10/1/12
Continued
การวินิจฉัย (Diagnosis)
ในการวินิจฉัยโรคใดก็ตาม จำเป็นต้องอาศัยข้อมูลจากประวัติความเจ็บป่วย
และข้อมูลที่ได้จากการตรวจร่างกาย
เมื่อท่านไปพบแพทย์ ท่านจะถูกซักถามในเรื่องเกี่ยวกับประวัติการเกิดอาการต่างๆ
เช่น อาการไอ, ไข้, น้ำหนักลด, เหงื่อออกในตอนกลางคืน, ต่อมน้ำเหลืองโต
และปัญหาเกี่ยวกับการหายใจ
แพทย์จะถามท่านด้วยว่า ท่านเคยสัมผัสกับใครก็ตามที่เป็นวัณโรค
หรือถามถึงประวัติเกี่ยวกับการเดินทางไปยังประเทศที่กำลังพัฒนา
ซึ่งเป็นบริเวณที่พบวัณโรคได้บ่อยสุด
ต่อจากนั้น แพทย์จะทำการตรวจร่างกายของท่าน...
แพทย์เขาอาจถามว่า ท่านเคยได้รับการตรวจผิวหนังเกี่ยวกับการเป็นวัณโรค
(tuberculosis skin tests) และผลของการตรวจเป็นอย่างไร ?
ถ้าแพทย์เขาสงสัยว่า ท่านอาจเป็นวัณโรคที่กำลังมีฤทธิ์
(active pulmonaryTuberculosis) แพทย์จะสั่งให้ตรวจภาพเอกซเรย์ปอดของท่า
ส่วนเสมหะจะถูกส่งให้ทำการตรวจหาเชื้อวัณโร
นอกจากนั้น เสมหะอาจส่งทำการตรวจเพาะเชื้อ ซึ่งต้องกินเวลาหลายอาทิตย
กว่าจะทราบผล เพราะเชื้อวัณโรคเจริญได้ช้ามาก
สำหรับคนที่วัณโรคของอวัยวะนอกปอด (extra-pulmonry)
คนไข้กลุ่มนี้ ภาพที่ได้จากเอกซเรย์ปอดอาจปกติ เสมหะไม่มีเชื้อวัณโรค
ในกรณีเช่นนี้ มีการตรวจด้วยวีการอย่างอื่น ซึ่งนำมาช่วยวินิจฉัยโรคได้ เช่น:
Ø การตรวจเลือดที่เรียกว่า QuatinFERON-TB GOLD
Ø ทำการเพาะเชื้อวัณโรคจากน้ำที่ได้จากร่างกาย เช่น น้ำปัสสาวะ หรือ
น้ำที่ได้จากบริเวณรอบ ปอด
Ø ตัดเอาชิ้นเนื้อไปตรวจ เพื่อดูลักษณะการเปลี่ยนแปลงที่เข้ากับวัณโรค
Ø ทำการตรวจชิ้นเนื้อ เพื่อหาหลักฐานของวัณโรคโดยใช้กระบวนการที่
เราเรียกว่า PCR (polymerase chain reaction)
ซ่อนตัวในร่างกาย ไม่ให้มันมีฤทธิ์ทำร้ายร่างกายคนนั้นได้
และเชื้อดังกล่าว ก็จะอยู่ในสภาพไม่มีพิษสงใด ๆ (inactive) ไปตลอดชีวิต
การตรวจ PPD test อาจเป็นผลบวก ซึ่งบ่งบอกให้ทราบว่า
คน ๆ นั้นมีประวัติการอักเสบติดเชื้อวัณโรค แต่โอกาสที่เขาจะเป็นวัณโรคที่มี
ฤทธิ์ (active)เป็นอันตรายต่อคนมีได้เพียง 10 % เท่านั้นเอง
มีข้อยกเว้น คือ ภูมิต้านทานของท่านเกิดอ่อนแอโดยโรคเอดส์ /HIV หรือ
ระบบภูมิต้านทานเกิดอ่อนแอจากการรับประทานยายับยั้งการทำงานของ
ระบบภูมิต้านทานเอง
ถ้าท่านเป็นวัณโรคในระยะมีฤทธิ์ (active tuberculosis)
เราจำเป็นต้องให้ยารักษาอย่างน้อยสองอาทิตย์ จึงจะสามารถทำให้มันไม่สามารถ
แพร่กระจายไปยังคนอื่นได้
อย่างไรก็ตาม เราจะต้องใช้เวลาในการรักษาอย่างน้อย หกเดือน
จึงจะทำให้เชื้อวัณโรคถูกทำลายได้หมด แต่มีคนไข้บางราย ได้รับเชื้อวัณโรคที่
ต้านยาที่เราใช้รักษาวัณโรคได้ ในกรณีดังกล่าว เชื้อวัณโรคที่มีความต้านทานต่อ
ยารักษา จำเป็นต้องให้ยานานถึงสองปี
ในประเทศที่กำลังพัฒนา มีอุบัติการณ์เกิดวัณโรคได้สูง ซึ่งในบริเวณดังกล่าว
จะได้รับการฉีดวัคซีนกันวัณโรคตั้งแต่แรกเกิด
สำหรับสหรัฐฯ หรือในยุโรป เนื่องจากการแพร่กระจายโรคดังกล่าวต่ำมาก ๆ
เขาจึงไม่มีความจำเป็นต้องฉีดวัคซีนป้องกันวัณโรคเหมือนประเทศด้อยพฒนา
สำหรับคนที่ตรวจผิวหนังสำหรับวัณโรค (PPD) ได้ผลบวก และไม่เคยได้รับยารักษา
