11/5/12
Carcinoid tumors…
เป็นมะเร็งปอดอีกชนิดหนึ่ง ซึ่งเคยถูกเรียกว่า “cancers in slow motions”
ที่เรียกเช่นนั้นเป็นเพราะมันเป็นมะเร็งที่มีการเจริญเติบโตได้ช้า
และมีโอกาสที่จะแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นๆ ได้น้อย
แม้ว่าเขาจะตั้งชื่อ และให้เหตุผลอย่างนั้นก็ตาม แต่ปรากฏว่า
บางครั้ง มันสามารถเจริญ และแพร่กระจายไปได้เร็วมาก
Carcinoid tumors ส่วนใหญ่มันจะเริ่มต้นที่ลำไส้เล็ก
มีเพียง 25 % จะเริ่มต้นเกิดขึ้นที่ปอด คิดเป็น 1% ถึง 3% ของมะเร็ง
ทั้งหมดที่เกิดขึ้นในปอด โดยเริ่มเกิดขึ้นที่บริเวณตรงกลางของปอด
มะเร็งชนิดที่เกิดจากระบบทางเดินอาหาร หรือไส้ติ่งนั้น
สามารถลิตฮอร์โมนออกมาหลายตัว ทำให้เกิดอาการหลายอย่าง
ส่วนที่เกิดจากปอดจะไม่มีการผลิตฮอร์โมน
มะเร็ง carcinoid ของปอดมีสองชนิดด้วยกัน: Typical & Atypical
มะเร็งชนิด Typical จะพบมากกว่าชนิด Atypical ถึง 9 เท่าตัว
มะเร็งดังกล่าว ส่วนใหญ่จะไม่แพร่กระจายออกนอกปอด
สามารถพบได้ทั้งหญิง และชายในปริมาณเท่า กัน
ส่วนใหญ่จะเกิดในคนที่มีอายุมากกว่า 45 – 55
อาการ (Symptoms)
คนไข้ที่เป็นมะเร็ง carcinoid จะมาด้วยปัญหาเรื่อง “ไอมีเลือด”
หรือเป็นโรคปอดอักเสบ “pneumonia”
มีคนไข้บางรายไม่มีอาการใดๆ และตรวจพบโดยเอกซเรย์ของปอด
อาการที่เกิดจะขึ้นกับขนาดของมะเร็ง และฮอร์โมนที่มันผลิตขึ้น
อาการที่เกิดได้แก่:
§ ไออย่างต่อเนื่อง
§ ไอมีเลือด
§ หายใจลำบาก
§ ปอดอักเสบ...pneumonia
§ ใบหน้าแดงด้วยการไหลเวียนของเลื่อดเพิ่มขึ้น
§ ท้องล่วง
§ การเต้นของหัวใจเร็วขึ้น
§ น้ำหนักเพิ่มขึ้น…เป็นมะเร็งที่ทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้น
§ มีขนทีใบหน้า และตามตัว
การวินิจ(Diagnosis)
มะเร็ง “คาร์ซีนอยด์” สามารถพบเห็นทางเอกซเรย์ของปอด
และจากการใช้ CT scans
แพทย์สามารถเจาะเอาชิ้นเนื้อไปตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์ เพื่อยืนยัน
ผลของการวินิจฉัย โดย:
§ Bronchoscopy
§ Needle biopsy
§ Thorcotomy
§ Video assisted thorcoscoicsurgery (VATS)
นอกจากนั้น แพทย์อาจสั่งตรวจเลือด และปัสสาวะหาฮอรโมนต่างๆ
ที่ผลิตโดยมะเร็ง “คาร์ซีนอยด์”
มีการตรวจอย่างหนึ่งเรียก “octreotide scintigraphy”
เป็นการตรวจที่สามาถบอกได้ว่า มะเร็ง “คาร์ซินอยด์” แพร่กระจายออก
ไปนอกปอดแล้วหรือยัง?
วิธีการตรวจกระทำได้ด้วยการฉีดยาที่เป็นสาร “กัมมันตภาพรังสี” เข้าเส้น
เลือดดำ และยาดังกล่าวจะจับตัวกับมะเร็งคาร์ซินอยด์
จากการใช้กล้องสามารถตรวจจับสารกัมมันตภาพรังสีว่า
มันรวมตัวอยู่ตรงที่ใด จะเป็นตำแหน่งที่มีมะเร็ง “คาร์ซีนอยด์”...
