Aug. 24, 2013
(continued)
TIPS TO MAINTAIN LIVER HEALTH:
ในยุคปัจจุบัน โรงพยาบาลใหญ่ๆ ของไทยเราสามารถทำการผ่าตัด
เปลี่ยนตับกันได้ ซึ่งจะกระทำกันในคนไข้ที่เป็นโรคตับแข็งระยะสุดท้าย
และในคนที่เป็นมะเร็งตับในระยะแรกเท่านั้น
ในการผ่าตัดดังกล่าว ไม่ใช้เรื่องที่กระทำกันได้ง่ายเลย เพราะจะต้อง
ผ่านกระบวนการตรวจคัดกรองหลายขั้นตอน เพื่อให้ได้คนไข้ที่เหมาะสม
ต่อการได้รับตับจากการบริจาคเสียก่อน และการที่คนไข้รายใดจะได้รับ
การผ่าตัดเปลี่ยนตับดังกล่าว ดูเหมือนจะยากยิ่งกว่าถูกลอตเตอรี่รางวัล
ที่หนึ่งเสียอีก
ด้วยเหตุผลดังกล่าว เรามาให้ความใส่ใจต่อสุขภาพของตับของเราเอง
น่าจะดีกว่า...เราจะทำเช่นใด จึงจะทำให้ตับของปลอดจากการเป็นโรค
ไวรัสตับอักเสบ ชนิด B ...
จากที่ได้กล่าวมา...
คนที่เป็นไวรัสตับอักเสบ B ชนิดเฉียบพลัน ส่วนใหญ่แล้วมันจะค่อยๆ
หายได้เอง ส่วนที่กลายเป็นไวรัสตับอักเสบ B ชนิดเรื้อรัง ควรไปพบ
แพทย์เพื่อการรักษาที่เหมาะสมต่อไป...
Vaccinations:
ทุก ๆ คนที่เป็นไวรัสตับอักเสบ B เรื้อรัง ควรได้รับการฉีดวัคซีนต้าน
ไวรัสตับอักเสบ A ซึ่งเป็นไวรัสที่เราสามารถป้องกันได้ นอกจากนั้น
เราควร...ฉีดวัคซีนกันโรคหวัดใหญ่ influenza ปีละครั้งด้วย
Liver cancer screening:
ในคนสูงอายุทั้งหลาย ควรได้รัการตรวจคัดกรองเกี่ยวกับมะเร็งของ
ตับเป็นประจำด้วย โดยเฉพาะในคนที่เป็นโรคตับแข็ง (cirrhosis),
ในคนทีมีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งของตับ ซึ่งสามารถกระทำได้ด้วย
การตรวจ “อัลตร้าซาวด์” ของตับทุก ๆ 6 เดือน
Diet :
คนที่เป็นไวรัสตับอักเสบ B ฃนิดเรื้อรัง ตั้งคำถามว่า...
เราจะกินอาหารประเภทใด ?
คำตอบเกี่ยวกับเรื่องนี้...ตอบได้ว่า เราไม่มีอาหารเฉพาะสำหรับคนที
เป็นโรคไวรัสตับอักเสบ B หรอก...
คำแนะนำที่ดีที่สุด คือให้รัประทานอาหารที่เปนประโยชน์ต่อร่างกาย
และให้ครบทุกหมวดหมู่ (balanced diet)...เท่านั้นเอง
Alcohol :
แอลกอฮอล์ เป็นสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยง เพราะมันสามารถทำให้ตับอักเสบ
เลวลงได้ เมื่อกล่าวถึงแอลกอฮอล์ เราหมายถึงเครื่องดื่มทุกชนิดที่เป็น
แอลกอฮอล์ เพราะคนที่เป็นไวรัสตับอักเสบ B หากขืนดื่มแอลแอฮอล์
เป็นประจำ หรือแม้จะเป็นจำนวนน้อย ก็สามารถทำให้โรคตับเกิดภาวะ
แทรกซ้อนต่างๆ ได้
Exercise :
บางคนกล่าวว่า...ถ้าท่านเป็นโรคตับอักเสบ ห้ามออกกำลังกาย
แต่ความเป็นจริงมีว่า การออกกำลังกายไม่มีผลกระทบต่อไวรัสตับอัก
เสบ B เลย ดังนั้น เราจึงแนะนำให้ทำการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ
โดยรวมของท่านเอง
Prescription and nonprescription drugs:
เราต้องทราบว่า...
