วันอาทิตย์ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ความพอดี (The case of moderation)

10/28/12

เมื่อแพทย์พูดว่า....พอประมาณ ?
เราทุกคนเคยได้รับฟังผู้ใหญ่สอนว่า...”จะทำอะไร  ก็ขอให้ทำแต่พอประมาณ...”
พอมาเจอคำพูดของแพทย์ที่ทำการรักษาโรคเข้า   เขาก็ชอบพูดประโยคนี้เช่นเดียวกัน
ที่เป็นเช่นนั้น  เป็นเพราะว่า  เมื่อพูดถึงเรื่องสุขภาพแล้ว  จะพบว่า...
อะไรก็ตามที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย  ความพอดีเป็นสิ่งสำคัญ
ไม่มากไป  หรือน้อยไป


ผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ทั้งหลาย  ต่างยอมรับกันว่า
ปริมาณที่พอดีสำหรับสุขภาพอยู่ที่ระดับใด 
แต่มีบางอย่าง  ถ้าน้อยไปก็ไม่เกิดประโยชน์ใด ๆ
และหากมากเกินไป  ก็มีอันตราย  สู้ไม่มีเสียน่าจะดีกว่า...
ดังตัวอย่างต่อไปนี้:


Vitamins:
Vitamins  เป็นคำที่เริ่มต้น  เราหมายถึงสารที่มีความสำคัญต่อชีวิต 
เช่นเดียวกับอาหารที่ร่างกายเราไม่สามารถสร้างขึ้นเองได้  หรือ...ไม่เพียงพอ
ดังนั้น  เราจึงจำเป็นต้องพึงพาอาศัยอาหาร หรืออาหารเสริมที่มี vitamins


ในขณะที่ร่างกายขาดสาร vitamins   มันสามารถก่อให้เกิดโรคได้นั้น
แต่ถ้าร่างกายได้รับ vitamins มากเกินไป 
ย่อมสามารถก่อให้เกิดอันตรายขึ้นได้เช่นกัน


ลองพิจารณาดู vitamin A เป็นตัวอย่าง:
ถ้าร่างกายของเราได้รับ vitamin A ไม่พอ  จะทำให้ลูกตาแห้ง,
มองไม่เห็นในยามค่ำคืน  และสุดท้ายอาจทำให้ตาปอดได้...


ปัญหาอย่างอื่นที่เกิดจากการขาด vitamin A  ได้แก่...
ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของเราบกพร่อง  หรือทำงานได้ไม่ดี,
เกิดผื่นคัน (rash)  และเกิดท้องร่วงได้


ถ้าร่างกายได้รับ vitamin A มากเกินไป  เช่น  ได้รับจากอาหารเสริม 
หรือรับประทานตับมากเกินไป
อาจทำให้ปริมาณของไวตามิน A สะสมตามเนื้อเยือต่างๆ ของร่ายกาย
เราเรียกว่าภาวะดังกล่าวว่า  เป็น  Hypervitaminosis A
ทำให้เกิดอาการปวดศีรษะ,  อ่อนเพลีย,  สาตาพล่ามัว, 
ปวดกระดูก  และเกิดอาการคลื่นไส้


นอกจากนั้น  ยังก่อให้เกิดความดันภายในสมอง และตับ...
ซึ่งสามารถทำให้เกิดอันตราย (damage) ต่อสมอง และตับได้


เกิดคำถามว่า....ความพอดีของ vitamin A   มันเท่าไหร่กัน ?
โดยทั่วไป  สำหรับผู้ใหญ่ชาย  ในหนึ่งวันควรได้รับ 900 microgram
สำหรับหญิง  ควรได้  700  microgram  ต่อวัน


นอกจาก Vitamin A แล้ว  ยังมี vitamin ตัวอื่นที่สามารถก่อให้เกิดอันตรายได
ถ้าเรารับประทานในปริมาณมากเกินไป  เช่น :