เพื่อป้องกันวัณโรคมาก่อน เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อแปรสภาพเป็นเชื้อที่มีฤทธิ์ (active)
ควรได้รับยา isoniazid (INH) ประมาณ 9 เดือน
สำหรับคนที่เป็นโรเอดส์/HIV ซึ่งอาศัยอยู่ในโลกที่มีอัตราการเกิดวัณโรคสูง
สมควรได้รับยา isoniaid (INH) ถึงแม้ว่าลการตรวจ PPD จะเป็นผลลบก็ตามที
การรักษา (Treatment)
ในการรักษาวัณโรค แพทย์ส่วนใหญ่จะให้ยาสี่ตัวรวมกัน เช่น isoniaid (INH),
Rifampin (Rifadin, rimactane), pyrainamide และ ethambutol (Mymbutol)
ยาทั้งสี่ตัวถือว่าเป็นยากลุ่มแรกที่นำมาใช้รักษาวัณโรค (first line therapy)
ในการรักษาด้วยยาทั้งสี่ตัว จะใช้เวลานาน 6 เดือน หรือนานกว่านั้น
ความสำคัญมีว่า คนไข้จะต้องรับทานยาตามสั่งทุกประการ
เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อเกิดดื้อยา นอกจากนั้น ใครที่อยู่ใกล้ชิดกับคนไข้ ควรได้รับ
การตรวจคัดกรองสำหรับวัณโรค และให้การรักษาหากเขาเหล่านั้นเกิดการอักเสบ
จากเชื้อวัณโรค
ในกรณีที่เชื้อเกิดดื้อยา isoniaid และ rifampin (ซึ่งเป็นยาที่มีประสิทธิภาพสูงสุด
สำหรับรักษาวัณโรค) การดื้อยาเช่นนี้ เราเรียกว่า multidrug resistant (MDR-TB)
เมื่อพบคนไข้ประเภทดังกล่าว เราจำเป็นต้องใช้ยากลุ่มที่สอง (second-line TB
Medictions) ซึ่งประกอบด้วย ethionamide (Trecator-SC), moxifloxacin (Avelox),
Levofloxacin (Levaquin), cycloserine (Seromycin), Kanamycin (Kntrex)
และยาอื่น ๆ
ยาในกลุ่ม second-line จะมีผลข้างเคียงสูงกว่ายากลุ่ม First-line มาก
นอกจากนั้น เรายังพบอีกว่า ประสิทธิภาพไม่ค่อยสูงนัก
จำเป็นต้องให้คนไข้รับทานยานานถึงสองปี
การที่เชื้อวัณโรคเกิดดื้อต่อยารักษาแล้ว ยังปรากฏว่ามีเชื้อวัณโรคบาง strains จะ
ตือต่อยาได้มากเป็นพิเศษ- extensively drug-resistant (XDR-TB)
ซึ่งพบเห็นในหลายประเทศทั่วโลก โดยเชื้อวัณโรคเหล่านั้นจะด้านต่อยา isoniaid,
Rifampin, the aminoglycoside drugs family (Kanmycin) และตระกูล quinolone
(เช่น levofloxacin, moxifloxacin)
คนไข้รายใดที่เป็นวัณโรคชนิด XDR-TB….
จะยากต่อการรักษาเป็นอย่างยิ่ง และบางครั้ง อาจจำเป็นต้องรักษาด้วยวิธีศัลยกรรม
ตัดเอาส่วนที่เป็น (เนื้อปอด) ออกทิ้งไป
ในสมัยก่อนโน้น...เราจะรู้สึกว่า คนที่เป็นวัณโรคที่ดื้อต่อยารักษา
ในประเทศที่กำลังพัฒนา ถือว่าเป็นโรคที่ไม่มีทางรักษาหาย เพราะยาที่เป็นกลุ่ม second-line
มีราคาแพงมาก แต่พอมายุคปัจจุบัน เราสามารถรับยาจากองค์การอนามัยโลก (WHO)
จึงทำให้การรักษาด้วยโครงการใช้ยากลุ่ม second-line
จึงเริ่มบังเกิดขึ้นในประเทศต่าง ๆ ที่กำลังพัฒนา
เป็นที่ทราบกันว่า คนเป็นโรคมีเชื้อที่ดื้อต่อยารักษา
ส่วนใหญ่แล้วสามารถรักษาให้หายขาดได้หากคนไข้ปฏิบัติตามแนวทางการรักษา
ซึ่งควรเริ่มต้นก่อนที่ปอดจะถูกทำลาย
สำหรับคนเป็นวัณโรคที่เป็นเชื้อที่ดื้อต่อยารักษา ย่อมมีโอกาสที่จะรักษาให้หายได้
หรือไม่ ทั้งนี้อาจเป็นเพราะเชื้อวัณโรคดื้อต่อยารักษา และเนื้อของปอดถูกทำลาย
ก่อนที่จะได้รับการรักษาว่า เนื้อปอดมีการทำลายมากน้อยแค่ไหน ?
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น