Aug. 24, 2013
Hepatitis B Treatment:
โดยทั่วไป คนที่เป็นไวรัสตับอักเสบชนิดเฉียบพลัน (acute hepatiti B)
ไม่จำเป็นต้องรับการรักษา เพราะ 95 % ของคนวัยผู้ใหญ่นั้น พบว่า
ระบบภูมิคุ้มกันของเขา จะควบคุมการอักเสบจากไวรัสตัวดังกล่าวได้
และสามารถกำจัดเชื้อไวรัได้ภายใน 6 เดือน
สำหรับคนที่เป็นไวรัสตับอักเสบ B ชนิดเรื้อรัง...
ได้มีการแนะนำให้ใช้ยาต่อต้านเชื้อไวรัส (antiviral medication)
ซึ่งสามารถลดเชื้อ... หรือทำให้ตับฟื้นสู่สภาพเดิม และป้องกันไม่ให้เกิด
ภาวะแทรกซ้อนในระยะยาว (long term complecation of Hepatitis B)
Antiviral therapy:
มียาหลายตัวที่อยู่ในกลุ่ม antiviral medicines
ซึ่งถูกนำมาใช้รักษาโรคไวรัสตับอักเสบ B แต่ไม่ได้หมายความว่า
ทุกคนที่เป็นตรวจพบเชือไวรัสตับอักเสบ B จะต้องได้รับการรักษาทันที
ในกรณีที่ท่านไม่ได้รับการรักษาด้วยยาทันที...
ท่านจำเป็นต้องได้รับการตรวจดูให้รู้ว่า เมื่อใดเชื้อไวรัสตับอักเสบ B
มีแนวโน้มที่จะเป็นอันตรายต่อร่างกาย ซึ่งหมายความว่า
ท่านจะต้องได้รับยาต้านเชื้อไวรัส (antiviral treatment) ทันที
และเมื่อท่านเริ่มให้การรักษาด้วยยา “ต้านเชื้อไวรัส”...
ท่านจำเป็นต้องได้รับการตรวจเลือด เพื่อจะได้ทราบว่า การรักษาที่ได้รับ
ดีขึ้นหรือไม่ รวมไปถึงอาการแพ้ (side effect) หรือการดื้อยา (resistance)
และการตรวจสอบดังกล่าว จะต้องกระทำอย่างต่อเนื่องจนกว่าจะสิ้นสุดการ
รักษา เพื่อตรวจสอบว่า การอักเสบไม่กลับเป็นขึ้นอีก
ยารักษาโรคไวรัสตับอักเสบ B ที่เราควรทำความเข้าใจ มี 6 ตัว ดังนี้:
Lamivudine:
Lumivudine (Epivir-HBV®) เป็นยา ที่มีประสิทธิภาพในการลดฤทธิ์
เชื้อไวรัสตับอักเสบ B และการอักเสบของตับลง เป็นนยาที่มีความปลอดภัย
ต่อคนที่เป็นโรคตับล้มเหลว (liver failure)
และลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะตับล้มเหลว และไม่ให้เกิดมะเร็งตับ
Laminvudine จะใช้ในขนาด 100 mg/day เป็นยารับทาน
ปัญหาที่เกิดจากการใช้ยาตัวนี้ ได้แก่คนไข้ที่เป็นโรคตับอักเสบจากเชื้อ
ไวรัสตับอักเสบ B มักจะมีแนวโน้มที่จะเกิดดื้อยาได้ โดยเฉพาะ
ในรายที่ใช้ยาเป็นเวลานาน
Adefovir:
Adefovir (Hepsera®) เป็นยาที่ถูกเลือกใช้รักษาในตอนแรกเริ่มของ
การรักษาคนไข้ที่ตรวจพบไวรัสตับอักเสบ B ซึ่งเชื้อไวรัสมีฤทธิ์ใน
การทำลาย (activity) และมีการอักเสบของตับ
ความแตกต่างของยา adefovir และ lamivudine....