Vitamin D:
ถ้าร่างกายมี vitamin D ในร่างากมากเกินไป (hypervitaminosis D)
มันสามารถทำให้ระดับของสาร calcium ในกระแสเลือดสูงขึ้นถึงขั้นเป็นอันตรายได้
เช่น  ทำให้เกิดเป็นนิ่วในไต (kidney stones), โรคไตวาย (kidney failure),
กล้ามเนื้อเกิดอ่อนแรง (muscle weakness), ปวดกระดูก (bone pain),
เบื่ออาหาร (loss of appetite), อาเจียน  และ เกิดอาการสับสนได้


นอกจากนั้น  การมีระดับ calcium ในกระแสเลือดสูง...
หากเกิดร่วมกับโรคประจำตัวบางอย่าง 
หรือร่วมกับการับประทาน vitamin D จำนวนมาก ๆ  อาจเป็นอันตรายถึงตายได้


Vitamin B3 (niacin):
การได้รับ niacin มากเกินไป  อาจทำให้เกิดอาการร้อนวูบวาบ,  ท้องร่วง, ปวดท้อง
อาเจียน  และเป็นอันตราย (damage) ต่อตับได้


Vitamin B6:
ถ้าได้รับ B6 มากเกินไป  แทนที่จะมีประโยชน์  สามารถทำลายเส้นประสาทได้


Vitamin C:
การรับประทาน vitamin C ในปริมาณสูง ๆ (overdosing)  สามารถทำให้เกิดอาการ
ปวดศีรษะ, ท้องร่วง  และก่อให้เกิดเป็นนิ่วในไตได้


การออกกำลังกาย:
เป็นที่แน่ชัดว่า  การออกกำลังกายเป็นสิ่งที่ดี...
ถ้าออกน้อยเกินไป ย่อมเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อความอ้วน (obesity), โรคเบาหวาน (diabetes),
โรคหัวใจ (heart disease) และโรคกระดูกพรุน (osteoporosis) เพิ่มขึ้น
ถ้าเช่นนั้น  การออกกำลังกายมาก...น่าจะเป็นผลดี ?
มันก็น่าจะเป็นเช่นนั้น...

จากคำแนะในในสมัยก่อน  ให้คำแนะนำเอาไว้ว่า...
เราควรออกกำลังกายระดับพอประมาณ (moderate intensity) ครั้งละ 30 นาที
โดยอาทิตย์หนึ่งออกกำลังกาย  4 – 5 วัน
แต่คำแนะนำในขณะนี้  มีว่า  ให้ออกกำลังกายวันละ  45  ถึง  60  นาที  ด้วยการ
ออกกำลังกายระดับพอประมาณทุกวัน


ถ้าหากออกกำลังกายมากไปละ...?
หากเราออกกำลังการมากเกินไป  สามารถก่อให้เกิดปัญหาขึ้นได้  เช่น ได้รับบาดเจ็บ
กระดูกแตก (stress fracture)  หรือเกิดการอักเสบของเอ็น
ซึ่งมักจะเกิดขึ้นในรายที่ออกกำลังกายมากเกินไป


นอกจากนั้น  การออกกำลังกายมากเกินในสตรีเพศ  จะก่อให้เกิดมีประจำเดือนผิด
ปกติ  (menstrual irregularities) ได้,  สามารถทำให้เกิดอาการปวดกล้ามเนื้อเป็น
ระยะเวลานาน,  เบื่ออาหาร


สำหรับนักกีฬาที่เตรียมตัวเพื่อแข่งขัน  เมื่อออกกำลงกายมากเกิน...
เมื่อถึงเวลาแข่ขันกันจริง...แทนที่จะดี  กลับเสียไปได้


ปัญหามีว่า  เราควรออกกำลังกายมากน้อยแค่ใด  จึงจะเป็นการออกกำลัง
ที่พอเหมาะ ?


