วันเสาร์ที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2555

COPD & Heart Disease : Atrial Fibrillation 4

9/27/12


การรักษา (Treatment)


การรักษาการเต้นหัวใจผิดปกติแบบ atrial fibrillation (AF)
ซึ่งเกิดจากโรคหลอดเลือดหัวใจ (cardiovascular) ประกอบด้วย

§  ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมชีวิต (Lifestyle changes)
§  ใช้ยาลดไขมันที่มีระดับสูง (Cholesterol-lowering medications)
§  ใช้ยารักษาความดันโลหิตสูง (Blood pressure medications
§  ทำการผ่าตัด  Angioplasty & Coronary artery bypass surgery

ในกรณีที่ atrial fibrillation ที่เกิดจากการมีฮอร์โมนไทรอยด์ในกระแสเลือดสูง
สามารถทำการรักษาด้วยการทำอย่างใดอย่างหนึ่ง
เช่น  ให้การรักษาด้วยยารักษาต่อมไทรอยด์ 
หรือด้วยการผ่าตัดต่อไทรอยด์  สามารถทำให้อาการเต้นผิดปกติได้

และในรายที่เกิดจากโรคหัวใจรูมาติค 
การรักษา atrial fibrillation อาจกระทำได้ด้วยการผ่าตัดด้วยการเปลี่ยนลิ้นหัวใจ 
ซึ่งถูกทำลายด้วยโรคได้

ในกรณีของการเต้นของหัวใจผิดปกติ (irregular)
สามารถรักษาได้ด้วยยาดังต่อไปนี้:
Beta blockers, calcium-channel blockers  และ  digoxin

นอกจากนั้น  ในคนไข้ที่เกิดอาการดังกล่าว 
มักจะได้รับยาป้องกัน  ไม่ให้เกิดมีการสร้างก้อนเลือดขึ้น 
ซึ่งเป็นยาที่ทำให้เลือดไหลเวียนได้สะดวกขึ้น เรียกว่า blood thinning  
เช่น  aspirins  , warfarin…

ยากลุ่ม Anti-arrhythmia อาจนำมาใช้ป้องกันไม่ให้คนไขเกิดอาการ (AF) ได้

การรักษาอีกวิธีหนึ่ง  คือ  การช็อคด้วยกระแสไฟฟ้า (electrical conversion)
วิธีการดังกล่าวจะใช้ได้ผลในคนไข้ที่เป็น AF แทบทุกราย
แต่อย่างไรก็ตาม  สุดท้ายประมาณครึ่งหนึ่งมันจะกลับเป็นอีกได้

ผลจากการศึกษาชี้ให้เห็นว่า
การช็อคด้วยกระแสไฟฟ้า (electrical conversion) 
ทำให้การเต้นของหัวใจผิดปกติกลับสู่สภาพปกตินั้น 
จะไม่ได้ทำให้ชีวิตของคนไข้ยืนยาวขึ้นเลย

ถ้าการรักษาด้วย “ยา”  ไม่สามารถใช้ได้ผลในคนที่เป็น atrial fibrillation
การรักษาด้วยกระแสไฟฟ้า(cardioversion) 
อาจจำเป็นต้องนำมาใช้กับคนไข้รายดังกล่าว

สำหรับคนที่มีหัวใจเต้นผิดปกติ  ชนิด  AF  แต่ไม่มีอาการใดๆ
แพทย์ส่วนใหญ่จะสั่งยาป้องกันไม่ให้มีก้อนเลือดเกิดขึ้น  ซึงมีชื่อเรียก
blood thinners ให้แก่คนไข้...
ซึ่งวิธีการดังกล่าว  น่าจะเพียงพอต่อการรักษาคนไข้รายนั้น

บางครั้ง  ยาไม่สามารถควบคุมอาการของคนไข้ 
หรือไม่สามารถควบคุมอัตราการเต้นของหัวใจได้ 
ในกรณีเช่นนี้  มีวิธีการรักษาอีกแบบเรียก
catheter radiofrequency  Ablation   เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ใช้ได้ผล

วิธีการดังกล่าว  เขาใช้คลื่นวิทยุที่มีความถี่สูง (radiofrequency)
ทำลายกล้ามเนื้อหัวใจช่องบน (atria) และบริเวณใกล้เคียง
ไม่ให้สามารถปล่อยคลื่นกระแสไฟฟ้าได้อีกต่อไป

อีกวิธีหนึ่ง  เป็นการสร้าง “แผลเป็น” ให้เกิดขึ้นที่กล้ามเนื้อของหัวใจช่องบน
จาก “แผลเป็น” ที่เกิดขึ้น  จะขัดขวางไม่ให้คลื่นกระแสไฟฟ้ากระจายผ่านไปได้ 
ยังผลให้ไม่เกิด  Atrial fibrillation ขึ้นได้



·    รู้สึกหัวใจสั่น (Palpitations)
·    เป็นลมหมดสติ (Faintness)
·    วิงเวียน (Dizziness)
·    อ่อนแรง (Weakness)
·    Shortness of breath
·    เจ็บหน้าอก (Chest pain)


การพยากรณ์โรค (Prognosis)
เมื่อทราบสาเหตุทำให้เกิดภาวะ atrial fibrillation และสาเหตุนั้นๆ
เมื่อได้รับการรักษา  ย่อมทำให้ atrial fibrillation หายไปได้

ในคนที่เป็นโรค rheumatic heart  disease  ซึ่งเป็นมานาน หรือเป็นโรค
อะไรก็ตามที่ทำให้หัวใจสองห้องบนโต  จะไม่ทำให้ภาวะ atrial fibrillation หายไป 
มันจะคงอยู่กับคนไข้ตลอดไป

การให้ยาป้องกันไม่ให้เม็ดเลือดจับตัว (blood thinning)
สามารถลดความเสี่ยงจากต่อการเกิดภาวะสมองขาดเลือด (stroke)
หรือภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ได้



Previous  

http://www.intelihealth.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น