10/10/12
การวินิจฉัย(Diagnosis)
การวินิจฉัย(Diagnosis)
โดยทั่วไป แพทย์จะเกิดความสงสัยว่า
ท่านเป็นมะเร็งของปอดเมื่อพบข้อมูลจาก:
§ อาการของท่านเอง
§ ประวัติการสูบบุหรี่ของท่าน
§ ท่านอาศัยอยู่ใกล้คนสูบบุหรี่หรือไม่
§ สัมผัสกับสาร asbestos หรือสัมผัสสารก่อให้เกิดมะเร็งชนิดอื่น ๆ
เพื่อให้ได้คำวินิจฉัยของโรค แพทย์จะต้องได้ข้อมูลจากการตรวจร่างกาย
ถ้าสงสัยมะเร็งของปอด เขาจะให้ความสนใจที่ทรวงอก และปอดของท่าน
ด้วยการตรวจด้วยภาพ ซึ่งส่วนใหญ่ แพทย์จะเริ่มต้นด้วย
การสั่งตรวจเอกซเรย์ของปอดก่อนเพื่อน ถ้าหากพบอะไรเป็นที่สงสัย ?
แพทย์จะสั่งตรวจเพิ่มเติม เช่น สั่งตรวจ CT scans
ซึ่งจากการตรวจดังกล่าว แพทย์สามารถตรวจ (ถ้ามี) ดูขนาด และ
ตำแหน่งของมะเร็งที่อยู่ในปอดได้
นอกเหนือจากนั้น ท่านอาจได้รับการตรวจ magnetic resonance imaging (MRI)
Scans หรือ positron emission tomography (PET) scans
ซึ่งสามารถให้รายละเอียดเกี่ยวกับภาพของร่างกายี่เราต้องการตรวจ
§ MRI เป็นการใช้คลื่นวิทยุ (radio waves) และคลื่นแม่เหล็กสร้างภาพของ
อวัยวะที่ตรวจ มันไม่ใช้เอกซเรย์
§ PET scans เป็นการตรวจดู activity ของเนื้อเยื้อ ไม่ใช้การตรวจทางกายภาพ
ในมะเร็งของปอด มันจะแสดง (metabolic activity) ให้เห็นทาง PET scans
เมื่อข้อมูลที่ได้จากการตรวจด้วยภาพ (imaging) ทำให้เกิดความสงสัยว่า
คนไข้น่าจะเป็นมะเร็งของปอด แพทย์จะทำการสั่งตรวจเพิ่มเติมอีกหลายอย่าง
เพื่อวินิจฉัยโรค, ตรวจชนิดของมเร็ง และดูว่ามันแพร่กระจายไปที่อื่นแล้วหรือไม่ ?
ซึ่งการตรวจที่คนไข้จะได้รับ ได้แก่:
§ Sputum exam.
§ Biopsy
§ Bronchoscopy
§ Mediastinoscopy
§ Fine needle aspiration
§ Thoracentesis
§ Video-assisted thorcoscopic surgery (VATS)
§ Bone scans & CT scans
ในด้านปฏิบัติ มีบางครั้งแพทย์จะทำการผ่าตัดเอาก้อนเนื้องอกออกจากปอดก่อน
จากนั้น การวินิจฉัยมะเร็งของปอดจะกระทำทีหลัง ด้วยการส่งชิ้นเนื้อไปทำการตรวจ
ที่ห้องปฏิบัติการ
บางการศึกษาจะใช้ CT scanning เพื่อวินิจฉัยมะเร็งของปอดให้ได้เร็วที่สุด
อย่างไรก็ตาม การตรวจด้วย CT scans สามารถตรวจพบความผิดปกติในปอดได้ก่อน
ที่จะแสดงอาการ และความมผิดปกติที่พบโดย CT scans ไม่จำเป็นต้องเป็นมะเร็งเสมอไป
เมื่อแพทย์วินิจฉัยได้ว่า คนไข้เป็นมะเร็งของปอด
ขั้นตอนต่อไป เขาจะพิจารณาต่อไปว่า มะเร็งที่ตรวจพบนั้นอยู่ในระยะใดแล้ว
โดยที่ระยะของมะเร็งชนิด Squamous cell… จะบอกให้ทราบถึงขนาดของมะเร็ง
และบอกให้ทราบว่า มะเร็งได้แพร่กระจายไปไกลแล้วหรือยัง
§ Stage I: มะเร็งจะมีขนาดเล็ก และยังไม่แพร่กระจายไปรอบด้าน หรือแพร่
กระจายไปยังอวัยวะอื่นอีก
§ Stage II & III: มะเร้งได้กระจายยังอวัยวะรอบข้าง และ/หรืออวัยวะ และ
ต่อมน้ำเหลือง
§ Stage IV: มะเร็งกระจายนอกทรวงอก
Squamous cell lung CA: จะเจริญเติบโตอย่างโตออย่างต่อเนื่องจนกว่ามันจะได้รับ
การรักษา และมันยังคงสภาพของความเป็นโรคมะเร็ง นั้นคือ แม้ว่ามีดูเหมือนว่า
จะถูกรักษาให้หายภายหลังการรักษา แต่มันสามารถรากฎตัวขึ้นในตอนหลังได้
การป้องกัน (Prevention)
เพื่อลดความเสี่ยงอันตรายจากการเกิดโรคมะเร็งของปอด ท่านสามารถทำได้ด้วย:
§ งดการสูบบุหรี่- ถ้าท่านสูบบุหรี่ ควรเลิกซะ จะเป็นผลดีกับท่านเอง
§ หลีกเลี่ยงจากการสูดควันบุหรี่ของคนอื่น เพราะมันสามารถมันสามารถทำให้
