วันพฤหัสบดีที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2555

Small Cell Lung Cancer 1

10/4/12


มะเร็งของปอดชนิดเซลล์ขนาดเล็ก...
จัดเป็นมะเร็งของปอดชนิดหนึ่ง  ซึ่งเกิดขึ้นในปอด  แต่มันอาจเกิดที่ส่วนอื่น
ของร่างกายได้  เช่น  เกิดในกระเพาะลำไส้, กระเพราะปัสสาวะ หรือต่อมลูกหมาก
จัดเป็นมะเร็งที่เจริญได้อย่างรวดเร็ว  และกระจายได้ไวมาก
ด้วยเหตุดังกล่าว  มันจึงเป็นมะเร็งที่ยากต่อการรักษา


มะเร็งชนิดนี้  บางครั้งเราเรียกว่า  oat cell cancer 
เพราะมันมีรูปลักษณะเหมือนข้าวโอท  ที่พบเห็นภายใต้กล้องจุลทรรศน์


เนื่องจากเลือดและน้ำเหลืองไหลผ่านปอดเหมือนกับที่มันไหลผ่านส่วนอื่นของ
ร่างกาย  ดังนั้นจึงทำให้มะเร็งปอดชนิดเซลล์มีขนาดเล็ก
จะสามารถกระจายไปที่ส่วนอื่นของร่างกายได้อย่างรวดเร็ว
มันเป็นมะเร็งที่สามารถกระจ่ายไปยังอวัยวะอะไรก็ได้  แต่ส่วนใหญ่
จะกระจายไปที่สมอง,  ตับ,  ต่อมเหนือไต  และกระดูก


คนไข้ส่วนใหญ่ เมื่อแพทย์ตรวจพบพบว่า  มะเร็งได้แพร่กระจายไปที่อื่นแล้ว
ส่วนใหญ่มะเร็งชนิดนี้จะปรากฏในอวัยวะอื่นๆ  ก่อนที่มันจะปรากฏในภาพที่เรา
ตรวจ (imaging tests) ที่พบเห็นในปอด ดังนั้น จึงทำให้มะเร็งชนิดดังกล่าว
ไม่สามารถรักษาให้หายได้ด้วยการผ่าตั


การรักษาตามมาตรฐานสำหรับมะเร็งปอดชนิดเซลล์ขนาดเล็ก 
ประกอบด้วยการรักษาด้วยเคมีรักษา  หรือรังสีรักษา 
แต่ไม่ใช้การผ่าตัดอย่างแน่นอน


เป็นที่รู้กันว่า  Small cell lung cancers บางครั้งจะทำหน้าทีเหมือนต่อมขนาดเล็ก
ซึ่งมันสามารถผลิตสารเคมี และฮอร์โมนหลายตัว  และสารเหล่านี้สามารถ
ทำให้คนไข้รู้สึกไม่สบาย  โดยแพทย์จะเรียกภาวะดังกล่าวว่า
“paraneoplastic  disorders”


และอาการต่างๆ ที่เกิดขึ้น (paraneoplstic disorder) 
บางครั้งทำให้แพทย์สงสัยว่า  เป็นมะเร็งได้  ยกตัวอย่างเช่น
§  ระดับของ sodium หรือ potassium ในเลือดต่ำ
§  ระดับน้ำตาลในเลือดสูงทั้ง ที่ไม่เป็นโรคเบาหวาน
§  กล้ามเนื้ออ่อนแรงผิดปกติ
§  มีอาการทางประสาทที่ผิดธรรมดา (atypical)

มะเร็งปอดชนิดนี้ (small cells) มักจะเกิดตรงบริเวณใกล้เส้นเลือดใหญ่ของทรวงอก 
ซึ่งมีบ่อยครั้งที่ตัวมะเร็งเองเข้าไปอุดเส้นเลือดดำใหญ่ (superior vena cava)
เป็นเหตุให้เลือดดำจากศีรษะ  และสมองกลับสู่ร่างกายได้ไม่สะดวก
เรียกภาวะนี้ว่า  superior vena cava syndrome 
ทำให้คนไข้มีอาการปวดศีรษะ, ใบหน้าแดง,  ศีรษะบวมฉุ  และ
เส้นเลือดดำบริเวณหน้าอกด้านหน้า และคอโป่งพอง

อาการ(Symptoms)
ท่านใดมีอาการต่อไปนี้  อาจทำให้สงสัยได้ว่า  เป็นมะเร็งของโรคปอ

§  มีอาการไอเรื้อรัง
§  ไอเป็นเลือด
§  หายใจลำบาก หรือหายใจมีเสียง.
§  น้ำหนักลดโดยไม่ทราบเหตุ
§  เหนื่อยเพลีย
§  กลืนลำบาก
§  เจ็บบริเวณหน้าอก, ไหล่ หรือต้นแขน
§  ปวดกระดูก
§  เสียงแหบ
§  ปวดศีรษะ, มีอาการสับสน หรือเป็นลมชัก
§  หน้า  คอ  และต้นแขนบวม
§  เส้นเลือดบริเวณทรวงอก และต้นแขนโป่งพอง


การวินิจฉัย (Diagnosis)
ส่วนใหญ่มะเร็งของปอดจะถูกตรวจพบโดยบังเอิญ  โดยการถ่ายภาพเอกซเรย์ปอด
ส่วนการตรวจอย่างอื่น ๆ ซึ่งสามารถนำมาใช้ในการพิจารณายืนยันการวินิจฉัยโรค
ได้แก่  CT scans, MRI  และ PET scanning  โดยมันสามารถบอกให้ทราบถึง:

§  รูปร่าง, ขนาด  และตำแหน่งของมะเร็ง
§  บอกให้ทราบว่า  มะเร็งได้มีการแพร่กระจายไปที่อื่น
§  บอกตำแหน่งว่า  ควรเอาชิ้นเนื้อส่วนใดมาทำการตรวจ


นอกจากนั้น  แพทย์สามารถตรวจเซลล์มะเร็งจากเสมหะของคนไข้ 
โดยการตรวจภายใต้กล้องจุลทรรศน์  หรือมิฉะนั้นแพทย์อาจดูดเอาน้ำจากช่องในปอด
มาทำการตรวจหาเซลล์มะเร็งได้


ในการตรวจหาเซลล์มะเร็ง  แพทย์อาจเอาชิ้นเนื้อจากต่อมน้ำเหลือง  หรือชิ้นเนื้อ
ที่สงสัย  ซึ่งได้จากการใช้เข็มเจาะ  หรือใช้เครื่องมือสอดเข้าทางหลอดลม
สามารถเอาชิ้นเนื้อมาทำการตรวจได้


เนื่องจากมะเร็งปอดชนิดเซลล์ขนาดเล็ก สามารถแพร่กระจายได้รวดเร็ว 
และไปได้ไกล  ดังนั้นเราจึงจำเป็นต้องทำการตรวจเช็คร่างกายส่วนอื่นๆ ด้วย
เช่น  การทำ bone scan,  bone marrow biopsy , CT หรือ MRI scans ของศีรษะ
และสมอง


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น