จะพบว่า การต่อต้านของเชื้อไวรัสตับ B ที่มีต่อยา adefovir
มีได้น้อยมาก หรือไม่น่าเกิด เมื่อเที่ยบกับการใช้ lamivudine
นอกจากนี้ ยา adefovir ยังสามารถยับยั้งเชื้อที่ดื้อยา lamivudine
ได้อีกด้วย
การใช้ยาตัวนี้ เป็นยาสำหรับรับทานด้วยขนาด 10 mg/day
โดยใช้ติดต่อกันนาน 1 ปี คนไข้ส่วนใหญ่จำเป็นต้องใช้ยานาน เพื่อ
ควบคุมเชื้อไวรัสตับอักเสบ B
Adefovir เป็นยาต้านไวรัสที่มีฤทธิ์อ่อน (weak antiviral medicine)
และเชื้อไวรัสจะไม่ดื้อยา ส่วนยาตัวอื่นที่มีใช้ จะมีฤทธิ์แรงกว่ามาก
Entecavir:
Entecavir (Baraclude®) จัดเป็นยาที่มีฤทธิ์แรงกว่ายา lamivudine
และ adefovir ในคนที่ไม่เคยได้รับยาต่อต้านเชื้อไวรัสมาก่อน
โอกาสที่เชื้อจะดื้อต่อยา entecavir นั้นมีน้อยมาก แต่หากเชื้อตัวนั้น
เคยดื้อต่อยา lamivudine มาก่อน...จะพบว่า เชื้อไวรัสมีแนวโน้มที่จะ
ดื้อต่อยา entecavir ได้ถึง 50 %
ขนาดของยา entecavir คือ 0.5 mg/day สำหรับคนที่ไม่เคยได้รับ
ยารักษามาก่อน และให้ 1.0 mg/day สำหรับรายที่ดื้อต่อการใช้ยา
Lamivudine
คนไข้ทุกรายที่เป็นไวรัสตัอกเสบ B จะต้องใช้ยาในระยะยาว เพื่อควบ
คุมเชื้อไวรัสตับอักเสบ B
Tenofovir:
Tenofovir (Viread®) เป็นยาที่มีฤทธิ์แรงกว่า adefovir เป็นยาที่ใช้
ได้ผลดีต่อเชื้อไวรัสตับอักเสบ B โดยที่เชื้อดังกล่าวไม่ดื้อต่อยาตัวนี้
เป็นยารับทานขนาด 300 mg ต่อวัน สามารถยับยั้งเชื้อไวรัสตับอักเสบ B
ซึ่งดื้อต่อยา lamivudine, telbivudine หรือ entecavir
แต่จะไม่มีผลต่อรายที่ดื้อต่อยา adefovir เลย
Telbivudine:
Telbivudine (Tyzeka®) ...ยาตัวนี้จะมีฤทิ์มากกว่า lamivudine
และ adefovir การใช้ยาตัวนี้รักษาโรคไวรัสตับอักเสบ B มีโอกาสดื้อยาได้เสมอ
และในรายที่ดื้อต่อการใช้ยา lamivudine มักจะดื้อต่อการใช้ยา telbivudine เช่นกัน
ยาตัวนี้ ใช้รับทานด้วยขนาด 600 mg ต่อวัน
โดยโอกาสเกิดดื้อยาได้น้อยมาก
Interferon-alpha:
Interferon-alpha เป็นยาที่เหมาะสำหรับนำมาใช่รักษาคนที่เป็น
โรคไวรัสตับอักเสบ B ผู้ซึ่งถูกตรวจพบว่า เชื้อไวรัสอยู่ในระดับที่
จะก่อให้เกิดอันตราย (virus activity), มีการอักเสบของตับ, และ
ไม่เกิดภาวะตับแข็ง (no cirrhosis)
เราจะพบว่า ทั้ง conventional interferon และ pegylated interferon
ต่างได้รับการยอมรับจากองกค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา
สาร Interferon-alpha อาจเป็นยาที่เหมาะสมกับคนหนุ่ม
โดยเป็นไวรัสตับอักเสบ B ซึ่งโรคยังไม่พัฒนึงขั้นสุดท้าย (advaced liver disease)
ซึ่งไม่ปราถนาที่จะรักษาเป็นเวลานาน
แต่สารตัวนี้จะไม่เหมาะที่จะใช้ในรายเป็นโรคตับแข็ง (cirrhosis)
หรือในรายที่เกิดมีตับอักเสบเกิดซ้ำขึ้นอีกเมื่อมีการผ่าตัดเปลี่ยนตับ
การให้สาร interferon จะให้ในเวลาอันจำกัดเท่านั้น...
สำหรับสาร Pegylated interferon เป็นยาที่ออกฤทธิ์ยาว
โดยให้อาทิตย์ละหนึ่งครั้ง ติดต่อกันนานสถึงหนึ่งปี
ซึ่งจะแตกต่างจากการรักษาตับอักเสบด้วยวิธีอื่น ๆ
โดยรับทานเป็นเวลาหลายปีจนกว่าอาการจะดีขึ้น
ในขณะนี้ยังไม่มีรายงานด้านการดื้อยาของเชื้อไวรัสต่อสาร interferon
และผลเสียที่เกิดจากการใช้ยาตัวนี้ คือ ต้องฉีดเพียงอย่างเดียว
และอาจเกิดผลข่างเคียงได้
<< Prev Next >>
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น