ยาทุกตัวที่คนเรากินเข้าไป จะผ่านเข้าสู่ตับ และถูกทำลายลงตามกระ
บวนการของมัน ดังนั้นให้ถือเป็นเรื่องจำเป็นที่เราทุกคนที่กินยา
จะต้องตรวจสอบกับแพทย์ผู้ให้เรากินยานั้นๆ ทุกครั้ง
ว่า ยาตัวนั้นมีอันตรายต่อตับใหม ?
โดยทั่วไป ถ้าตับของเราเป็นปกติ ไม่มีแผลเป็น (scarred) เราสามารถ
กินยาส่วนใหญ่ได้อย่างปลอดภัย โดยเฉพาะคนที่มีไวรัสตับอักเสบ B
มีข้อยกเว้นอย่างหนึ่ง นั่นคือยา acetaminophen (Tylenol)...
ในคนที่เป็นโรคตับอักเสบ ไม่ควรกินยาเกิน 2000 mg ใน 24 ชั่วโมง
ยาส่วนใหญ่ จะมียา 325 mg ถึง 500 mg.
และท่าน ที่เป็นโรคไวรัสตับอักเสบ B ไม่ควรกินยากลุ่ม NSAIDs
เช่น ibuprofen, naproxen, และ aspirin
Herbal medications:
เนื่องจากบ้านเมืองของเรามีสมุนไพรเป็นจำนวนไมน้อย
ซึ่งท่านสามารถหาซื้อ...กินได้ตามที่เพื่อนแนะนำ เพื่อรักษาโรคตับอัก
เสบของท่าน แต่ขอให้ทราบไว้ว่า...ขณะนี้ไม่มีสมุนไพรใดได้รับการ
พิสูจน์ว่า สามารถทำให้โรคไวรัสตับอักเสบ B ดีขึ้นได้...
แต่ที่น่ากลัวไปกว่านั้น คือ สมุนไพรบางชนิดเป็นพิษที่รุนแรงต่อตับได้
ดังนั้น ในขณะนี้ จึงมีข้อห้ามใช้สมุนไพรรักษาโรคตับ โดยเฉพาะไวรัส
ตับอักเสบ B
PREVENT INFECTION OF FAMILY:
เนื่องจากโรคไวรัสตับอักเสบ B ทั้งชนิดเฉีบพลัน และเรื้อรังต่างสามารถแพร่
กระจายไปสู่คนอื่นได้ ดังนั้น ใครก็ตามที่เป็นโรคไวรัสตับอักเสบ B ควรปรึก
ษาวิธีลดความเสี่ยงต่อการแพร่เฃื้อให้แก่คนอื่น ๆ ดังต่อไปนี้:
สำหรับคู่สมรส ให้ใช้ latex condom ทุกครั้งที่มีการร่วมเพศ
ไม่ใช้สิ่งของร่วมกับคนอื่น เช่น มีดโกนหนวด, แปลงสีฟัน
หรือสิ่งใดๆ ที่มีเลือดติด
ให้ปิดแผลทุกชนิดด้วย bandage เสมอ
ไม่บริจาคเลือดให้แก่คนอื่น ๆ
ทุกคนในครอบครัว ควรตรวจเลือดหาเชื้อไวรัสตับอักเสบ B
และใครที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ ควรได้รับการป้องกันเชื้อไวรัส
ตับอักเสบด้วยการฉีดวัคซีนกันโรคเสีย
อย่าแบ่งปันสิ่งของ เครื่องใช้ให้แก่คนอื่น เช่น เข็ม กระบอกฉีดยา
ทำความสอาดหยดเลือดด้วยยาฆ่าเชื้อทุกครั้งที่มีเลือดออก
คนที่เป็น หรือมีเชื้อไวรัสตับอักเสบ B ไม่สามารถแพร่กระจ่ายทาง
การกอดรัด หรือจูบ เว้นการจูบมาราธอน ?
ไอ หรือ จาม
ให้นมบุตร
โดยสรุป...สำหรับข้อมูลเกี่ยวกับโรคไวรัสตับอักเสบ B ที่นำเสนอให้แค่นี้
น่าจะเพียงพอแก่การนำมาพิจารณาตั้งรับ เพื่อสู้กับไวรัสตับอักเสบ B ได้
ในระดับหนึ่ง...
<< Prev.
http://www.uptodate.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น