10/21/12
ความผิดปกติของการนอนหลับ
ความผิดปกติของการนอนหลับ
มีการนอนหลับที่ผิดปกติจำนวนมากมาย แต่เราสามารถแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม
ดังนี้:
§ Dyssomnias: เป็นความผิดปกติของการนอนหลับ โดยการเริ่มต้นหลับยาก
หรือไม่สามารถคงสภาพการนอนหลับได้
เป็นการนอนไม่หลับ (insomnia) ชนิดหนึ่ง
ทำให้รู้สึกง่วงนอนในตอนกลางวัน, มีการตื่นขึ้นจากการนอนหลับ
ความผิดปกติชนิดนี้ จะพบเห็นใน การตื่นจากการนอนหลับ (sleep apnea)
และผลที่เกิดจากการใช้ยาและแอลกอฮลล์
§ Parasomnias: เป็นพฤติกรรมผิดปกติในขณะนอนหลับ
โดยไม่มีความรู้สึกง่วงนอนมากนัก หรือไม่มีภาวะนอนไม่หลับ
ยกตัวอย่างที่พบเห็น ได้แก่ เดินละเมอในขณะหลับ (sleepwalking)
หรือกลัวกลางคืน(night terrors)
§ Medical-psychiatric sleep disorders: เป็นภาวะที่ทำให้การนอนหลับผิด
ปกติไป เช่น ความเครียด, ซึมเศร้า, โรคพาร์คินสัน, โรคสมองเสื่อม
หรือโรคกรดไหลย้อนกลับ (GERD)
§ ปัญหาของการนอนหลับ ซึ่งไม่สามารถแยกจากการนอนหลับตามปกติ
เช่น นอนไม่หลับในคนตั้งท้อง, นอนไม่หลับร่วมกับการมีเหงื่อออกมาก
โดยไม่ทราบสาเหตุ
จะทำอย่างไร...เมื่อนอนไม่หลับ ?
สำหรับท่านที่นอนไม่หลับ...
มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหลายอย่าง ที่สามารถทำให้การนอนหลับของท่านดีขึ้น
ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว เรียกว่า “sleep hygiene”
บางอย่างเป็นเพียงสามัญสำนึกเท่านั้น แต่คนส่วนมากที่มีปัญหาเรื่องการนอนหลับ
ไม่เห็นความสำคัญของมัน...
คำแนะนำต่อไปนี้ สามารถช่วยให้ท่านสามารถแก้นิสัยการนอนไม่หลับ ของท่าน
และสามารถทำให้ท่านสามารถนอนหลับได้ดีขึ้น
o ใช้ที่นอนของท่านเพื่อการนอนหลับ และเพื่อการปฏิบัติกิจเพื่อ
ชีวิตเท่านั้น (sexual activity) อย่าได้ใช้ที่นอนของท่านเพื่อการ
อื่นโดยเด็ดขาด เช่น อ่านหนังสือ ดูทีวี เป็นต้น
ถ้าท่านนอนไม่หลับภายใน 15 – 20 นาที จงลุกขึ้นจากเตียง
แล้วเดินไปยังห้องอื่น อ่านหนังสือภายใต้แสงสลัว อย่าดูทีวี
เมื่อท่านรู้สึกง่วงเมื่อใด...ให้กลับไปนอนทันที
o อย่าหลับงีบในตอนกลางวัน ยกเว้นมีความจำเป็นเท่านั้น และ
ถ้าจำเป็นก็ไม่ควรงีบหลับนานเกิน 15 – 20 นาที
โดยเฉพาะในช่วงต้นๆ ของตอนบ่าย
o ออกกำลังกายให้มาก ควรออกกำลังกายทุกวัน วันละ 30 -45
นาที ด้วยการเดินจะเป็นวิธีที่เหมาะที่สุด ซึ่งถ้าเป็นตอนเช้าจะดีมาก
หลังการออกกำลังกาย ควรทำการยืนเส้น-ยืดสาย
ก่อนนอน อาจทำ “โยคะ” เพื่อเป็นการผ่อนคลายกล้ามเนื้อ
และจิตใจของท่าน
o ถ้าเป็นไปได้ ควรกำหนดการทำงานชนิดท้าทาย หรืองานหนัก
ในตอนเช้าเสมอ งานเบาในตอนบ่าย
ให้กำหนดเวลานอนให้ชัดเจน และปฏิบัติตามโดยเคร่งคัด
และควรปฏิบัติการผ่อนคลายก่อนเวลานอนให้เป็นประจำ
เช่น การอาบน้ำอุ่น หรือฟังเพลงเบาๆ (soothing music)
ทำให้รู้สึกสบายใจ
o รับประทานอาหารที่เหมาะสม งดเว้นการดื่มชนิดกระตุ้นประสาท
(caffeine) โดยเฉพาะในตอนเทียงวัน
หลังอาหารเย็น ให้หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มทุกชนิด เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้ตื่น
ขึ้นปัสสาวะในตอนกลางคืน
ถ้าท่านเป็นคนชอบรับทาน bedtime snack ก็ให้รับทานชนิดเบาๆ
ให้หลีกเลี่ยงการดื่ม “แอลกอฮอล” หลังอาหารเย็น
แม้บางคนจะกล่าวว่า ช่วยให้นอนหลับดีขึ้น
แต่ตามเป็นจริง มันทำให้คุณภาพการนอนหลับของท่านเสียไปได้
o ห้องนอนของท่านต้องเหมาะสม ซึ่งจะทำให้ท่านหลับได้อย่างสบาย
ไม่มีเสียงรบกวน และมีความมืด การไหลเวียนของอากาศดี
มีอุณหภูมิของห้องอยู่ในระดับพอดี (ตลอดระยะเวลานอนหลับ)
o เหนืออื่นใด ไม่ต้องกังวลในเรื่องอะไรทั้งนั้น เพียงแค่ทำใจให้สงบนิ่ง
ด้วยการผ่อนคลายทั้งกาย และใจ
ในเวลานอน อย่าไปทบทวนปัญหาใดๆที่ท่านมี และอย่าวางแผนใด ๆ
ให้คิดแต่ในทางผ่อนคลาย และนำมาซึ่งความสุขเท่านั้น
โดยสรุป ความสำคัญของการนอนหลับ เป็นสิ่งเราสามารถพบเห็นได้เอง
แต่มีอะไรหลายอย่างที่เรายังไม่รู้ และไม่แน่ใจว่า ทำไมเราต้องนอน
และจะทำเช่นใด จึงจะทำให้การนอนหลับของเราดีขึ้น
มีสิ่งหนึ่งเป็นเรื่องที่เรารู้ คือ การนอนหลับ ไม่ใช้กระบวนการทำให้หยุดนิ่ง
ของร่างกาย แต่ในการนอนหลับมีกระบวนการของจิต (mind) หลายอย่าง
เกิดขึ้นเป็นระยะ (stages)
ดังนั้น เมื่อใดที่ท่านพบเห็นคนนอนหลับ...ขอให้ทราบไว้ว่า
ในขณะที่กายของเขาหลับสนิทนั้น มีอะไรหลายอย่างเกิดภายใต้หนังตาที่ปิดสนิท
ซึ่งเราจะต้องศึกษากันต่อไป
http://www.intelihealth.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น