นอกจากนั้น เขายังมีการตรวจที่มีลักษณะคล้ายกัน แต่ใช้ยาต่างกัน
โดยมีการใช้ radioactive meta-iodobeyguamidine (MIBG) แทนการ
ใช้ ยา octriotide…
คนที่เป็นมะเร็งปอดคาร์ซินอยด์ แม้ว่ามะเร็งจะหายไป
แต่มันมีโอกาสกลับมาปรากฏให้เห็นได้ในตอนหลัง..
การป้องกัน (Prevention)
มะเร็งปอด “คาร์ซินอยด์” จะแตกต่างจากมะเร็งปอดชนิดอื่น
โดยไม่มีความสัมพันธ์การการสูบบุหรี่, หรือมลพิษภาวะ, หรือสารเคมีใด ๆ
และเราไม่รู้ว่าจะป้องกันไม่ให้มันเกิดได้อย่างไร
การรักษา (Treatment)
การรักษาที่สำคัญที่สุดสำหรับมะเร็งปอดชนิด “คารืซินอยด์” คือการผ่าตัด
ซึ่งมีทางให้เลือกได้หลายทาง เช่น ถ้ามะเร็งอยู่ที่ทางเดินหายใจ
แพทย์อาจทำการตัดเอาส่วนที่เป็นมะเร็งออกทิ้ง
ถ้าเนื้องอกอยู่ทีขอบของปอด แพทย์อาจทำการตัดเอาส่วนที่เป็นมะเร็งออก
(wedge resection)
แต่หากเนื้องอกเกิดหลายจุด หรือมีขนาดใหญ่แพทย์อาจทำการตัดเอาปอดออก
(lobectomy or pneumonectomy)
สำหรับมะเร็ง “คาร์ซินอยด์”เกิดจากลำไส้ แพทย์เขาจะทำการตัดเอามะเร็งออก
พร้อมกับการเอาต่อมน้ำเหลืองที่อยู่รอบเนื้องอกออกให้หมด
สำหรับ “เคมีบำบัด” จะไม่ค่อยได้ผลดีสำหรับมะเร็ง “คาร์ซินอยด์”
ในเมื่อไม่นานมานี้ การใช้เคมีบำบัดจะถูกนำมาใช้ในกรณี
ที่มะเร็งได้แพร่กระจายไปส่วนอื่นของร่างกาย
และจะใช้เมื่อคนไข้สามารถทนต่อการใช้สารเคมีเท่านั้น
มียาชื่อ octreotide(Sandostatin)…
ถูกนำมาใช้รักษาโรคมะเร็งปอดคาร์ซีนอยด์ ซึ่งผลิตฮอร์โมน และทำให้เกิด
ความไม่สบายขึ้นหลายอย่าง
มียาตัวหนึ่งที่สัมพันธ์กับฮอร์โมนที่ถูสร้างตามธรรมชาติ เรียก somtostatin
สามารถลดอาการหน้าแดง, ท้องล่วง และอาการอย่างอื่น
นอกจากนั้น ยาตัวนี้ยังสามารถยับยั้งการเติบโตของเซลล์มะเร็งได้ด้วย
แต่ไม่สามารถทำให้โรคหาย จะถูกนำมาใช้เมื่อมะเร็งได้กระจายไปที่อื่นเท่านั้น
นอกจากนั้น ยังมาอีกตัว ซึ่งเป็น Long acting octreotide
เรียก Sandostatin LAR ซึ่งให้เดือนละครั้ง
ให้สิบวันครั้ง ซึ่งนับว่าสะดวกสำหรับคนไข้
Alpha-interferon เป็นยาที่ทำหน้าที่กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน อาจใช้ร่วมกับ
ยา octreotide สามารถช่วยทำให้มะเร็งหดตัว และทำให้อาการดีขึ้นได้
การพยากรณ์โรค (Prognosis)
เนื่องจากมะเร็งปอดชนิดคาร์ซินอยด์ ชนิด Typical เป็นมะเร็งที่เติบโต
และกระจายได้ช้ามาก เป็นมะเร็งที่มักจะพบในระยะแรกๆ มีการพยากรณ์โรคทีดี
ส่วนมะเร็งปอดชนิด Atypical เป็นชนิดที่มีแนวโน้มกระจายไป
ยังอวัยวะ และต่อมน้ำเหลืองในบริเวณใกล้เคียง
รายที่เป็นมะเร็งชนิด Atypical ซึ่งแพร่กระจายไปยังส่วนอื่นของร่างกาย
อัตรารอดชีวิตจะต่ำ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น