เกิดมะเร็งได้เช่นเดียวกับการสูบบุหรี่
§ หลีกเลี่ยงจากการสัมผัสกับแก๊ส “radon”
ในประเทศที่เจริญและมีมีแก๊สดังกล่าว
พวกเขามีเครื่องมือสำหรับตรวจดูระดับของแก๊สดังกล่าว
ซึ่งไม่ควรเกิน 4 picocuries/liter
ในประเทศที่เจริญและมีมีแก๊สดังกล่าว
พวกเขามีเครื่องมือสำหรับตรวจดูระดับของแก๊สดังกล่าว
ซึ่งไม่ควรเกิน 4 picocuries/liter
§ ลดการสัมผัสกับสาร asbestos ซึ่งจะปรากฏในสารทำหน้าที่เป็นฉนวน
การรักษา(Treatment)
ในการรักษามะเร็งปอดชนิดนี้ ย่อมขึ้นกับระยะของมะเร็ง และสุขภาพโดย
รวมของตัวคนไข้, การทำงานของปอด และปัจจัยอื่น ๆ
มีคนไข้บางรายเป็นโรคปอดเรื้อรัง เช่น COPD
ถ้ามะเร็งไม่กระจายไปยังส่วนอื่น การผ่าตัดจะเป็นทางเลือดที่ดีที่สุด
ซึ่งเราสามารถเลือกได้ เช่น
§ Wedge resection: เป็นการตัดเอาเพียงบางส่วนของปอดออก
§ Lobectomy: เอาปอดออกเพียงบางอัน (lobe)
§ Pneumonectomy: เป็นการเอาปอดออกทั้งหมด
ในการรักษา เราจำเป็นต้องผ่าตัดเอาต่อมน้ำเหลืองออก และตรวจดูว่ามีเซลล์
มะเร็งแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองแล้วหรือยัง
แพทย์บางท่านใช้ VATS ทำการผ่าตัดเอามะเรงออกพร้อมกับเนื้อปอดแต่เพียง
ส่วนน้อยออก เป็นวิธีการสำหรับรายที่เพิ่งเป็นมะเร็งในระยะเริ่มต้น
โดยใช้เครื่องมือสอดผ่านรอยแผลขนาดเล็ก ๆ ผ่านทรวงอกเข้าสู่บริเวณปอด
ในการผ่าตัด จำเป็นต้องมีการตัดเอาปอดออกทิ้งไปบางส่วน หรืออาจต้องตัด
ออกทั้งหมด จึงอาจทำให้การหายลำบากขึ้นได้ โดยเฉพาะในรายที่มีปัญหาในตัว
ปอดอยู่แล้ว เช่น คนเป็นโรคปอด COPD
ดังนั้น ก่อนทำการผ่าตัดใด ๆ แพทย์ชอบที่จะทำการตรวจการทำงานของปอด
ว่าสามารถรับการผ่าได้หรือไม่...
หากมะเร็งปอดมีการแพร่กระจายไปส่วนอื่นแล้ว...
การรักษาที่คนไข้พึงได้รับ คือเคมีบำบัด และการฉายแสงเป็นหลัก
ซึ่งอาจจำเป็นต้องให้ก่อนที่จะทำการผ่าตัด
แต่โชคร้ายไปหน่อยตรงที่ squamous cell CA จะไม่ตอบสนองต่อเคมีรักษา
หรือ รักษาด้วยการฉายแสง
เมื่อมะเร็งได้กระจายไปทั่ว....
การรักษาด้วยเคมีรักษา อาจชะลอการเจริญเติบโตของมะเร็งลงได้บ้าง
แม้ว่ามันไม่สามารถจะรักษาให้หายขาดได้ก็ตามที
การรักษาด้วยเคมีรักษาสามารถบรรเทาอาการลง และทำให้ชีวิตยืนยาวได้
การฉายแสงก็ถูกนำมาใช้รักษาด้วยเช่นกัน ซึ่งสามารถช่วยบรรเทาอาการลงได้
บ้าง และอาจใช้ร่วมกับเคมีรักษา เพื่อรักษาคนไข้ที่มะเร็ง
ที่จำกัดตัวของมันในบริเวณทรวงอก
สำหรับคนไข้ที่ไม่สามารถรับการผ่าตัดด้วยเหตุทางสุขภาพ...
เขาอาจได้รับการรักษาด้วยเคมีรักษา ร่วมกับการฉายแสง
สามารถทำให้มะเร็งหดตัวลงได้
นอกจากนั้น การตรวจทางพันธุกรรม ถูกนำมาประยุกต์ใช้กับการ
รักษาด้วยกรรมวิธีที่เราเรียก “tarcet therapy” สามารถยับยั้งการเจริญเติบโต
ของเซลล์มะเร็ง โดยเปลี่ยนแปลงปฏิกิริยาทางเคมีต่างๆ ที่สัมพันธ์กับการเปลี่ยน
แปลงทางพันธุกรรม
ยกตัวอย่าง การรักษาทาง target therapy บางอย่าง จะป้องกันไม่ให้เซลล์มะเร็ง
ได้รับคลื่นคำสั่ง ที่บอกให้มันเจริญเติบโต
นอกจากนั้น การรู้เรื่องเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรม ทำให้เราสามารถ
คาดคะเนได้ว่า คนไข้ควรได้รับการรักษาแบบใดจึงจะเหมาะสม
ซึ่งวิธีการแบบนี้ จะเหมาะสำหรับคนไข้ที่เป็นสตรีที่เป็น adrenocarcinoma
http://www.intelihealth.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น