เม็ดเลือดแดงของมนุษย์เราจะทำหน้าที่นำออกซิเจนไปเลี้ยงเซลล์และอวัยวะต่าง ๆ ทั่วร่างกาย
พร้อมๆ กับทำหน้าที่ช่วยให้เซลล์เหล่านั้นสามารถใช้พลังจากอาหารที่รับประทานเข้าไป
เมื่อใดก็ตาม ที่เม็ดเลือดแดงลดต่ำ
เราเรียกว่า โรคโลหิตจาง (anemia)
ถ้าหากคนเราปราศจากออกซิเจน...
เซลล์ทังหลาย และอวัยวะต่างๆ โดยเฉพาะหัวใจ
และสมองอาจไม่ทำงานได้ดีเหมือนเคยก็ได้
ด้วยเหตุผลดังกล่าว คนที่เป็นโรคโลหิตจางจึงดูซีดเซียว
และอาจเป็นต้นเหตุทำให้เกิดโรคไวใจขึ้นได้
เราจะพบว่า โรคโลหิตจางมักจะเกิดในคนที่เป็นโรคไตเสมอ
โดยปกติ ไตของมนุษย์เราที่อยู่ในสภาพปกติ
จะทำหน้าที่สร้างฮอร์โมน เรียก erythropoietin หรือ EPO
ซึ่งจะทำหน้าที่กระตุ้นไขกระดูกให้ทำหน้าที่ผลิตเม็ดเลือดแดงในปริมาณที่พอเหมาะ
เพื่อทำหน้าที่นำออกซิเจนไปเลี้ยงอวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกาย
จะทำหน้าที่สร้างฮอร์โมน เรียก erythropoietin หรือ EPO
ซึ่งจะทำหน้าที่กระตุ้นไขกระดูกให้ทำหน้าที่ผลิตเม็ดเลือดแดงในปริมาณที่พอเหมาะ
เพื่อทำหน้าที่นำออกซิเจนไปเลี้ยงอวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกาย
โรคไต เมื่อมันเกิดขึ้นแล้ว มันไม่สามารถสร้างฮอร์โมน EPO ได้เพียงพอ
ยังผลให้ไขกระดูกสร้างเม็ดเลือดแดงได้น้อยลง
ยังผลให้ไขกระดูกสร้างเม็ดเลือดแดงได้น้อยลง
สาเหตุอย่างอื่นๆ ที่ทำให้เกิดโลหิตจาง ได้แก่การเสียเลือดในการฟอกเลือด
(hemodialysis) , ร่างกายขาดธาตุเหล็ก (iron deficiency)
และขาดสาร folic acid ซึ่งเราสามารถได้รับสารเหล่านี้จากอาหาร
สารอาหารดังกล่าว จะช่วยทำให้เม็ดเลือดหนุ่ม (young red cells)
สร้างโปรตีน ชื่อว่า hemoglobin ซึ่งงานหลักของมันคือ
การนำเอาออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย
ไตที่อยู่ในสภาพปกติ...ไม่เป็นโรค
มันจะทำหน้าที่สร้างฮอร์โมน เรียกว่า erythropoietin หรือ EPO
จะทำหน้าที่กระตุ้นไขกระดูก (bone marrow) ให้สร้างเม็ดเลือดแดง
ซึ่งจำเป็นต่อการนำส่งออกซิเจนให้เซลล์ต่างๆ ทั่วร่างกาย
การตรวจทางห้องปฏิบัติการณ์... ?
เมื่อเราสงสัยว่าใครรายใดเป็นโรคโลหิตจางหรือไม่ ?
สิ่งที่เจะต้องกระทำ คือการตรวจเลือดในห้องปฏิบัติการณ์ เป็นการ
ตรวจเลือดอย่างง่ายๆ ด้วยการตรวจนับดูจำนวนเม็ดเลือด (complete
Blood count หรือ CBC) ซึ่งประกอบด้วย การตรวจ hematocrit
ซึ่งเป็นการตรวจเม็ดเลือดโดยคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ (Hct)
ในการตรวจ CBC เรายังทำการตรวจหาค่าของจำนวน Hemoglobin
ในเลือด ซึ่งจะมีค่าประมาณหนึ่งในสามของ hematocrit
ในสตรีที่กำลังมีปะจำเดือนจะมีระดับของ Hct และ Hb. ต่ำกว่าสตรีที่หมด
ประจำเดือนเล็กน้อย (postmenopausal periods)
โรคโลหิตจางเริ่มปรากฏขึ้นเมื่อ...?
โดยทั่วไป โรค “โลหิตจาง” จะเริ่มเกิดขึ้นในคนเป็นโรคไตตั้งแต่ระยะแรก
โดยไตยังสามารถทำงานได้ 20 -50 %ของการทำงานตามปกติ
ในภาวะที่ไตสูญเสียการทำงานไปเป็นบางส่วน เราเรียกว่าภาวะดังกล่าวว่า
Chronic renal insufficiency โดยภาวะโลหิตจางจะเลวลงตามการเปลี่ยน
แปลงของโรคไตที่แย่ลงอย่างต่อเนื่อง
ไตวายระยะสุดท้าย (end-stage kidney failure)…
เป็นระยะเวลาที่คนไขจะต้องได้รับการฟอกเลือดเอาของเสียออก (dialysis)
หรือทำการผ่าตัดเปลี่ยนไต จึงจะสามารถมีชีวิตอยู่ได้
และจะพบว่า ทุกคนที่เป็นโรคไตระยะสุดท้ายจะป็นโรคโลหิตจาง...
ถ้าคนเราสูญเสียการทำงานของไตไปอย่างน้อยครึ่งหนึ่ง
และผลจากการตรวจเลือดพบว่าระดับของ hematocrit ต่ำ...
เขาคนนั้นเป็นโรคโลหิตจาง ซึ่งน่าจะมีต้นเหตุมาจากร่างกายสร้าง EPO น้อยลง
การประเมินการทำงานของไต มีอีกชื่อเรียกว่า glomerular filtration rate
เป็นการตรวจการทำงานของไต ด้วยการตรวจวัดระดับ creatinine
ในกระแสเลือด
ในคนไข้เพศชาย หรือสตรีหมดประจำเดือนที่กำลังทำการฟอกไต เมื่อตรวจ
พบว่าระดับของ Hematocrit ต่ำกว่า 37 ควรทำการตรวจภาวะโลหิตจาง ส่วน
สตรีที่อยู่ระยะตั้งครรภ์ ควรทำการตรวจภาวะโลหิตจางเมื่อ Hct เริ่มต่ำกว่า 33
นอกจากนั้น เราควรทำการตรวจดูภาวะร่างกายขาดธาตุเหล็ก (iron deficiency)
และตรวจการมีเลือดในอุจจาระ ชนิดไม่เห็นด้วยตาเปล่า (occult blood)
เพื่อเป็นการตรวจหาสาเหตุของการเสียเลือดในลำไส้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น