คำตอบเกี่ยวกับเรื่องนี้...ยังไม่มีท่านใดทราบได้อย่างแน่ชัด
แต่คิดว่า   คำแนะนำใหม่สุดน่าจะถูกต้อง  นั่นคือ
ออกกำลังกายในระดับพอประมาณวันละ 45 -  60 นาที  ทุกวัน
น่าจะเป็นเป้าหมายที่มีเหตุผล
  

เราได้รับการสั่งสอนมาว่า  การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอลล์  ย่อมไม่ใช่สิ่งที่ดี
แต่มีการศึกษาจำนวนไม่น้อยรายงานว่า 
การดื่มพอประมาณ  จะมีความสัมพันธ์กับการลดอุบัติการณ์ของ:
  
·         โรคหัวใจ (Heart disease)
·         โรคสมองเสื่อม (Dementia)
·         โรคเบาหวาน (Diabetes)
·         โรคมะเร็งของปอด (Lung cancer)


เมื่อคอเหล้าพบข้อมูลเหล่านี้...คงพอใจ
ชนิดของแอลกอฮอลล์  อาจมีส่วนสำคัญ  เช่น  ผลจากการศึกษาหนึ่งพบว่า
อุบัติการณ์เกิดมะเร็งของปอด  จะลดลงในคนที่สูบบุหรี่ร่วมกับการดื่ม red wine
แต่ไม่ใช้กลุ่มที่ดื่มเบียร์   หรือดื่ม  white wine

แน่นอน...ถ้าดื่มแอลกอฮอลล์มากย่อมเป็นอันตราอย่างแน่นอน
ซึ่งสามารถก่อให้เกิด:
·         โรคตับแข็ง (Cirrhosis or sever liver damage)
·         ได้รับบาดเจ็บ จากอุบัติเหตุ
·         ตับอ่อนอักเสบ (Pancreatitis)
·         ความดันโลหิตสูง (High blood pressure)
·         กล้ามเนื้อหัวใจถูกทำลาย (Heart damage & irregular heart rhythms)

คำถาม:  ความพอดีอยู่ที่ไหน ?  ควรดื่มมากเท่าใด ?
คำตอบ:  ไม่มีใครบอกได้แน่ชัดว่า  ควรดื่มมากน้อยแค่ไหน?
แต่คำแนะนำที่สมเหตุสมผล  น่าจะเป็นหนึ่งแก้วสำหรับสตรี  และสองแก้วสำหรับชาย
ต่อหนึ่งวัน...


การได้รับแสงแดดย่อมมีประโยชน์ต่อสุขภาพของเราย่างแน่นอน...
แต่หากน้อยไป  จะไม่ดีสำหรับกระดูก
ที่เป็นเช่นนั้น  เป็นเพราะแสงแดดจะเปลี่ยน inactive form ของ vitamin D
ให้เป็น active form


หากร่างกายของเราสัมผัสแสงแดดมากเกินไป 
จะก่อให้เกิดมะเร็งของผิวหนังได้  โดยเฉพาะในรายที่ผิดหนังถูกเผา
ไหม้บ่อยๆ (sunburn)


ดังนั้น  เราควรได้รับแสดงแดดให้พอเพียง...
เท่าไหร่ละจึงจะพอเพียง ?
มีคำแนะนำเอาไว้ว่า  วันหนึ่งควรได้รบแสงแดดประมาณวนละ 10 - 15  นาที
น่าจะได้รับประโยชน์มากกว่าที่จะเกิดมะเร็งของผิวหนัง


นอกจากนั้น  ยงมสิ่งอื่นอกหลายอย่าง  ที่เราควรศึกษาและพิจาณาถึงความพอดี
เช่น ปริมาณของไขมัน,  โปรตีน,  คาร์โบไฮเดรต  และอื่น ๆ

โดยสรุป:
เกือบทุกอย่างที่เป็นประโยชน์สำหรับคนเรา...
ความพอประมาณ  จะเป็นระดับทีดีที่สุดที่เราควรได้รับ
แม้ว่าสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพของเรา  หากมากเกินไปสามารถก่อให้เกิดอันตรายได้
ดังนั้น  เมื่อใดก็ตาม  ทีมีคนแนะนำให้ทำอะไรสักอย่าง  เช่นการออกกำลังกาย
ลองถามคนแนะนำดูว่า....ออกกำลังกายมาก  หรือออกน้อยนั้นหมาความว่าอย่างไร?
จากนั้น  ให้พยายามเลือกออกระหว่างกลาง ...ไม่มาก ไม่น้อย


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น