ถ้าเป็นไปได้  ควรกำหนดการทำงานชนิดท้าทาย  หรืองานหนัก
ในตอนเช้าเสมอ  งานเบาในตอนบ่าย

ให้กำหนดเวลานอนให้ชัดเจน  และปฏิบัติตามโดยเคร่งคัด
และควรปฏิบัติการผ่อนคลายก่อนเวลานอนให้เป็นประจำ 
เช่น การอาบน้ำอุ่น  หรือฟังเพลงเบาๆ  (soothing music)
ทำให้รู้สึกสบายใจ

o   รับประทานอาหารที่เหมาะสม  งดเว้นการดื่มเครื่องดื่มชนิดกระตุ้นประสาท
(caffeine) โดยเฉพาะในตอนเทียงวัน
 
หลังอาหารเย็น  ให้หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มทุกชนิด  เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้ตื่น
ขึ้นปัสสาวะในตอนกลางคืน
 
ถ้าท่านเป็นคนชอบรับทาน bedtime snack ก็ให้รับทานชนิดเบาๆ
ให้หลีกเลี่ยงการดื่ม “แอลกอฮอล” หลังอาหารเย็น
แม้บางคนจะกล่าวว่า  ช่วยให้นอนหลับดีขึ้น 
แต่ตามเป็นจริง  มันทำให้คุณภาพการนอนหลับของท่านเสียไปได้

o   ห้องนอนของท่านต้องเหมาะสม  ซึ่งจะทำให้ท่านหลับได้อย่างสบาย
ไม่มีเสียงรบกวน และมีความมืด  การไหลเวียนของอากาศดี 
มีอุณหภูมิของห้องอยู่ในระดับพอดี (ตลอดระยะเวลานอนหลับ)

o   เหนืออื่นใด  ไม่ต้องกังวลในเรื่องอะไรทั้งนั้น   เพียงแค่ทำใจให้สงบนิ่ง 
ด้วยการผ่อนคลายทั้งกาย และใจ 

ในเวลานอน  อย่าไปทบทวนปัญหาใดๆที่ท่านมี และอย่าวางแผนใด ๆ
ให้คิดแต่ในทางผ่อนคลาย  และนำมาซึ่งความสุขเท่านั้น


2.   พฤติกรรมบำบัด (behavioral therapy)
ถ้าวิธีการนอนหลับตามวิธี sleep hygiene  ไม่สามารถแก้ปัญหาได้ 
พฤติกรรมบำบัดอาจช่วยได้  ซึ่งมีหลายวิธีที่เราสามารถศึกษา 
และนำไปประยุกติใช้  ดังนี้

o   Relaxation training  - มีหลายวิธีด้วยกัน  เช่น  การหายใจลึก ๆ ;
คลายกล้ามเนื้อ (progressive muscular relaxation…) 
หรือ  ใช้ยา (medication)
การผ่อนคลายด้านจิตใจในเวลานอนจะช่วยให้หลับได้ดี

o   Stimulus control therapy-ให้ล้มตัวลงนอนบนเตียงเฉพาะตอนง่วงนอนเท่า
นั้น  อย่าอ่านหนังสือ หรือดูทีวีบนเตียงเป็นอันขาด
ให้ลุกจากเตียงในตอนเช้าในเวลาเดียวกันทุกวัน  และหลีกเลี่ยงการงีบหลับ
ในตอนกลางวัน

o   Cognitive therapy. ขจัดความคิดด้านลบออกทิ้ง  และแทนที่ด้วยความคิด
ด้านบวก  ยกตัวอย่าง  เช่น “ฉันไม่เคยนอนหลัยเลย...”,  “พรุ่งนี้  ฉันพินาศ
แน่...”  ให้เปลี่ยนเป็น:  “ถ้าฉันนอนผ่อนคลายบนเตียงได้  ร่างกายของฉันจะ
แก้ไขตัวของมันเอง”  เป็นต้น


3.    Supplementsอาหารเสริมที่นิยมมากที่สุด  ได้แก่  melatonin  และ valerian
ที่ชาวอเมริกันนิยม  สาร melatonin  ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ถูกสร้างโดยต่อมใต้สมอง 
ชื่อ  Pineal gland  หากได้ในขนาดน้อย (low dose) อาจมีประโยชน์ในการบรรเทา
อาการเหนือล้า...ส่วน  Valerian เป็นสมุนไพร ซึ่งมีหลักฐานน้อยมาก


