วันเสาร์ที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2555

COPD and Heart Disease :Atrial Fibrillation 3

10/27/12

การวินิจฉัย (Diagnosis)
ในการวินิจฉัยโรค  แพทย์จะถามท่านเกี่ยวกับประวัติครอบครัวว่า 
มีใครเป็นโรคระบบเส้นเลือดและหัวใจ (cardiovascular disorders) บ้าง ?
เขาอาจถามถึงปัญหาสุขภาพส่วนตัว  ซึ่งรวมถึงการมีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะหัวใจเต้นผิดปกติ- atrial fibrillation

เขาจะถามถึงอาการของท่านเกี่ยวกับอาการของโรคหัวใจ
รวมถึงอะไรก็ตามที่กระตุ้นให้เกิดอาการขึ้น

แพทย์จะทำการตรวจ เช็คดูอัตราการเต้นของหัวใจ,  จังหวะการเต้นของหัวใจ 
และคลำชีพจร

ภายใต้ภาวะของหัวใจเต้นผิดปกติชนิด-  atrial fibrillation 
จะพบว่า  ชีพจรของท่านกับเสียงการเต้นของหัวใจจะไม่ไปด้วยกัน

การวินิจฉัยโรค (atrial fibrillation) จะถูกยืนยันโดยการตรวจคลื่นหัวใจ (EKG
ซึ่งเป็นการตรวจ  บันทึกคลื่นของกระไฟฟ้าของกล้ามเนื้อหัวใจ
อย่างไรก็ตาม  การตรวจคลื่นของหัวใจดังกล่าวอาจไม่ได้ผล 
เพราะบางครั้งความผิดปกติของการเต้นของหัวใจมันปรากฏ  แล้วก็หายไป
(comes and go)

ในกรณีดังกล่าว   การตรวจคลื่นหัวใจของคนไข้...
จะกระทำได้ด้วยการใช้เครื่องมือที่เรียกว่า Holter monitor 
โดยทำการติดไว้กับคนไข้ตลอดเวลา  24 ชั่วโมง

ถ้าผลการตรวจพบว่า  อาการที่เกิดมีมากกว่าหนึ่งครั้งต่อวัน
แพทย์อาจใช้เครื่องตรวจอีกชนิดหนึ่ง  เรียก event recorder”  
โดยทำการติดไว้กับตัวคนไข้เป็นเวลาหลายวัน  หรือหลายอาทิตย์ 
เพื่อหวังที่จะตรวจจับความผิดปกติของการเต้นของหัวใจ 
เมื่อท่านรู้สึกกว่า  การเต้นหัวใจของท่าน  มีการเต้นผิดปกติเกิดขึ้น 
ซึ่งท่านสามารถตรวจบันทึกคลื่นที่ผิดปกติเอาไว้ได้ 
เพื่อให้แพทย์ตรวจต่อไป

การเกิดภาวะ atrial fibrillation จะเกิดนานเท่าใด  ย่อมขึ้นกับสาเหตุ
หากเกิดจากโรคที่สามารถรักษาได้...เมื่อได้รับการรักษา 
จะทำให้การเต้นของหัวใจกลับเต้นเป็นปกติได้

แต่ส่วนใหญ่แล้ว  ภาวะของหัวใจที่เต้นผิดปกติแบบ  atrial fibrillation 
มักจะอยู่กับคนไข้ไปตลอดชีวิต   ที่มันเป็นเช่นนั้น..
อาจเป็นเพราะเราไม่สามารถทราบสาเหตุ
หรือเกิดขึ้นเพราะมีต้นเหตุจากภาวะของโรคหัวใจเรื้อรัง...

การนป้องกัน (Prevention)
Atrial fibrillation  ที่เกิดจากโรคหลอดเลือดหัวใจ (coronary artery disease)
สามารถป้องกันไม่ให้เกิด  โดยลดความเสี่ยงจากการเกิดโรคดังกล่าวโดย:
§  รับประทานอาหารทีมีไขมันต่ำ
§  ควบคุมระดับไขมัน cholesterol และ ความดันโลหิตสูง
§  ไม่ดื่มแอลกอฮอลล์  หรือไม่ควรดื่มเกินสองแก้ว (เบียร์) ต่อวัน
§  ไม่สูบบุหรี่
§  ควบคุมน้ำหนักตัว  และ
§  ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
มีสาเหตุบางอย่างของ atrial fibrillation  ไม่สามารถป้องกัน

Previous   <<  1   2   3   4   >>  Next

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น