4.    Medicationsยาที่ใช้เพื่อรักษาอาการนอนไม่หลับ  ไม่ว่าท่านจะซื้อหาเอง 
หรือแพทย์เป็นคนสั่งจ่าย  ท่านต้องปฏิบัติตามแนวทาง ดังนี้:

a.    ใช้ยาเพื่อการรักษาพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปเท่านั้น
b.    ใช้ยาในขนาดน้อยที่สุด  ซึ่งใช้แล้วได้ผล
c.    อย่ารับประทานยาทุกคืน  และใช้เฉพาะจำเป็นจริง ๆ 
d.    บางครั้งอาจจำกัด  2 – 4  เม็ด ต่ออาทิตย์
e.    ให้พยายามหยุดยาหลังจากทานยามานานได้ 3 – 4 อาทิตย์
f.     ให้หยุดยาอย่างช้าๆ  เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดการนอนไม่หลับเพราะ
ไม่ตอบสนองต่อยา


มียานอนหลับหลายขนานให้ท่านซื้อจากร้านขายยาได้ (over-the-counter)
ส่วนมากจะมีส่วนประกอบของ antihistamines
เช่น diphenhydramine หรือ doxylamine  แต่ผู้เชี่ยวชาญทั้งหลายไม่นิยม
ให้ใช้พวกนี้ในระยะยาว  เพราะมีผลข้างเคียง  เช่น  ง่วงในตอนกลางวัน,
คอแห้ง,  ท้องผูก, และปัสสาวะลำบาก- โดยเฉพาะชายสูงอายุที่มีต่อมลูก
หมากโต  ไม่ควรใช้ยาพวกนี้

ในปัจจุบัน  แพทย์นิยมเลือกใช้ยาในสามกลุ่มต่อไปนี้:

a.    Benzodiazepines (temazepam, oxazepam, estazolam)
เป็นยาเก่าแก่  ซึ่งครั้งหนึ่งใช้เป็นยาหลักสำหรับรักษาคนนอนไม่หลับ
หากใช้มากไปสามารถทำให้ติดเป็นนิสัยได้  และสามารถทำให้เกิดอาการ
ง่วงนอนในตอนกลางวัน

b.    Imidazopyrines (eszapiclone, zaleplon, zolpidem- เป็นยาใหม่ 
ออกฤทธิ์ที่สมอง (receptors) เช่นเดียวกับยาในกลุ่ม benzodiazempines
แต่ออกฤทธิ์ได้เร็วกว่า  และถูกขับออกจากร่างกายได้เร็ว 
โดยไม่ก่อให้ติดเป็นนิสัย  หรือทำให้ง่วงในตอนกลางวัน 
แต่มันสามารถก่อให้เกิดพฤติกรรมประหลาดได้

c.    Melatonin receptor agonist (ramelteon) - ยาตัวนี้จะออกฤทธิ์ที่สมอง
(brain receptors) เหมือนกับฮอร์โทน melatonin  มันออกฤทธิ์ได้เร็ว 
และอยู่ในร่างกายสั้นมาก  ไม่ก่อให้เกิดผลข้างเคียงใดๆ


คนที่นอนไม่หลับเกือบทุกคน  สามารถได้รับประโยชน์จากการปรับเปลี่ยนวิธีการ
นอนหลับ (sleep hygiene)  ได้
คนไข้ทุกรายที่นอนไม่หลับ  ควรปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุ 
ซึ่งอาจเป็นต้นเหตุทำให้เกิดอาการนอนไม่หลับ


ถ้าหากพบ...แพทย์สามารถรักษาต้นเหตุนั้นได้  และทำให้คนไข้นอนหลับได้
สำหรับอาการนอนไม่หลับไม่ทราบสาเหตุ  ซึ่งเป็นชนิด primary insomnia นั้น
ให้พิจารณาพฤติกรรมรักษาก่อน  แล้วค่อยมาพิจารณาใช้ “ยานอนหลับ ทีหลัง


ก่อน    <     1    2

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น